เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2565 ที่ Art Gallery Korat อ.เมือง จ.นครราชสีมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมโคราชเมืองยิ้ม เมืองสร้างสรรค์ สร้างสุขภาพ เพื่อเด็กและเยาวชนทุกคน เปิดเวทีพลังเครือข่ายพลเมือง “ร่วมเปลี่ยนสร้างเมือง” พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง 15 หน่วยงาน ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ออกแบบเมืองสร้างสรรค์ ด้วยระบบนิเวศสื่อสุขภาวะ มีนายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธี
นายภูมิสิทธิ์ กล่าวว่า การพัฒนาเมืองต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการแก้ปัญหา เมืองโคาชเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ขอบคุณ สสส. และภาคีเครือข่ายที่ช่วยการสร้างพื้นที่ปลอดภัย เพื่อทำให้ที่นี่เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ลดช่องว่างระหว่างวัย และขับเคลื่อนเมืองให้เกิดระบบสื่อสร้างสรรค์และสื่อสุขภาวะ
นายชัชวาล วงศ์จร รองนายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้มีเป้าหมายส่งเสริมการออกแบบเมืองสร้างสรรค์ ด้วยระบบนิเวศสื่อสุขภาวะหลากหลาย ผ่านสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ เพิ่มพื้นที่สื่อสารให้ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ เพื่อบ่มเพาะให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว ชุมชน และสังคม จนเป็นฐานทุนสำคัญของพื้นที่ ที่ได้นำภูมิปัญญา วัฒนธรรม สื่อ ศิลปะร่วมสมัย และพลังการสื่อสารมาเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่สร้างสรรค์
“การทำให้เด็กมีสุขภาพดีทุกมิติ ช่วยสร้างเสริมพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมตามวัย และทำให้มีทักษะชีวิตเท่าทันศตวรรษที่ 21 ที่ต้องรับมือการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีดิจิทัลได้ การให้ความรู้และแก้ปัญหาสุขภาวะเร่งด่วนในเด็กปฐมวัย และเยาวชน กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู แกนนำ อาสาสมัคร ให้ตระหนักเรื่องระบบนิเวศสื่อที่ดี จะช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบเมืองสร้างสรรค์ได้” นายชัชวาล กล่าว
นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า โลกในปัจจุบันอยู่ในสภาวะที่มีความผันผวน ความไม่แน่นอน ความสลับซับซ้อน ความคลุมเครือ หรือเรียกสั้นๆ ว่า VUCA World ที่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหลายด้าน เช่น เทคโนโลยี โรคอุบัติใหม่ ภัยพิบัติ สิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจไม่เอื้อต่อการพัฒนาเมืองหรือการใช้ชีวิตของผู้คน และการใช้ความรู้แบบเดิมกับเรื่องเดิม อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป จนกระทบกับวิถีชีวิต สุขภาพ และเศรษฐกิจในชุมชน การลงนามความร่วมมือระหว่าง 15 หน่วยงานครั้งนี้ สสส. เชื่อว่าจะมีส่วนช่วยพัฒนาเมือง ให้มีระบบนิเวศสื่อสุขภาวะด้วยพลังเยาวชน พลังชุมชนและพลังเครือข่าย ที่จะช่วยพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสส่งเสริมการเรียนรู้ สู่การพัฒนาเมืองโคราชทิศทางที่ดีขึ้นเพราะหากประชาชนรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยี จะช่วยให้เกิดสุขภาวะด้านต่างๆ ในชีวิต ทั้งกาย จิต ปัญญา และสังคม ดีขึ้น หนึ่งในภารกิจของ สสส. คือการบ่มเพาะ “นักสื่อสารสุขภาวะ” ที่ช่วยให้สังคมรู้จักใช้ รู้เท่าทัน และใช้สื่อได้สร้างสรรค์
น.ส.ปรัชทิพา หวังร่วมกลาง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา (มยพ.) กล่าวว่า พบปัญหาในเด็กและเยาวชน ขาดการส่งเสริมและการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ สู่การพัฒนาสร้างสรรค์ จนทำให้มีโอกาสเข้าถึงปัจจัยเสี่ยงง่าย จากช่องว่างระหว่างวัย ถูกทิ้งขว้างแปลกแยก ขาดการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ไม่เท่าทันสื่อเทคโนโลยี ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะหลายด้าน การขับเคลื่อนครั้งนี้มี 7 เป้าหมาย 1.พัฒนาความรู้ ทักษะเพื่อเติบโตอย่างสร้างสรรค์ มีทักษะเท่าทันตนเอง เท่าทันสื่อ เท่าทันสังคม เป็นพลเมืองจิตอาสา เข้าใจสิทธิเด็กขั้นพื้นฐาน และเคารพในสิทธิผู้อื่น 2.พัฒนาศักยภาพ เสริมพลัง และยกระดับครู แกนนำพลเมืองอาสา แกนนำสภาเด็กและเยาวชน แกนนำชุมชน เป็นนักปฏิบัติการขับเคลื่อนสังคม รวมถึงครอบครัว โรงเรียน และพื้นที่สาธารณะ 3.ส่งเสริมพลเมืองจิตอาสา เป็นนักสร้างสรรค์ นักสื่อสาร พลเมืองคนรุ่นใหม่ ที่ร่วมออกแบบปฏิบัติการเมืองสร้างสรรค์ ชุมชนสร้างสรรค์
“เป้าหมายที่ 4.พัฒนาสร้างสรรค์ ยกระดับองค์ความรู้และเครื่องมือด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน สอดคล้องบริบทและความต้องการของเด็กเยาวชน ชุมชน ท้องถิ่น 5.พัฒนาพื้นที่เรียนรู้ แบ่งปันและจัดการความรู้ ขยายผลการดำเนินงานด้านเด็กและเยาวชน 6.สานพลัง 15 องค์กร กำหนดเป้าหมาย ออกแบบ ขับเคลื่อน สนับสนุน ติดตาม เสริมพลัง ร่วมสร้างนิเวศสื่อสุขภาวะ เพื่อเด็กและทุกคน มีพื้นที่ปลอดภัยสร้างสรรค์ พื้นที่เรียนรู้ พื้นที่สื่อสาร ทั้งทางนโยบาย ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และพื้นที่สาธารณะ 7.พัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสร้างกระแสความตระหนักต่อสังคม ส่งเสริมพัฒนาการเด็กและเยาวชน สร้างสิ่งแวดล้อม ผ่านงานสื่อสารหลายช่องทาง รูปแบบออนไลน์ เทศกาลชุมชน เทศกาลโคราชเมืองสร้างสรรค์” น.ส.ปรัชทิพา กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร
สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”
น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567
ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์
ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต
โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ
"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค
การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง
โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด
เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน