“โฆษกประกันสังคม” แจง การให้บริการทันตกรรมในระบบประกันสังคม ไม่ด้อยกว่าสิทธิกองทุนอื่น

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2565 นางนิยดา เสนีย์มโนมัย โฆษกสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีที่สื่อเสนอข่าวพาดพิงสิทธิทันตกรรมของสำนักงานประกันสังคมว่าด้อยกว่าสิทธิประโยชน์อื่น โฆษก สปส. แจง ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมรับบริการสิทธิทันตกรรม ไม่ด้อยกว่าสิทธิกองทุนอื่น โดยการจัดบริการทันตกรรม จากเดิม สปส. ได้ปรับรูปแบบเหมาจ่ายให้กับสถานพยาบาลตามสิทธิ และกำหนดให้ผู้ประกันตนเข้ารับบริการทันตกรรม (อุดฟัน ถอนฟัน และขูดหินปูน) รวมทั้งสามารถทำฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิกในสถานพยาบาลตามสิทธิหรือเครือข่าย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและได้ดำเนินการเป็นระยะเวลา 1 ปี นั้น ซึ่งจากการดำเนินการพบว่าผู้ประกันตนเข้าไม่ถึงบริการสิทธิทันตกรรม เนื่องจากมีการเข้ารับบริการเป็นจำนวนมาก ทำให้สถานพยาบาลตามสิทธิไม่สามารถจัดหาสถานพยาบาลเครือข่ายรองรับการใช้บริการของผู้ประกันตน และได้มีการเรียกร้องให้กลับมาใช้วิธีการเบิกจ่ายค่าบริการทันตกรรมแบบเดิมตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา

นางนิยดา โฆษกสำนักงานประกันสังคม ชี้แจงว่า ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมได้พัฒนารูปแบบการให้บริการสิทธิทันตกรรมแก่ผู้ประกันตนให้สามารถเข้ารับบริการอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุดในอัตรา 900 บาท/คน/ปี กรณีใส่ฟันเทียม สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ได้ตั้งแต่ 1,300 - 4,400 บาท สามารถเข้ารับบริการทั้งในสถานพยาบาลรัฐบาล (จำนวน 12,000 แห่ง) และสถานพยาบาลหรือคลินิกทันตกรรมเอกชน (จำนวน 3,376 แห่ง) ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ ตลอดจนสามารถเลือกรับบริการคลินิกทันตกรรมใกล้บ้านได้ ในขณะที่กองทุนสุขภาพอื่นยังจำกัดการให้บริการในสถานพยาบาลของรัฐเท่านั้น กรณีที่เข้ารับบริการในสถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการโดยไม่ต้องสำรองจ่าย ทำให้การเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้ประกันตน ในปี 2565 มีจำนวน (2,934,878 ครั้ง) สำหรับกรณีการใส่ฟันปลอมในระบบประกันสังคมสามารถเบิกค่าฟันเทียมโดยไม่จำกัดวัสดุ ในขณะที่กองทุนสุขภาพอื่นยังคงจำกัดวัสดุฟันเทียมเป็นวัสดุประเภทอคริลิกเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้ประกันตนยังสามารถเข้ารับบริการอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด ในสถานพยาบาลตามสิทธิ โดยสามารถเบิกได้ในอัตรา 900 บาท/คน/ปี หากสถานพยาบาลตามสิทธิทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กับสำนักงานประกันสังคม ผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่ายกรณีสถานพยาบาลตามสิทธิไม่ได้ทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ผู้ประกันตนสามารถนำใบเสร็จมาเบิกกับสำนักงานประกันสังคมได้

สำหรับในกรณีผู้ประกันตนประสบอุบัติเหตุ เกิดบาดแผลในช่องปากและกระทบต่อฟัน เช่น ฟันหัก ถือเป็นกรณีเจ็บป่วย ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำนักงานประกันสังคมจัดบริการทางการแพทย์ให้กับผู้ประกันตนโดยคำนึงถึงปัจจัยความจำเป็นของผู้ประกันตนที่ไม่สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ในเวลาราชการ ดังนั้น จึงได้ออกแบบระบบการให้บริการที่ให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงการบริการทันตกรรมได้อย่างสะดวก โดยไม่กระทบเวลาการทำงาน ทั้งนี้ การกำหนดอัตราค่าบริการทางการแพทย์ คณะกรรมการการแพทย์ได้พิจารณาถึงอัตราการใช้บริการและอัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่เหมาะสม และอ้างอิงกับราคาของกระทรวงสาธารณสุข อย่างไรก็ดีการให้สิทธิประโยชน์กรณีทันตกรรม แบบเหมาจ่าย สำนักงานประกันสังคมได้คำนึงถึงการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ และการให้บริการสิทธิทันตกรรมของผู้ประกันตนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โฆษก สปส. กล่าวในตอนท้าย

#Website: www.sso.go.th
#Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
#Instagram: sso_1506
#Twitter: @sso_1506
#YouTube: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
#Hotline: 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
#LINE: @SSOTHAI
#TikTok: @SSONEWS1506

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน

ประกันสังคมเผย เปิดรับสิทธิโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ปี 2567 วันแรก 1 พ.ย. 2567 ผู้ประกันตนให้ความสนใจเกือบเต็มโควตา ยื่นขอรับสิทธิกว่า 9,000 ล้านบาท

โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน พ.ศ. 2567 นี้ จะช่วยให้ผู้ประกันตนมีสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อที่อยู่อาศัย ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย หรือซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างที่อยู่อาศัยได้อัตราดอกเบี้ยต่ำ เพียงร้อยละ 1.59 ต่อปี

'พิพัฒน์' รมว.แรงงาน ห่วงทายาทพนักงานกวาดถนนเทศบาลนครอ้อมน้อย ประสบเหตุถูกรถกระบะชนเสียชีวิต 2 ราย มอบประกันสังคม จ่ายเงินทดแทนกรณีตายในงาน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยและแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมมอบหมายให้ นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เร่งดำเนินการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ

สปส. ย้ำขอความร่วมมือ นายจ้าง “แจ้งเข้า-แจ้งออก” ให้ลูกจ้างตามเวลาที่กฎหมายกำหนด ผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม

นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

“บุญสงค์”ปลัดแรงงาน เข้ารับตำแหน่งวันแรก แถลงมุ่งผลักดันนโยบาย ปี 68 สร้างความเชื่อมั่น ยอมรับ ไว้วางใจ สนับสนุนความเป็นธรรมแก่คนทำงานทุกภาคส่วน

วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 น. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวแถลงนโยบายกระทรวงแรงงานและแนวทางการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต่อสื่อมวลชน ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า กระทรวงแรงงาน

เช็กสิทธิกรณีว่างงาน กรณีไหนบ้างได้รับเงินทดแทน หากผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เป็นลูกจ้างที่ได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง 7 กรณี โดยเฉพาะในกรณีผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา สำนักงานประกันสังคมจะยังคงคุ้มครองผู้ประกันตนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่อเนื่องเป็นเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงาน