วว. เตรียมฉลองครบรอบ 60 ปี ด้วยบทพิสูจน์ความสำเร็จ เดินหน้าร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเติบโตยั่งยืน

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เตรียมฉลองครบรอบ 60 ปี กับบทพิสูจน์ความสำเร็จด้วยผลงานเชิงประจักษ์ ตลอด 6 ทศวรรษ มุ่งมั่นอย่างมั่นคง สู่การเป็นองค์กรชั้นนำระดับอาเซียน ด้านวิจัย พัฒนา และบริการด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมสานพลังความร่วมมือเครือข่ายนานาชาติ นำมาต่อยอด สู่การประยุกต์และบูรณาการ ใช้ในเชิงอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ชุมชน และวิสาหกิจขนาดกลาง ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เปิดเผยว่า “สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานสำคัญของประเทศที่มีส่วนสำคัญในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาชุมชน สังคม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพื้นที่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและนโยบาย BCG (BIO-CIRCULAR-GREEN’ ECONOMY) โดยนำศักยภาพองค์ความรู้และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ของแต่ละท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ผ่านการยกระดับศักยภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน ผสมผสานกับภูมิปัญญาและทรัพยากรฐานในท้องถิ่นร่วมกับกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง “ที่ผ่านมา วว. ได้นำเสนอผลงานการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์เพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกร และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนให้ต่างชาติได้รับรู้ พร้อมส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางการเกษตรร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงบูรณาการ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนประเทศไทย ตลอดจนการเรียนรู้ การดำเนินงานด้านการจัดการนวัตกรรมทางการเกษตร จากหน่วยงานต่างประเทศที่เป็นต้นแบบการวิจัยและพัฒนา เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงบูรณาการ บนฐานความหลากหลายทางชีวภาพที่สร้างคุณค่า มูลค่าเพิ่ม ให้กับเศรษฐกิจ สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และลดความเหลื่อมล้ำ”

ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมา วว. ได้พิสูจน์ความสำเร็จด้วยผลงานเชิงประจักษ์ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่พื้นที่ท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ผลงานเชิงประจักษ์หลายด้าน เป็นต้นว่า การดำเนิน โครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ ด้วยนวัตกรรมเกษตรและการจัดการแหล่งท่องเที่ยว ตามแนวทาง “มาลัยวิทยสถาน” โดย วว. มุ่งพัฒนาต่อยอดประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเชิงพาณิชย์ ขยายตลาดไม้ดอกไม้ประดับและผลิตภัณฑ์ ร่วมกับการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนการสร้างคลัสเตอร์ผู้ประกอบการไม้ดอกไม้ประดับทั่วประเทศ

โดยนำความรู้ บุคลากร โครงสร้างพื้นฐาน เข้าไปผนวกกับภูมิปัญญา วัฒนธรรม ศิลปะ ดอกไม้ การท่องเที่ยว และใช้หลักการ BCG (BIO-CIRCULAR-GREEN’ ECONOMY) เข้าไปช่วยยกระดับทั้งมาตรฐานผลิตภัณฑ์และการจัดการแหล่งท่องเที่ยวให้ชุมชน ซึ่งสามารถสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพไม้ดอกไม้ประดับ ผลิตภัณฑ์ และมาตรฐานการท่องเที่ยว กลายเป็นความเข้มแข็ง และขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยไม้ดอกไม้ประดับ จนประสบผลสำเร็จ สามารถเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 90 ล้านบาทต่อปี ต่อมาคือ การให้ความ สนับสนุนผู้ประกอบการใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีนวัตกรรมสร้างโอกาสทางธุรกิจ วว.ได้มีบริการที่จะตอบโจทย์ผู้ประกอบการ SME โดยมีห้องปฏิบัติการวิจัยเรื่องปุ๋ยดินและพืชที่มีมาตรฐาน มีความสามารถในการวิเคราะห์ ประสิทธิภาพของดินทั้งด้านกายภาพและเคมี และด้านชีววิทยา ช่วยแก้ไขสภาพดินให้เหมาะสมแก่การปลูกพืชได้ เพื่อผลผลิตของพืชเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพมีคุณภาพที่ดีขึ้น โดยมีความเชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์ดินปุ๋ยและพืช รวมไปถึงการพัฒนาเรื่องบรรจุภัณฑ์ สิ่งที่ผู้ประกอบการได้รับอย่างเห็นได้ชัดเจน คือ การเข้าร่วมคลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับ ทุกคนได้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูก ด้านการดูแลรักษา การกำจัดหรือป้องกันแมลง มีการพัฒนาคุณภาพ

สำหรับ คัตเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับ เป็นโครงการไฮไลต์ที่ วว. ภาคภูมิใจ เป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ หรือตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ สามารถจำหน่ายได้ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการเชื่อมโยง SME ให้เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจขนาดใหญ่ กระบวนการพัฒนาดังกล่าว ได้ใช้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเป็นแนวทางหลักสอดรับกับแนวทางพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของประเทศต่อไป สำหรับกิจกรรมพัฒนาคลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับ ภายใต้โครงการสนับสนุนและพัฒนาคลัสเตอร์ SME ประจำปี 2564 ทำให้เกิดความเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการกับกลุ่มคลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับ โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาพัฒนากระบวนการผลิต และระบบบริหารจัดการให้ได้คุณภาพมาตรฐาน จึงยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่ามากขึ้น และมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้สูงขึ้น

อีกหนึ่งผลงานที่ วว.ภาคภูมิใจ คือ การเพาะพันธุ์ไทรสายพันธุ์ใหม่ “ไทรทิส” ซึ่งพัฒนาขึ้นมาจาก ไทรย้อยใบทู่ ซึ่งเป็นไทรพื้นบ้านของประเทศไทย ให้มีลักษณะขอบใบด่างและสีสันสวยงาม ลักษณะเด่นของไทรทิส คือ เข้ากับกระแสปัจจุบัน ที่นิยมปลูกเลี้ยงไม้ด่าง ไทรตัวนี้จะมีลักษณะสวยงาม โดยเฉพาะขอบใบมีลักษณะด่าง วว.ได้มีการปรับปรุง และขึ้นทะเบียนพันธุ์เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาพบว่าเป็นไม้ฟอกอากาศได้ดีกว่าสายพันธุ์พื้นบ้านตัวอื่น โดยที่ผ่านมา วว ได้ลงพื้นที่นำไปส่งเสริมผู้ประกอบการที่ จังหวัดนครนายก เลย กรุงเทพฯ ปริมณฑล สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการสูงมาก

สถาบันวิจัยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้พิสูจน์ความสำเร็จผ่านการสร้างผลงาน เชิงประจักษ์มากมาย ในโอกาสฉลองครอบรอบ 60 ปี ในปี 2566 วว.ยังคงรักษาความมุ่งมั่น พัฒนา สู่การเป็นองค์กรที่เติบโตเข้มแข็ง เปี่ยมด้วยศักยภาพ พร้อมสานพลังความร่วมมือเครือข่ายนานาชาติด้านนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ในงานวิจัย พัฒนา และบริการด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้เกิดสังคมนวัตกรรมอย่างยั่งยืน เพื่อต่อยอดและส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ชุมชน และวิสาหกิจขนาดกลางให้ประสบความสำเร็จ พร้อมหนุนเสริมเศรษฐกิจไทยให้เติบโตมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ

เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”

เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล

กระทรวง อว.ลุยยกระดับผลการประเมิน PISA เด็กไทยปี 68

เมื่อวันที่ 25 ก.ย. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการประชุมและมอบนโยบายในการส่งเสริมสมรรถนะและความฉลาดรู้ของผู้เรียนตามแนวทางการประเมินระดับนานาชาติ (PISA) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานตามแนวทางและดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับผลการประเมิน PISA จัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวง อว.โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล

“ศุภมาส” หนุน สกสว. ขับเคลื่อนการใช้ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ในงาน “TRIUP FAIR 2024” ดึงภาครัฐ-เอกชน ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างเศรษฐกิจให้ประเทศไทยอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2567 หรือ TRIUP FAIR 2024 ภายใต้แนวคิด “Impact Journey to Ignite Thailand :

“ศุภมาส” สั่งการ “สุชาดา” นำทีมผู้บริหาร อว. ลงพื้นที่ลุยช่วยสุโขทัย เตรียมรับมือมวลน้ำเหนือก้อนใหญ่จาก จ.แพร่

เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มอบหมายให้