เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2565 ที่หอศิลปวัฒนธรรมฯ บริเวณสกายวอล์ก แยกปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย จัดเทศกาล BANGKOK For ALL เปิดตัว LINE OA ‘Bangkok For ALL’ และ Line Chatbot เมืองใจดี พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก สร้าง #กรุงเทพฯเพื่อทุกคน
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า คนพิการร่างกายแตกต่าง แต่ศักยภาพไม่แตกต่างจากคนทั่วไป สุดท้ายถ้าทำให้พี่น้องคนพิการที่มีข้อจำกัดทางร่างกาย ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองได้ โดยการทำสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ทั้งเรื่องการเดินทาง ใช้ชีวิต การจ้างงาน ส่งเสริมการศึกษา กทม. เชื่อว่าจะทำให้ทุกคนที่อยู่ในเมืองนี้เกิดความสุข
นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าว่า ปัจจุบันแอปพลิเคชันไลน์ มีบทบาทกับชีวิตคนพิการและคนปกติ กทม. จึงพัฒนาระบบ LINE Official BMA for Bangkok Handicap person ขึ้นมา เพื่อเชื่อทต่อฐานข้อมูลจากเว็บไซต์ Bangkok Oss (ระบบบริการ กทม.), NiNa (การหางานมูนิธิมหาไถ่, บริการGrap, บริการค้าขายออนไลน์ลาซาด้า, ประกันอุบัติเหตุจาก คปภ.) เพื่อเป็นสวัสดิการและเป็นช่องทางให้คนพิการติดตามข่าวสาร สิทธิประโยชน์ของตัวเอง พร้อมรับส่วนลดสินค้าและบริการต่างๆ หวังว่าเทศกาล ‘BANGKOK For ALL #กรุงเทพฯเพื่อทุกคน’ จะปักหมุดจุดเริ่มต้น ให้ทุกคนได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมในเมืองใหญ่
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่สาธารณะ เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเมืองยั่งยืนและเท่าเทียม แต่ปัญหาระดับประเทศที่พบคือ เมืองไทยยังขาดเครื่องมือและฐานข้อมูล ช่วยพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ใช้รถเข็น เช่น โครงสร้างรถสาธารณะ, การออกแบบทางเท้า, ระบบและสัญญาณจราจร ที่ยังไม่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของคนกลุ่มนี้ จึงเป็นที่มาของการพัฒนานวัตกรรม Line Chatbot เมืองใจดี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ขึ้นมา ตามแนวคิดการออกแบบพื้นทุกคน เพื่อเป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูล ค้นหาสิ่งอำนวยความสะดวก และนำมาวิเคราะห์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ดีขึ้น ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ที่ผ่านมา สสส. ส่งเสริมและสนับสนุนคนพิการใน กทม. ให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นด้วยการทำงานเชิงรุก และผลักดันนโยบาย ในทำงาน 5 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนการจ้างงานคนพิการในสำนักงานเขต กทม. ให้มีงานทำ ตามความถนัด 2.ด้านสุขภาพดี พัฒนาระบบบริการสุขภาวะ ให้คนพิการได้รับความเป็น ลดความเหลื่อมล้ำ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เข้าถึงบริการสาธารณสุข 3.ด้านการเรียนรู้ ส่งเสริมการศึกษาเด็กพิการอย่างเท่าเทียม ผ่านงานคนพิการเรียนไหนดี ที่แนะนำเรื่องการศึกษาต่อและค้นหาทักษะของตัวเอง 4.ด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก ส่งเสริมให้ออกแบบเมืองเพื่อทุกคน 5.ด้านปรับปรับเจตคติหรือทัศนคติ ให้เปลี่ยนความเชื่อว่า คนพิการไม่ใช่ภาระแต่เป็นพลังขับเคลื่อนสังคมเทียบเท่ากับทุกคนได้
ดร.สุปรีดา กล่าวต่อว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางผู้คนและวัฒนธรรมการมี Line Chatbot เมืองใจดี สสส. เชื่อว่าจะช่วยออกแบบ และทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคนได้ เพราะในแอปพลิเคชันจะจัดเก็บข้อมูลจากผู้ใช้งานตามจุดต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับคนพิการและไม่พิการ ปัจจุบันมีฐานข้อมูล 4,997 จุด แบ่งเป็น 7 ประเภท 1.ทางลาด 1,433 จุด 2.ห้องน้ำ 1,006 จุด 3.ที่จอดรถ 875 จุด 4.ป้ายและสัญลักษณ์ 407 จุด 5.ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร 226 จุด 6.ลิฟต์ 939 จุด 7.ทางเดิน 111 จุด เตรียมขยายการเชื่อมต่อไปที่ระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ (BTS), รถไฟฟ้ามหานคร (MRT) และระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสานพลังภาคีเครือข่ายให้เกิดการจัดการเมืองที่ยั่งยืน
“สสส. ยินดีที่จะนำ Line Chatbot เมืองใจดี ไปใช้ประโยชน์และเชื่อมต่อกับ LINE OA ‘Bangkok For ALL‘ เพื่อเป็นอีกช่องทางให้คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ใช้รถเข็น และทุกคน ได้ติดตามข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่สาธารณะในกรุงเทพฯ เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นข้อมูลในการเข้าถึงและรับรู้เรื่องการเดินทางและเป็นอีกฐานข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ในการพัฒนา ปรับสภาพแวดล้อม สำหรับทุกคนได้เหมาะสม โดยนวัตกรรมนี้จะเป็นข้อมูลเชิงบวกในการรายงานสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน คู่ขนานกับการแจ้งปัญหาผ่าน LINE Traffy Fondue ของ กทม. ที่ ” ดร.สุปรีดา กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชาวเชียงใหม่อุ่นใจ สสส.-มช. เดินหน้าโครงการ "Chiang Mai Greentopia" ช่วยลดสารเคมีตกค้างในเลือดได้สูง ภายใน 2 ปี ลดเหลือ 66% จาก 90%
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 13 ม.ค. 2568 ที่สวนผักฮักร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ตัวแทนเกษตรกร ภาคีเครือข่าย และสื่อมวลชน ติดตามการดำเนินงานโครงการ Chiang Mai Greentopia : ต้นแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหาร
'พี่เอ้' เสนอนำร่อง 16 เขตกทม.ชั้นใน เป็นโซนมลพิษต่ำ ตั้งด่านเก็บค่าธรรมเนียมสู้ฝุ่นพิษPM2.5
นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอ “Bangkok Low Emission Zone” หรือ “B-LEZ” (บีเลส) เพื่อแก้ปัญหาฝุ่น
พลังแห่งการเล่น..พาเด็กก้าวข้ามวิกฤต ไทยเปิดตัว"สมาคมการเล่นนานาชาติ"
การเล่นเพื่อเปลี่ยนโลก!! เชื่อว่าผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ มีปุจฉา และต้องการวิสัชนาว่า ทำไม?!? เรื่องเล่นๆ ถึงจะมาเปลี่ยนโลกได้ และท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ
รีบเช็ค! 5 อันดับพื้นที่ กทม. ค่าฝุ่น PM2.5 ปริมาณสูงสุด
รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 13 มกราคม 2568
สสส. สานพลัง พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)-Mappa-กสศ.-กทม. จัดเทศกาล 'Relearn Festival 2025' ชูแนวคิด 'Intergeneration ลดช่องว่างระหว่างวัย สร้างความเข้าใจระหว่างกัน' วันที่ 11 ม.ค.-9 ก.พ.68 นี้
เปิดพื้นที่ชวนครอบครัวเปลี่ยนมุมมอง-สร้างทักษะการเลี้ยงดูเด็กยุคใหม่ ลดช่องว่างระหว่างวัยของเด็ก-ผู้ใหญ่ หลังพบเด็ก 25.6% ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ความรุนแรงในครอบครัวพุ่งสูงขึ้น 2 เท่า ในรอบ 7 ปี
เด็กไทยป่วยซึมเศร้าทะลุ 2,200 คน ต่อประชากรแสนคน เสี่ยงทำร้ายตัวเอง 17.4% ซ้ำเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพจิต
ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน จัดกิจกรรม “ดูแลวัยเด็กด้วยศิลปะด้านใน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568” ภายใต้โครงการโมเดลวิทยากรต้นแบบศิลปะด้านในเชิงลึกเพื่อขยายชุมชนการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะเด็กก่อนวัยรุ่น เปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน พ่อแม่