วันนี้ (16 ธันวาคม 2565) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดการประชุมเครือข่ายองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และภาคีความร่วมมือ เพื่อสื่อสารนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย รวมถึงแลกเปลี่ยนรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาสังคม จัดทำข้อเสนอต่อการแก้ไขและรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เข้าร่วมประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 พร้อมกับจัดส่งยุทธศาสตร์ระยะยาว โดยได้ตั้งเป้าบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ.2050 บรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2065 เพิ่มเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นร้อยละ 40 ภายในปี ค.ศ.2030 เพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทนในการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างน้อยร้อยละ 50 ภายในปี ค.ศ.2050 สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเชิงพาณิชย์ก่อนปี ค.ศ.2040 ส่งเสริมการใช้วัสดุทดแทนในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และอยู่ระหว่างนำร่องวิธีการปลูกข้าวทางเลือกแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ รวมถึงกำหนดเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวทุกประเภท เป็นร้อยละ 55 ของพื้นที่ประเทศ เพื่อเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจกภายในปี ค.ศ.2037 อีกทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566 - 2570) ก็ใด้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกำหนดตัวชี้วัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เมื่อเทียบเคียงกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกปกติที่คาดว่าจะเกิดขึ้น พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการผลักดันให้การขับเคลื่อนแผนเป็นไปตามเป้าหมาย
นายวราวุธ กล่าวต่อว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายภาคประชาชนในการปรับตัวเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ พ.ร.บ.Climate Change การพัฒนากลไกทางการเงินที่ได้ปรับกรอบทิศทางการสนับสนุนเงินจากกองทุนสิ่งแวดล้อม (พ.ศ.2566 - 2570) โดยเปิดกรอบสนับสนุนการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการจัดประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference หรือ TCAC เพื่อแสดงศักยภาพและความสามารถของคนไทย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ทุกคนได้รับผลกระทบ ดังนั้นถือเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนในประเทศไทยตั้งแต่ภาคประชาสังคมลงไปจนถึงระดับหมู่บ้าน ระดับครัวเรือน และประชาชนทุกคน
นายสมศักดิ์ สรรพโกศลกุล อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการจัดประชุมเครือข่ายองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และภาคีความร่วมมือ เพื่อสื่อสารนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย รวมถึงแลกเปลี่ยนรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาสังคม จัดทำข้อเสนอต่อการแก้ไขและรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นำไปสู่การปฏิบัติที่สามารถสร้างรูปธรรมที่สอดคล้องกับบริบทประเทศไทย ส่งเสริมชุมชนเพื่อการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะต้องดำเนินการ เช่น การปรับตัวให้เข้ากับน้ำท่วม น้ำแล้ง การทำการเกษตรที่จากนี้ไปจะให้เป็น Green Agriculture ภายใต้คอนเซ็ปต์ Green Thailand การดำเนินการภาคธุรกิจทั้งเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และเศรษฐกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง จากสิ่งที่เรามีและต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานด้วยกัน สำหรับกิจกรรมที่น่าสนใจ ประกอบด้วย วันที่ 15 ธันวาคม 2565 มีการเสวนาในหัวข้อ “รับฟังความคิดเห็นของภาคประชาสังคมกับแนวทางการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย” หัวข้อ “เครื่องมือและกลไกสนับสนุนบทบาทภาคประชาชนในการขับเคลื่อนปฏิบัติการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไทย” รวมถึงการจัดแสดงนิทรรศการและจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ของภาคีเครือข่าย และวันที่ 16 ธันวาคม 2565 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดพร้อมมอบนโยบาย “การมีส่วนร่วมในการลดปัญหาการเปลี่ยนปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เตรียมรับมือหมอกควัน-ฝุ่นพิษ 2568
ใกล้จะเข้าสู่ฤดูกาลฝุ่นช่วงเวลาที่ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จะเริ่มสูงขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาประเมินช่วงหลังวันที่ 23 ตุลาคม 2567 ประเทศไทยตอนบนจะเริ่มมีฝนที่ลดลง และจะมีมวลอากาศเย็นแผ่เข้ามาบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
การเคหะแห่งชาติเข้าร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวง พม. ครบรอบ 22 ปี
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีสงฆ์และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
'วราวุธ' ย้ำต้องเร่งปัญหาอุทกภัยก่อนส่วนเรื่องอื่นว่ากันทีหลัง
'วราวุธ' ย้ำช่วยประชาชนน้ำท่วมสำคัญเบอร์ต้น รอคลี่คลาย ค่อยคุยแก้ร ธน.
“พัชรวาท” เชื่อมั่น 78 ปธส.11 เป็นพลังสำคัญ ร่วมแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
“พัชรวาท” มอบที่ปรึกษา ปิดหลักสูตร ปธส.11 หลังอบรมเข้ม 4 เดือน ชี้จะเป็นภาคีเครือข่ายสำคัญร่วมแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
'วราวุธ' เรียกประชุมพรรคก่อนโหวตนายกฯ 16 ส.ค.
'วราวุธ' เรียกประชุมพรรคชาติไทยพัฒนา เป็นกรณีพิเศษ ก่อนโหวตเลือกนายกฯ
"วราวุธ" รมว.พม. ส่งทีม ศรส. กลางดึก รุด ป้ายรถเมล์หน้าห้างสรรพสินค้า ย่านบางกะปิ หลังรับแจ้ง คนไร้บ้าน นอนเกลื่อน
เมื่อวันที่ 30 ก.ค.67 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์