จากกระแสข่าวเรื่อง 37 ส.ส.จากหลายพรรคการเมือง เตรียมสมัครเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทยนั้น
ล่าสุด 13 ธันวาคม 2565 รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มองความเคลื่อนไหวดังกล่าวว่า อันนี้ น่าจะเป็นสัญญาณบวกของพรรคภูมิใจไทย ที่พรรคเขามีกระแสพอสมควร โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา เพราะนักการเมือง คงไม่ย้ายไปพรรคที่ไม่มีอะไรขายเลย แต่ย้ายมาขนาดนี้ แสดงว่ามีจุดขาย ข้อต่อมา คนที่ย้าย เขาคงมีความมั่นใจในนโยบายพรรค ว่าดีพอสู้กับคู่แข่ง ที่เห็นเด่นๆ คือเป็นนโยบายที่พูดได้ ทำได้ นอกจากนั้น ผลงานที่ผ่านมาในการผลักดันนโยบายของพรรคได้พิสูจน์ความตั้งใจที่จะทำให้สำเร็จ ตรงนี้ ประชาชนเห็น แม้ว่ามีพรรคการเมืองอื่นพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้นโยบายผ่านเป็นกฎหมายเพราะบางพรรคกลัวเสียผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจการเมือง แต่พรรคก็สู้ยิบตาเพื่อรักษาสัจจะที่ให้ไว้กับประชาชน ที่ต้องไม่ลืมคือ ลักษณะเด่นในการทำงานการเมืองของพรรคภูมิใจไทย คือ ไม่สร้างเงื่อนไขทางการเมือง ไม่มีวาระซ่อนเร้นกับประชาชน มีจุดยืนชัดเจน ทำให้ สส.ลูกพรรคสบายใจในการทำงาน ซึ่งความสบายใจดังกล่าว มันก็มาจากความเป็นเอกภาพในพรรค ที่ไม่มีการกลุ่มมุ้ง ไม่แบ่งก๊ก แบ่งกลุ่ม เพื่อต่อรองเรียกร้องผลประโยชน์ของกลุ่มเหมือนพรรคการเมืองอื่นๆ จนนำไปสู่ปัญหาความจัดแย้งภายในพรรคจนพรรคแตก แล้วพรรคพยายามวางบทบาทสถานะทางการเมืองที่ไม่เป็นคู่ขัดแย้งกับใคร นี่คือ พื้นที่ปลอดภัยสำหรับนักการเมืองจำนวนไม่น้อย
“ความมีเอกภาพทำให้ลูกพรรคไม่ต้องลำบากใจในการทำงานการเมืองและไม่มีแรงกดดันทางทั้งภายในภายนอก ไม่ต้องวิ่งหาอำนาจอื่น หรือผู้มีบารที่อยู่เหนือพรรคหรือนอกพรรคมากดดันผู้บริหารพรรคจนทำให้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคเป็นเพียงตำแหน่งสมมติตั้งลอยให้ครบองค์ประกอบเท่านั้น สภาพปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นในพรรคการเมืองอื่นทำให้ ส.ส.เหล่านี้ต้องตัดสินใจทิ้งพรรคการเมืองที่ไม่มีระบบ มีอำนาจซับซ้อนเกินไป หัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรคไม่มีอำนาจจริงตัดสินใจอะไรไม่ได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ สส . เหล่านั้นต้องย้านมาสังกัดพรรคภูมิใจไทยเพราะมีความเป็นระบบมากกว่า อย่างน้อยที่สุดก็มั่นใจได้แน่ว่าหัวหน้าพรรค คือ หัวหน้าพรรคตัวจริง และ มีอำนาจจริง ไม่ใช้ตุ๊กตามนุษย์ที่เขาอุปโลกให้เป็นหัวหน้าพรรคแต่ในนาม จากนี้ พรรคภูมิใจไทย จะกลายเป็นพรรคขนาดใหญ่รองจากเพื่อไทยที่จะมีบทบาทการเมืองสูงหลังการเลือกตั้ง และในการจัดตั้งรัฐบาลหน้าภูมิใจไทยจะไม่ใช่พรรคตัวแปรอีกต่อไป แต่จะเป็นพรรคที่จะมีอิทธิทางการเมืองสูงในการจัดตั้งรัฐบาล เป็นพรรคที่จะกำหนดวาระการเมืองซึ่งจะทำให้ความขัดแย้ง 2 ขั้วคลี่คลายลงได้ การวางบทบาทในการกำหนดวาระการเมืองเพื่อคลี่คลายความขัดแย้ง 2 ขั้ว คือ การปูทางไปสู่อนาคตทางการเมืองของภูมิใจไทยในสมัยต่อไป”
ด้าน ผศ.ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต มองว่า นักการเมืองวิเคราะห์แล้วว่า ถนนทุกสายทางการเมือง ทุกค่าย ทุกขั้วกลุ่มการเมืองต่างยอมรับว่าพรรคภูมิใจไทย จะเป็นพรรคที่เติบโตมากขึ้นเป็นเท่าตัว หลังจากการเลือกตั้งปี 2566 อะไรที่ทำให้หลายๆคนเชื่อเช่นนั้น แน่นอนว่าองค์ประกอบสำคัญยืนยันด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ดังนี้ 1. เป็นพรรคที่มีเอกภาพ-วินัยของสมาชิกพรรคสูงมาก ไม่มีความขัดแย้ง หากมองพรรคร่วมรัฐบาลเฉพาะ3 พรรคหลัก ได้แก่ พลังประชารัฐ, ประชาธิปัตย์, และภูมิใจไทย แล้ว พบว่า สัดส่วนการขอปรับเก้าอี้รัฐมนตรีมีน้อยที่สุด ย่อมชี้ให้เห็นถึงความสามัคคี
2. ผลงานที่ที่เป็นรูปธรรม การแก้ไขปัญหาโควิด-19 ด้วยความอดทนต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ประกอบกับนโยบายกัญชา ที่ตอบโจทย์การพัฒนาการรักษาทางการแพทย์ และเพื่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม จึงเห็นความเคลื่อนไหวต่อนโยบายดังกล่าวในลักษณะที่ใช้ความอ่อนไหวและห่วงใยของผู้คนในสังคมแม้ว่าจะมีความพยายามตีเจตนาให้บิดเบือนเจตนา หรือเอาข้อเสียของนโยบายกัญชามาโจมตีของผู้เห็นต่าง ในเชิงดิสเครดิต ซึ่งเหล่านี้ย่อมชี้ให้เห็นว่าพรรคภูมิใจไทยมีผลงานโดดเด่นกว่าพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน สโลแกนที่ว่า “พูดแล้วทำ” กลายเป็นสัจจะวาจาสำคัญ
3. นักการเมืองที่ต้องการ “รีแบรนด์ภาพลักษณ์” ตัวเอง แน่นอนภูมิใจไทยจะถูกจับตามองให้เป็น “สะพานบุญ” ทางการเมืองให้บรรดานักการเมืองต่างค่าย เนื่องจากพรรคภูมิใจไทย มีภาพของแนวคิดในเชิงอนุรักษ์นิยม ที่ไม่ปฏิเสธมิติการพัฒนาทางการเมืองแบบก้าวหน้า ภาพลักษณ์แบบนี้จึงกลายเป็นเงื่อนไขที่ลงตัวสำหรับนักการเมืองที่เคยมีแนวคิดสุดโต่ง หันมาสนใจพรรคการเมืองแบบที่เข้าได้กับทุกฝ่าย 4. ความโดดเด่นของผู้นำพรรค ความชัดเจนของนายอนุทิน ชาญวีรกูล สิ่งที่ปรากฏออกมาทั้งผลงาน และความใกล้ชิดประชาชน การขับเครื่องบินรับส่งอวัยวะ ถือเป็นคะแนนเกื้อหนุนพรรค
“คิดว่า การปล่อยชื่อ ส.ส.ที่จะร่วมพรรคภูมิใจไทยนั้น ยังไม่ครบทั้งหมด ยิ่งใกล้เลือกตั้ง ตัวเลขจะไม่หยุดอยู่ที่จำนวนเท่านี้แน่นอน”
ขณะที่ รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย อิสรชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช วิเคราะห์ว่า ที่ภูมิใจไทย เป็นเป้าหมายสำคัญของนักการเมืองจำนวนมากนั้น มีปัจจัยที่ต้องมองคือ 1) ฐานทางอุดมการณ์ของพรรคที่มีลักษณะกลาง ๆ ไม่สุดโต่ง 2) พรรคมีนโยบายที่ตอบสนองต่อคนหลากหลายกลุ่ม 3) พรรคสามารถเปิดพื้นที่ใหม่ๆ ทางการเมือง เช่น ภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคกลาง ได้จากการดูแลกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับประชาชน และขับเคลื่อนผลงานได้จริง 3-4 ข้อนี้ ก็เพียงพอแล้ว เพราะเท่ากับว่า พรรคมีความต้องการจะเติบโต นี่คือสิ่งที่ทำให้นักการเมืองรู้สึกเชื่อมั่น ดีกว่าไปอยู่กับพรรคที่เล็กลงทุกวัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ภูมิใจไทย' นัดหลังปีใหม่ ดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาล
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงการเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงพรรคร่วมรัฐบาลครั้งต่อไป ว่า
'อนุทิน' ไม่หวั่น 'ทักษิณ' โวกวาด 200 เสียง ยัน 'รมต.-สส.' ภท. ขยันทำงาน
'อนุทิน' ชี้ 'ทักษิณ' โวเลือกตั้งครั้งหน้ากวาด 200 เสียง มีสิทธิตั้งเป้า ยัน ภท. ไม่เงียบ 'รมต.-สส.' ลงพื้นที่ทำงานขึ้นเหลือล่องใต้ ปัดส่งผู้สมัครชิง นายก อบจ. ในนามพรรค
เคาะ 'รองปลัดคลัง-อธิบดี กสร.' นั่งบอร์ดไตรภาคี ลุยขึ้นค่าแรง 400 ของขวัญปีใหม่
'กระทรวงแรงงาน' เตรียมเสนอชื่อ 'ตัวแทน กสร.-รองปลัดคลัง' นั่งบอร์ดไตรภาคี ขง ครม. 19 พ.ย. เดินหน้าขึ้นค่าแรง 400 บาท เป็นของขวัญปีใหม่
จับตา ส่อแตกหัก! เพลงกระบี่อำมหิตบรรเลงแล้ว 'เพื่อไทย' เดือด! กระซวกคืน 'ภูมิใจไทย'
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย นักวิจารณ์การเมือง โพสต์ข้อความว่า เพลงกระบี่อำมหิตบรรเลงแล้วเพื่อไทยเดือดกระซวกคื
'อนุทิน' ลุย 'เกาะกูด' ยันของไทย ไม่มีวันยอมเสียดินแดนให้ใคร
'อนุทิน' ลงพื้นที่เกาะกูด ลั่นรัฐบาลนี้ไม่มีวันยอมเสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว พร้อมขอบคุณก๋งวัย 92 ปี ยืนยันเป็นของไทย 100%
"ไชยชนก" นำ รมต. - รมช. - กก.บห. - สส. พรรคภูมิใจไทย วางพวงมาลาถวายสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปิยมหาราช 23 ต.ค.
23 ตุลาคม 2567 ณ พระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระลานพระราชวังดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ นายไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วย พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน, นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล