เมื่อเร็วๆ นี้ เมืองท่องเที่ยวสำคัญอีกจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออก "ระยอง" ได้จัดกิจกรรม Healthy Rayong ขับเคลื่อนจังหวัดระยอง สู่การเป็นต้นแบบเมืองสุขภาวะแห่งการเรียนรู้ (Healthy Learning City) บริเวณป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำ จ.ระยอง ภายใต้แนวคิด ..เมืองเป็นปัจจัยพื้นฐานในการสร้างสุขภาวะของประชาชน..
Healthy Rayong ตอกย้ำเจตนารมณ์ข้างต้น พร้อมกับขับเคลื่อนสร้างความร่วมมือออกแบบและพัฒนาเมืองสุขภาวะ ภายใต้โครงการวางผังแม่บทเมืองสุขภาวะเพื่อรองรับวิถีใหม่ โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน รวมถึงสร้างการรับรู้และความเข้าใจการพัฒนาผังแม่บทสุขภาวะต่อสังคมในวงกว้าง มุ่งเป้าหมายขับเคลื่อนการพัฒนาผังเมืองสุขภาวะให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ จากความร่วมมือของสถาบันอาศรมศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันการเรียนรู้ จ.ระยอง รวมทั้งภาคีเครือข่าย โดยมีการรณรงค์กระตุ้นให้ชาวระยองมาร่วมเปลี่ยนประชาคมของตัวเองให้เป็นเมืองสุขภาวะด้านการเรียนรู้ ร่วมออกแบบระยองให้เป็นเมืองสุขภาวะแห่งการเรียนรู้ของทุกคน บนบริบทที่ว่า Healthy Rayong เพื่อสุขภาวะที่ดี ไม่ใช่เพียงการมีร่างกายแข็งแรง แต่หมายถึงภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ กาย จิตใจ สังคม ปัญญาที่ทำงานเชื่อมโยงกันอย่างสมดุล ซึ่งปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้คนคือเมืองสุขภาวะ เมืองที่มีการปรับปรุงพัฒนาทั้งในด้านกายภาพและสังคม เพื่อเอื้อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีสุขภาวะที่ดีของประชาชนอย่างต่อเนื่อง
ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คนที่ 1 บอกกล่าวในวันเปิดกิจกรรมครั้งนี้ว่า งานนี้จะทำให้ความเป็นเมืองอุตสาหกรรมระยองมาเปลี่ยนภาพลักษณ์จากเมืองที่หารายได้ให้คนทั้งประเทศให้เป็นเมืองแห่งความสุข การทำ MOU กับหน่วยงานต่างๆ เป็นจุดเริ่มต้นทำให้เมืองระยองเป็นเมืองแห่งความสุข เมืองสุขภาวะ สสส.วางนโยบายสำคัญในการจัดสรรงบประมาณ สถานที่สำคัญในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้เป็นเพชรเม็ดงามระยอง เป็นการสร้างนวัตกรรมระยะยาว ที่คนระยองสร้างให้คนทั้งประเทศว่าระยองเป็นเมืองต้นแบบอันดับ 1 ของประเทศ ท่ามกลางต้นทุนเศรษฐกิจ การศึกษา อุตสาหกรรมให้จังหวัดอื่นได้จัดทำร่วมกันด้วย
สถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย จ.ระยอง (Rayong Inclusive Learning Academy) (RILA) เป็นภารกิจคิดใหญ่ต้นแบบความสำเร็จของ Smart City ทุกด้าน เป็นสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย (RILA) จ.ระยอง ในการเปลี่ยนระยองให้มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ติดอันดับโลก มีแหล่งท่องเที่ยว แหล่งอาหารทะเลสำคัญ ศูนย์กลางทางการค้าและระบบโลจิสติกส์ที่มีศักยภาพ พร้อมด้วยรากฐานทางวัฒนธรรมเก่าแก่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน
“การออกแบบวางผังให้ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของเมืองและคนในด้านสุขภาวะมี 6 องค์ประกอบ 1.สภาพแวดล้อมเมืองและธรรมชาติที่ดี สะอาด ปลอดภัย 2.แหล่งผลิตและจำหน่ายอาหารปลอดภัยที่ทุกคนเข้าถึงได้ 3.เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 4.เข้าถึงบริการด้านสุขภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ให้ทุกช่วงวัยดูแลรักษาความอยู่ดีมีสุขอย่างเหมาะสม 5.ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมที่เข้มแข็งผ่านกิจกรรมการมีส่วนร่วมและการรวมกลุ่มต่างๆ 6.สวนสาธารณะและพื้นที่นันทนาการสีเขียวที่เพียงพอและครอบคลุม ซึ่ง จ.ระยอง มีต้นทุนและศักยภาพ ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งผลิตอาหาร รวมถึงกลุ่มคนที่เห็นความสำคัญของการพัฒนาเมืองสุขภาวะ กิจกรรมครั้งนี้ จึงมีความสำคัญในการเป็นจุดเริ่มต้นการริเริ่มการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะระดับเมืองของ จ.ระยอง ที่จะเป็นฐานในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในการขับเคลื่อนจังหวัดระยองให้เป็นเมืองสุขภาวะทั่วทั้งจังหวัดระยองต่อไป” ดร.สาธิตกล่าว
ในขณะที่ นางประภาศรี บุญวิเศษ กรรมการกองทุน สสส. กล่าวว่า จ.ระยอง มีความพร้อมที่จะเป็นพื้นที่สุขภาวะ เนื่องจากมีพื้นที่สาธารณะ แต่ละท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการผังเมือง แต่ยังต้องการองค์ความรู้จากสถาบันอาศรมศิลป์ด้านการออกแบบสุขภาวะครบถ้วนเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน ร่วมคิดร่วมทำเพื่อให้เกิดความหลากหลาย บางพื้นที่ต้องการตลาดชุมชน ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยว สันทนาการในชุมชน มีลานกีฬาเพื่อผู้สูงอายุ มีความพร้อมพัฒนาต่อยอดเป็นพื้นที่สุขภาวะ มี 14 หน่วยงาน ตำบล เทศบาล อบจ.ระยอง มาบตาพุด
“สสส.ร่วมกับสถาบันอาศรมศิลป์ ทำงานร่วมกันตั้งแต่ปี 2556 พัฒนาลานกีฬาเพื่อความเจริญ เป็นการน้อมนำโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีสุขภาพกาย ใจที่ดี ชุมชนมีศักดิ์ศรี และมีความเข้มแข็ง ลานกีฬาเพื่อคนทุกกลุ่มวัยส่งเสริมกิจกรรมทางกายบริเวณแฟลตคลองจั่นใกล้เคียงกับสถาบันนิด้า และลานกีฬาบริเวณใต้ทางด่วนศรีรัช บริเวณแยกอุรุพงษ์ ต่อไปจะขยายไปยังลานกีฬาวัชรพล สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นำวัฒนธรรมชุมชนกระบวนการมีส่วนร่วมเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ สร้างความสามัคคีในชุมชน ผู้เฒ่าผู้แก่มีพื้นที่พูดคุยกัน แทนที่จะเงียบเหงาอยู่ในบ้าน ลานกีฬาเข้ามาแทนที่ ซึ่งแต่เดิมเป็นแหล่งมั่วสุมอบายมุข หากชุมชนใดสนใจเขียนโครงการพื้นที่ว่างนำเสนอเข้ามาเพื่อสร้างลานกีฬาเพื่อชุมชน”
สสส.มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียม สานพลังภาคีเครือข่ายดำเนินการพัฒนาองค์ความรู้ ฐานข้อมูล กระบวนการพัฒนาต้นแบบการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมมาอย่างต่อเนื่อง การขับเคลื่อนต้นแบบระยองเมืองสุขภาวะแห่งการเรียนรู้ครั้งนี้ เป็นโอกาสสำคัญในการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกมิติ ผ่านกิจกรรมทดลองใช้พื้นที่สุขภาวะ ส่งเสริมกิจกรรมทางกายหลากหลายรูปแบบ ทั้งเดินเส้นทางศึกษาธรรมชาติ พายและล่องเรือศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลน นิทรรศการแนวคิดการพัฒนาเมืองสุขภาวะ 6 องค์ประกอบชุมชนสุขภาวะ จัดจำหน่ายสินค้าส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชน
สำหรับเจ้าของพื้นที่ อย่าง นายประสานต์ พฤกษาชาติ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง กล่าวถึงกิจกรรม Healthy Rayong ว่า ถือเป็นการเปิดตัวและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการจัดทำผังแม่บทเมืองสุขภาวะเพื่อรองรับวิถีใหม่ โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ร่วมส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของประชาชน สานพลังความร่วมมือทุกภาคส่วนเปลี่ยน จ.ระยอง ให้เป็นเมืองสุขภาวะด้วยกระบวนการเรียนรู้ เป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่สอดคล้องนโยบายการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองของจังหวัด ที่ตอบสนองต่อความท้าทายด้านการพัฒนาเมืองควบคู่กับการพัฒนาคน ทั้งการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายพัฒนานวัตกรรมกลไกในการออกแบบและสร้างสรรค์อนาคตของ จ.ระยอง สู่การเป็นต้นแบบ Healthy Learning City เป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนการเรียนรู้และจัดการตนเอง ที่แสดงถึงพลัง ความมุ่งมั่น และร่วมแรงร่วมใจของผู้รักใน จ.ระยอง ริเริ่มสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เป็น “เมืองสุขภาวะแห่งการเรียนรู้” ด้วยการพัฒนาผังเมืองสุขภาวะ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนวิถีสุขภาวะ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
ส่วน นายประยงค์ โพธิ์ศรีประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม สถาบันอาศรมศิลป์ ในฐานะคณะกรรมการจัดงาน Healthy Rayong กล่าวว่า ความสำเร็จของการจัดกิจกรรมครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ใน จ.ระยอง กว่า 14 องค์กร ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการออกแบบและพัฒนาให้ จ.ระยอง เป็น “ต้นแบบเมืองสุขภาวะแห่งการเรียนรู้” และมุ่งหวังว่าความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นการเปิดพื้นที่ซึ่งนำไปสู่การสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะและการส่งเสริมวิถีสุขภาวะที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดระยองอย่างเป็นรูปธรรมและกว้างขวางในอนาคตต่อไป.
***
องค์ประกอบชุมชนสุขภาวะ
1.สภาวะแวดล้อมที่ดี
2.อาหารดีมีแหล่งผลิตและจำหน่วยอาหารปลอดภัย
3.ชีวิตกระฉับกระเฉง
4.การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ
5.ชุมชนเข้มแข็ง
6.สวนสาธารณะและพื้นที่นันทนาการ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว
"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น
“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.
วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั
สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ
สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ
"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ
เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน
สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้
เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต