กองทุนสื่อปลอดภัยฯ ย้ำอนุมัติโครงการขอรับงบสนับสนุนปี 2566 วงเงิน 300ล้านบาท โปร่งใส ชี้แจงได้ทุกขั้นตอน

หลังก่อนหน้านี้ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้เปิดรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 1 – 31 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยพบว่า มีผู้ยื่นข้อเสนอโครงการฯ จำนวน 939 โครงการ กระบวนการต่อจากนี้ จะเป็นอย่างไรต่อไปนั้น

ทางด้าน “ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” เปิดเผยว่า มีโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนเงินประจำปี 2566 พบว่าปีนี้ มีผู้ยื่นเสนอโครงการฯ939 โครงการ โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2565 เล็กน้อย โดยเมื่อปี 2565 มีผู้เสนอประมาณเจ็ดร้อยกว่าโครงการ ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นการเพิ่มทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพราะเราเชื่อว่าข้อเสนอโครงการน่าจะเป็นข้อเสนอที่เขียนจากผู้ยื่น ที่เขียนจากความรู้ความเข้าใจ และเป็นข้อเสนอโครงการที่ดี ซึ่งจะทำให้คณะทำงานและคณะกรรมการชุดต่างๆ ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ อาจจะต้องทำงานกันหนักพอสมควรในการจะคัดเลือกโครงการที่ดีที่สุด

ดร.ธนกร กล่าวต่อไปว่า สำหรับวงเงินที่เสนอเข้ามาจากทั้งหมด 939 โครงการ อยู่ทีประมาณ4,022 ล้านบาท ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงตัวเลขที่มีนัยยะสำคัญอะไร เพราะข้อเสนอที่ยื่นมาก็อยู่ที่ประมาณนี้อยู่แล้ว ที่ก็สะท้อนให้เห็นว่าคนสนใจกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์มากขึ้น คนรู้จักกองทุนฯ มากขึ้นและใหัความเชื่อมั่นในการที่จะมายื่นเสนอโครงการ

ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวน้ำเสียงหนักแน่นว่า ยืนยันได้ว่าการพิจารณาของกองทุนฯ เปิดเผย โปร่งใส ที่ก็ทำให้คนมีความรู้สึกว่า ปีนี้ไม่ได้ไม่เป็นไร รอบหน้าก็มายื่นใหม่ โดยงบที่จัดสรรไว้สำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนคือ300 ล้านบาท โดยกองทุนฯ ตั้งใจว่าจะพิจารณากลั่นกรองและอนุมัติให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อที่เปิดมาปีใหม่ 2566 จะสามารถประกาศผลการพิจารณาได้เลย

เมื่อถามถึงว่า มีการยื่นมา 939 โครงการที่ปิดรับการยื่นเรื่องเมื่อเดือนตุลาคม โดยมีเวลาพิจารณาแค่สองเดือน จะพิจารณากลั่นกรองได้ละเอียดถี่ถ้วนแค่ไหน  เรื่องนี้ ดร.ธนกร กล่าวว่า กระบวนการพิจารณาจะมีตามลำดับขั้นตอน อย่างปัจจุบันหลังปิดรับการยื่นโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนเมื่อตุลาคมที่ผ่านมา จากนั้นก็ได้มีการตรวจเอกสารประกอบการยื่นโครงการ -ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นเสนอโครงการว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ โดยจากประสบการณ์ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พอเราเห็นว่ามีการยื่นมาเก้าร้อยกว่าโครงการ จึงจำเป็นต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมาร่วมพิจารณา ซึ่งปีนี้ มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา 10 คณะ อย่างหากคณะหนึ่งมีห้าคน สิบคณะก็คือห้าสิบคน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก มีความหลากหลายเช่นมีผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึง ผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจน ข้าราชการบำนาญ โดยทุกชุดจะมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เข้าไปเป็นเลขานุการคณะทำงาน แล้วก็มีการแบ่งงานให้คณะกรรมการพิจารณาเช่นคณะกรรมการหนึ่งคณะก็พิจารณาหนึ่งร้อยโครงการจากที่ยื่นมาเก้าร้อยสามสิบเก้าโครงการ ที่ก็จะมีการพิจารณากลั่นกรองอย่างละเอียดเป็นรอบๆ โดยเมื่อเข้าสู่รอบการพิจารณาในรอบลึกๆ ก็ต้องมีการเชิญผู้เสนอโครงการมาให้ข้อมูลกับคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก ถือว่าสองเดือนของการพิจารณาไม่นานเกินไป และไม่เร็วเกินไป สามารถทำให้เราทำงานได้ เกิดความรอบคอบ ทางผู้ยื่นขอรับทุนหรือผู้เสนอโครงการ ขอให้สบายใจได้ว่าขั้นตอนหลังจากปิดรับการยื่นเสนอโครงการเรามีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน รอบคอบและเปิดเผย

ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” กล่าวต่อไปว่า การพิจารณาของกองทุนฯมาถึงวันนี้ มีองค์ความรู้ มีประสบการณ์ ที่ทำให้เราพร้อมที่จะทำงาน โดยเมื่อประกาศผลออกมา ก็สามารถขอดูได้เช่นหากมีใครที่สงสัยว่าทำไมโครงการที่เสนอไปไม่ได้รับการพิจารณาและอยากรู้ว่าทำไมของคนอื่นได้รับการพิจารณาคัดเลือก อยากรู้ว่าเป็นอย่างไร ทางสำนักงานก็เปิดเผยให้ดู เพียงแต่ขอให้ไม่ถ่ายเอกสารออกไป เพราะเกี่ยวข้องกับเรื่องลิขสิทธิ์หรือหากอยากรู้ว่าทำไมโครงการที่เสนอไปตก ไม่ได้รับการพิจารณาคัดเลือก ก็ให้เข้ามาสอบถามเหตุผลได้ ทางฝ่ายเลขานุการคณะทำงาน สามารถจะตอบคำถามได้ว่าเพราะอะไร ยืนยันว่าเราชัดเจนทุกปี เพราะเราก็รู้ว่าคนต้องการก็เยอะ โครงการที่ให้เราพิจารณาก็มีมาก แต่เราพิจารณาแล้ว จากเก้าร้อยกว่าโครงการ ก็อาจจะเหลือหนึ่งร้อยโครงการ จากทั้งหมดที่เสนอมาทุกโครงการวมวงเงินแล้วสี่พันกว่าล้านบาทแต่กองทุนฯ มีงบแค่สามร้อยล้านบาท ทำให้ทุกครั้งที่เวลาเราประกาศเรื่องทุนนี้ จะมีคนที่สมหวังไม่ถึงสิบเปอร์เซนต์ แต่มีคนผิดหวังเก้าสิบเปอร์เซนต์กว่า ทำให้ทุกครั้งที่เราประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุนการพิจารณา ไม่ได้มีสรรเสริญแซ่ซ้อง แต่จะเกิดการวิพากษ์วิจารณ์มากกว่า เรื่องนี้เรารู้ เราถึงต้องเตรียมรับมือ

“วิธีการรับมือ คือทำทุกอย่างให้โปร่งใส เปิดเผย อธิบายได้ สงสัยตรงไหนถามมา ซึ่งระยะหลังก็ไม่ค่อยมีแล้ว แต่ก่อนหน้านี้อาจเพราะด้วยความไม่เชื่อมั่นกัน ก็มีการไปร้องหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะกรรมาธิการของสภาฯ และวุฒิสภา แต่เราก็พร้อมไปชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการได้หมดว่าเรามีกระบวนการพิจารณาที่ชัดเจน เช่นคนที่เชิญมาเป็นคณะทำงานพิจารณาคัดเลือก ก็ต้องให้เขาชี้แจงก่อนว่าไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย และมีโปรไฟล์ที่ชัดเจนเช่น มีความเชี่ยวชาญด้านใด จบการศึกษาอะไรมา ปัจจุบันทำอาชีพอะไร เราเป็นหน่วยงานที่ทำเรื่องพวกนี้ เราตรวจสอบได้และชี้แจงได้หมด ทุกเรื่องเรารายงานและชี้แจงต่อสาธารณะตลอด”ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวย้ำในตอนท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ บุกนครพนม ชวนเครือข่ายอีสานขับเคลื่อนสังคมด้วยสื่อน้ำดี เปิดเวทีสัมมนา 4 ภาคฯ ปีที่ 2 โชว์เคสตัวอย่าง นครเรืองแสง พนมนครรามา เครือข่ายชุมชนลุ่มน้ำโขง

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เดินหน้าจัดเวทีสัมมนา 4 ภาค “ขับเคลื่อนเครือข่ายสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สู่ชุมชน สร้างสังคมเข้มแข็ง” ปีที่ 2

“กองทุนพัฒนาสื่อฯ” สัญจร จัดเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ภูมิภาค ปี 2567 ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ ผู้แทนทุกเครือข่ายร่วมเสวนาเพียบ

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้าจัด กิจกรรมเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ภูมิภาค ประจำปี 2567 ครั้งที่ 2 สัญจรภาคเหนือ จ.พิษณุโลก วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดตัวโครงการพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปี 3 “สื่อ เตือน สติ” หวังสร้างสื่อดีเตือนสติให้ประชาชน

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปี 3 “สื่อ เตือน สติ” โดยการจัดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข

เชิญชวนน้องๆ กลุ่มมัธยมศึกษา (เทียบเท่า) ร่วมประกวดสื่อสร้างสรรค์ "Digi Camp ค่ายเยาวชนไทยรู้เท่าทันสื่อ" ปี 2

ถ้าคุณเป็นเยาวชนที่สนใจ...การใช้สื่อโซเชียลมีเดียบนโลกอินเทอร์เน็ตในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การโพสต์ และการแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งในฐานะผู้รับสาร ผู้ส่งต่อ

“กองทุนพัฒนาสื่อฯ จัดเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ภูมิภาค ปี 2567 หวังสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยสื่อสร้างสรรค์ เริ่มต้นบุกอีสาน จ.ร้อยเอ็ด”

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้าจัด กิจกรรมเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทั่ว 5 ภูมิภาค ประจำปี 2567 มุ่งเน้นให้คนในสังคมรวมพลัง

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ขอเชิญชวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาส่งผลงานเข้าประกวด คลิปสั้นการให้ข้อคิด ธรรมะในชีวิตประจำวัน ในโครงการ "หนูได้ธรรม" ความยาวไม่เกิน 1.30 นาที

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ขอเชิญชวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาส่งผลงานเข้าประกวดคลิปสั้นการให้ข้อคิด ธรรมะในชีวิตประจำวัน ในโครงการ "หนูได้ธรรม" ความยาวไม่เกิน 1.30 นาที ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 90,000 บาท