การประชุมหารือแนวทางความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงานที่ สอวช.
อาคารจัตุรัสจามจุรี กรุงเทพฯ / วันนี้ (9 ธันวาคม) มีประชุมหารือแนวทางการประสานความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ ระหว่างกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ที่สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) อาคารจัตุรัสจามจุรี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
การประชุมในวันนี้มีวัตุประสงค์เพื่อสร้างแนวทางและกลไกความร่วมมือระหว่างกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ โดยมีผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ร่วมประชุม เช่น ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท. ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการ พอช. นายกฤษดา สมประสงค์ ผอ.พอช. ดร.รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์ ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สภาการศึกษา สกศ. และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประมาณ 20 คน
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานบอร์ด พอช. (ซ้าย) และนพ.สุภกร บัวสาย ผู้ทรงคุณวุฒิ (ขวา)
ประธานบอร์ด พอช. ย้ำ พร้อมนำชุมชนร่วมพัฒนากับภาคี
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวว่า ตนมีความตั้งใจในการขับเคลื่องานของชุมชนอย่างกว้างขวางหลายมิติ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาจากฐานราก โดยที่ผ่านมาประเทศไทยมีการแก้ไขปัญหาจากบนลงล่างมานาน ขณะเดียวกันจะเห็นได้ว่า ยิ่งพัฒนาชนบทยิ่งมีความอ่อนแอ ซึ่งได้เห็นจากความสำเร็จของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ พอช. ที่มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง สามารถดูแลพี่น้องได้เป็นอย่างดี จึงต้องการขยายแนวคิดความเข้มแข็งของชุมชนจากข้างล่าง สอดคล้องกับแนวคิดของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งการขับเคลื่อนงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การเกษตร ป่าชุมชน ธนาคารต้นไม้ สวัสดิการชุมชน สถาบันการเงินนั้น ชุมชนสามารถขับเคลื่อนงานเองได้ แล้วจึงเชื่อมโยงทรัพยากรต่าง ๆ ที่หน่วยงานภาคีมีเพื่อนำมาเสริมพลังให้กับชุมชน เช่น กองทุนพลังงาน แพทย์ชนบท เป็นต้น
ดร.กอบศักดิ์
“การที่มาพบและหารือกับหน่วยงานภาคีในวันนี้ ทั้ง บพท. กสศ. และ พอช. ถือเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ ทั้งเรื่องการศึกษา มีความพร้อมในการดำเนินงานด้านดิจิทัลเทคโนโลยี รวมไปถึงหน่วยงานด้านส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ร้านค้าชุมชน เช่น สสว. และสมาพันธ์ SME และกองทุนศึกษาวิจัยชุมชน ที่ถือเป็นหัวใจ โดยให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ไปทำงานกับชุมชน นอกจากให้ความรู้แล้ว ยังเป็นแหล่งที่ให้นักศึกษา นักเรียนมาให้ความสนใจกับชุมชน สามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างมาก และทาง พอช. มีความพร้อมที่จะนำชุมชนมาทำงานร่วมกับหน่วยงานซึ่งทำให้การขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ไปได้” ดร.กอบศักดิ์กล่าว
สานพลังภาคีพัฒนาชุมชนฐานรากแก้ปัญหายากจน-ลดเหลื่อมล้ำ
ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าว่า หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) มีพันธกิจในการจัดสรรทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ การพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่นที่มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการรายใหม่ ธุรกิจขนาดจิ๋ว วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจสังคมในระดับพื้นที่
ดร.กิตติ
โดยมียุทธศาสตร์ 3 เรื่อง ประกอบด้วย (1) การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาคน และกลไกจากฐานทุนทรัพยากรพื้นถิ่นและทุนทางวัฒนธรรม มีพื้นที่ดำเนินการ 50 พื้นที่ และมีการดำเนินงานในเรื่องนวัตกรชาวบ้าน ให้ชาวบ้านมาเรียนรู้เรื่องนวัตกรรม (รับ-ปรับ-เปลี่ยน) ขยายผลได้ในชุมชน ผู้ประกอบการในพื้นที่ บนฐานทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก มีประมาณ 2 ล้านราย
(2) การพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ เป็นการเสริมสร้างกลไกการพัฒนาเมือง เมืองน่าอยู่และเมืองแห่งการเรียนรู้ พัฒนาข้อมูล Open data ของเมือง ร่วมมือกับสันนิบาตประเทศไทย มีกลไกการพัฒนา 20 เมือง ดำเนินการเข้มข้น 10 เมือง ขับเคลื่อนร่วมมือกับเทศบาล จำนวน 200 เทศบาล
(3) การขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ค้นหาและสอบทานคนจน 40% ล่างสุดใน 20 จังหวัดนำร่อง มีการทำระบบข้อมูลครัวเรือนยากจน ระบบส่งต่อความช่วยเหลือ พัฒนาโมเดลแก้จนระดับพื้นที่ เพิ่มทักษะการประกอบอาชีพให้กับคนจน มีการถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหาความยากจนจากประเทศจีน มีกลไก ศจพ.ระดับชาติ เสริมพลังด้วยการส่งต่อข้อมูลระดับส่วนกลางและพื้นที่ ทำเรื่องการค้นหาสอบทาน ทำข้อมูลให้เป็นของชุมชน มีการฝังตัวในมหาวิทยาลัย มีการคัดแยกคนจน พัฒนาไปสู่กลไกและแผนพัฒนาจังหวัด โดยข้อมูลเบสมาจาก TPMAP และมีการค้นหาโดยกลไกประชาคม ให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ร่วมดำเนินการทั้งชุมชน ราชภัฏ ท้องที่ท้องถิ่น มีการจัดเวทีระดับชุมชน ตำบล อำเภอ ทำให้เกิดการแก้ไขปัญหา
“เช่น จังหวัดมุกดาหาร ใช้ที่ดินสาธารณะในการบริหารจัดการแปลงรวม นำมาจัดสรรให้คนจน 90 ครัวเรือน ในการเข้าทำประโยชน์ จังหวัดพัทลุง มี ‘กระจูดแก้จน’ โดยมหาลัยทักษิณ ที่ให้คนจนไปอยู่ใน Value Chain เพื่อให้คนจนได้มีรายได้สม่ำเสมอ ทำให้คนจนมีรายได้ 4 พันบาทต่อเดือน จังหวัดบุรีรัมย์ มีการทำรถพุ่มพวง นำสินค้าของคนจนไปต่อยอด มีการสร้างศูนย์กระจายสินค้าชุมชน เป็นต้น” ดร.กิตติยกตัวอย่าง
กสศ. ลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา
นางสาวธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์ ผู้อำนวยการ สำนักพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า กสศ.กับการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โจทย์สำคัญคือทำอย่างไรให้งบประมาณที่ได้รับน้อยนั้นไปสร้างการเปลี่ยนแปลง มุ่งเน้นที่เด็กและประชาชนที่ยากจน ครอบคลุมทุกช่วงวัย มีจำนวนประมาณ 4 ล้านคน จากสถานการณ์ปัญหาทั้งในและนอกระบบ กสศ. มีเป้าหมาย 4 ด้าน คือ การเข้าถึงการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์การเรียนรู้ การศึกษาทางเลือก และการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ
นางสาวธันว์ธิดา
สำหรับผลการดำเนินงาน มีการช่วยเหลือโดยตรงไปที่เด็กยากจนมีประมาณ 1.2 ล้านคน ทำให้มีฐานข้อมูลรายคนที่มีฐานะยากจน ซึ่งมีอายุระหว่าง 6-14 ปี สามารถชี้เป้าการทำงานในเชิงระบบได้ รวมถึงมีการทำงานกับทุกช่วงวัย ทั้งเยาวชน เด็กและเยาวชน ประชากรวัยแรงงาน โรงรียนและครู มีการทำการศึกษาทางเลือกในโครงการเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ มีแนวทางในการทำงานที่มุ่งเน้นการพัฒนาตัวแบบ (Model) ที่มีการระบุช่องว่างทางการศึกษาว่าขาดอะไร ทำการศึกษาระบบนิเวศน์ ใครที่เป็นจุดคานงัด และทำโมเดลการประกอบอาชีพ โดยมองการพัฒนาคนให้เชื่อมกับการเรียนรู้และเศรษฐกิจ ซึ่งอาจจะสามารถเชื่อมโยงกับ พอช. ได้ และไม่ได้มองงานแยกส่วน ดำเนินการใน 311 ตำบล ครอบคลุม 61 จังหวัด มุ่งการทำงานเชิง Movement มากกว่า Project เพื่อให้การทำงานเกิดพลัง เน้นคนยากจนด้านโอกาสจริงๆ
“เช่น แม่เลี้ยงเดี่ยว ตำบลแม่แดด และแม่วัยใส-แม่วัยรุ่น มีการเชื่อมโยงกับ รพ. กับ รร. มีการพัฒนาด้านการเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงการพัฒนาตัวแบบกลไกเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ มีการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย บูรณาการ ทำตัวแบบนวัตกรรม รวมถึงการร่วมมือกับเอกชน เช่น ราชบุรี มีแสนสิริ มาร่วมลงทุนกับจังหวัดราชุบรีจำนวน 3 ปี (ปีละ 100 ล้านบาท) ดังนั้น หากสามารถชี้เป้าข้อมูลให้เห็นพื้นที่/ข้อมูล ก็สามารถเชื่อมโยง ช่วยเหลือการทำงานกันได้” น.ส.ธันว์ธิดา จาก กสศ.ยกตัวอย่างการทำงาน
นพ.สุภกร
นพ.สุภกร บัวสาย ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการอิสระ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การให้ทุนของ กสศ. ร้อยละ 70 เป็นการช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น การกันไม่ให้เด็กที่จนหลุดจากระบบการศึกษา โดยให้ค่าใช้จ่ายวันละ 15 บาท/วัน/คน การให้ทุนเน้นไปที่สายวิชาชีพ/อาชีพ ดังนั้นทำอย่างไรให้การนำร่องเกิดการขยายผล ขับเคลื่อนไปได้ ในด้านเชิงคุณภาพถึงแม้เด็กจะไม่หลุดจากการศึกษา แต่คุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียนในแต่ละบริบทระหว่างโรงเรียนในเมืองกับชนบทจะมีความแตกต่างกัน ฉะนั้นคุณภาพการศึกษาถือเป็นประเด็นสำคัญ และ กสศ. ไม่ได้ระบุกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนเพียงอย่างเดียว ดังนั้นใครจะเป็นเจ้าของเรื่องให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าวเกิดการยกระดับการทำงานขึ้น\
พอช. สานพลังทุกภาคส่วนร่วมพัฒนาชุมชน
นางสาวจันทนา เบญจทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ พอช. กล่าวว่า พอช. เป็นหน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ มีภารกิจหน้าที่ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความมั่นคงของมนุษย์ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ในภารกิจ 4 ด้าน คือ 1.ส่งเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชนและเครือข่าย พัฒนาที่อยู่อาศัยชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน โดยยึดหลักการพัฒนาแบบองค์รวมและสมาชิกมีส่วนร่วม 2. ให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน สินเชื่อ 3. เชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรชุมชน 4.ประสานความร่วมมือพหุภาคี
โดย พอช. มีแนวทางสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้มีบทบาท วางแผนการพัฒนาเชิงพื้นที่ ทำงานทั้ง 77 จังหวัด และเน้นการพัฒนาให้ชุมชนท้องถิ่นดำเนินการตั้งแต่ชุมชน ตำบล จังหวัด ในประเด็นงานต่างๆ เช่น เศรษฐกิจและทุนชุมชน การจัดการที่ดิน สภาองค์กรชุมชนเป็นกลไกการขับเคลื่อนระดับตำบล จังหวัด กลุ่มจังหวัด และภาค ฯลฯ
นางสาวจันทนา
“ส่วนผลการดำเนินงาน เช่น ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท พอช.ทำไปแล้ว 245,814 ครัวเรือนทั่วประเทศ คือ โครงการบ้านมั่นคงเมืองและชนบท ชุมชนริมคลอง บ้านพอเพียง บ้านไฟไหม้ไล่รื้อ การจัดสวัสดิการชุมชน จำนวน 5,500 กองทุน การพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี การช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด” ผช.ผอ.พอช.ยกตัวอย่างผลการดำเนินงานนับตั้งแต่จัดตั้ง พอช.ในปี 2543 จนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้การทำงานของ พอช. จะเน้นกลไกชุมชนผ่านประเด็นงานต่างๆ มีการส่งเสริมการพัฒนาโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง และการสานพลังความร่วมมือกับภาคีพัฒนา ทั้งภาคเอกชน วิชาการ/สถาบันการศึกษา การส่งเสริมผู้นำ และการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยทิศทางในปี 2566 นี้ จะเน้นการบูรณาการแผนตำบล อำเภอ จังหวัด มีเป้าหมายในการจัดทำแผนการขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการ 22 จังหวัด ซึ่งจะมีการประสานความร่วมมือกับภาคีวิชาการเพื่อจัดทำแผนร่วมกับชุมชน เช่น จ.พิษณุโลก จ.ร้อยเอ็ด นำไปเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาจังหวัด เป็นต้น
นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการ พอช. กล่าวว่า จุดยืนของ พอช. เน้นการใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการสร้างความเข้มแข็ง เพื่อให้พื้นที่มีศักยภาพในการทำงาน ในปี 2566 เน้น 1 จังหวัด 1 แผนบูรณาการ ในการเชื่อมโยงการทำงานกับภาคีทุกภาคส่วน การสานพลังจุตพลัง ระดับตำบล ร้อยเรียงเชื่อมโยงมายังจังหวัด เพื่อให้หน่วยงานขับเคลื่อนงานต่อ โดยอาจจะดูพื้นที่ที่ทำงาน 20 จังหวัด แก้ไขปัญหาความยากจน นำมาบูรณาการการทำงานร่วมกับ พอช. ที่จะนำร่องใน 22 จังหวัดว่ามีพื้นที่ใดบ้างที่มีความซ้อนทับกัน
ทิศทางและจังหวะก้าวต่อไปเพื่อแก้ปัญหาความยากจนลดความเหลื่อมล้ำ
ผลจากการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมมีแนวทางสำคัญในการทำความร่วมมือระหว่าง กสศ. พอช. และ บพท. ดังนี้ 1.การขยายพื้นที่ความร่วมมือใน 22 จังหวัด (บูรณาการ 1 แผน 1 จังหวัด) และ 20 จังหวัด (แก้ไขปัญหาความยากจน) ทั้งในระดับอำเภอและจังหวัด และ กสศ. 2.การบูรณาการระบบข้อมูล (ความยากจน) พอช. กศส. และ บพท. โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความยากจน
3.การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากระหว่างขบวนองค์กรชุมชน เทคโนโลยีที่เหมาะสม กับภาคธุรกิจ ซึ่งมีภาคีดำเนินงานทั้งชุมชน ผู้ประกอบการในพื้นที่ และระดับนโยบาย 4.ชุดความรู้ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีพร้อมใช้ (Knowledge Stock) 5.ป่าชุมชนกับเศรษฐกิจชุมชนฐานราก จะมีแนวทางในการยกระดับให้ชาวบ้านที่อยู่กับป่า เช่น พัฒนาระบบสมุนไพร การเพาะชำต้นกล้า ฯลฯ 6.ความรู้ที่เกิดขึ้นต้องมีประมวลผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานว่าได้ความรู้เรื่องอะไรบ้าง การเก็บเกี่ยวความรู้ระหว่างทาง เกิดความรู้อะไรขึ้นบ้าง เป็นต้น
ทั้งนี้จะต้องมีกระบวนการออกแบบและกำหนดความร่วมมือดังกล่าวต่อไป เช่น การทำบันทึกข้อตกลงร่วม (MOU) ระหว่างหน่วยงาน ภายใต้การดำเนินงานใน 2 ลักษณะ คือ (1) Area Approach เช่น ครัวเรือน เศรษฐกิจ เทคโนโลยีที่เหมาะสม (2) งานต่อยอดที่จะดำเนินการร่วมกัน ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นการเสริมพลังระหว่างภาควิชาการ ภาคการศึกษา ภาคชุมชน ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยต่อไป
เรื่องและภาพ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
การประชุมหารือแนวทางความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงานที่ สอวช.
อาคารจัตุรัสจามจุรี กรุงเทพฯ / วันนี้ (9 ธันวาคม) มีประชุมหารือแนวทางการประสานความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ ระหว่างกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ที่สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) อาคารจัตุรัสจามจุรี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
การประชุมในวันนี้มีวัตุประสงค์เพื่อสร้างแนวทางและกลไกความร่วมมือระหว่างกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ โดยมีผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ร่วมประชุม เช่น ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท. ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการ พอช. นายกฤษดา สมประสงค์ ผอ.พอช. ดร.รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์ ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สภาการศึกษา สกศ. และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประมาณ 20 คน
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานบอร์ด พอช. (ซ้าย) และนพ.สุภกร บัวสาย ผู้ทรงคุณวุฒิ (ขวา)
ประธานบอร์ด พอช. ย้ำ พร้อมนำชุมชนร่วมพัฒนากับภาคี
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวว่า ตนมีความตั้งใจในการขับเคลื่องานของชุมชนอย่างกว้างขวางหลายมิติ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาจากฐานราก โดยที่ผ่านมาประเทศไทยมีการแก้ไขปัญหาจากบนลงล่างมานาน ขณะเดียวกันจะเห็นได้ว่า ยิ่งพัฒนาชนบทยิ่งมีความอ่อนแอ ซึ่งได้เห็นจากความสำเร็จของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ พอช. ที่มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง สามารถดูแลพี่น้องได้เป็นอย่างดี จึงต้องการขยายแนวคิดความเข้มแข็งของชุมชนจากข้างล่าง สอดคล้องกับแนวคิดของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งการขับเคลื่อนงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การเกษตร ป่าชุมชน ธนาคารต้นไม้ สวัสดิการชุมชน สถาบันการเงินนั้น ชุมชนสามารถขับเคลื่อนงานเองได้ แล้วจึงเชื่อมโยงทรัพยากรต่าง ๆ ที่หน่วยงานภาคีมีเพื่อนำมาเสริมพลังให้กับชุมชน เช่น กองทุนพลังงาน แพทย์ชนบท เป็นต้น
ดร.กอบศักดิ์
“การที่มาพบและหารือกับหน่วยงานภาคีในวันนี้ ทั้ง บพท. กสศ. และ พอช. ถือเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ ทั้งเรื่องการศึกษา มีความพร้อมในการดำเนินงานด้านดิจิทัลเทคโนโลยี รวมไปถึงหน่วยงานด้านส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ร้านค้าชุมชน เช่น สสว. และสมาพันธ์ SME และกองทุนศึกษาวิจัยชุมชน ที่ถือเป็นหัวใจ โดยให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ไปทำงานกับชุมชน นอกจากให้ความรู้แล้ว ยังเป็นแหล่งที่ให้นักศึกษา นักเรียนมาให้ความสนใจกับชุมชน สามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างมาก และทาง พอช. มีความพร้อมที่จะนำชุมชนมาทำงานร่วมกับหน่วยงานซึ่งทำให้การขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ไปได้” ดร.กอบศักดิ์กล่าว
สานพลังภาคีพัฒนาชุมชนฐานรากแก้ปัญหายากจน-ลดเหลื่อมล้ำ
ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าว่า หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) มีพันธกิจในการจัดสรรทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ การพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่นที่มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการรายใหม่ ธุรกิจขนาดจิ๋ว วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจสังคมในระดับพื้นที่
ดร.กิตติ
โดยมียุทธศาสตร์ 3 เรื่อง ประกอบด้วย (1) การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาคน และกลไกจากฐานทุนทรัพยากรพื้นถิ่นและทุนทางวัฒนธรรม มีพื้นที่ดำเนินการ 50 พื้นที่ และมีการดำเนินงานในเรื่องนวัตกรชาวบ้าน ให้ชาวบ้านมาเรียนรู้เรื่องนวัตกรรม (รับ-ปรับ-เปลี่ยน) ขยายผลได้ในชุมชน ผู้ประกอบการในพื้นที่ บนฐานทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก มีประมาณ 2 ล้านราย
(2) การพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ เป็นการเสริมสร้างกลไกการพัฒนาเมือง เมืองน่าอยู่และเมืองแห่งการเรียนรู้ พัฒนาข้อมูล Open data ของเมือง ร่วมมือกับสันนิบาตประเทศไทย มีกลไกการพัฒนา 20 เมือง ดำเนินการเข้มข้น 10 เมือง ขับเคลื่อนร่วมมือกับเทศบาล จำนวน 200 เทศบาล
(3) การขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ค้นหาและสอบทานคนจน 40% ล่างสุดใน 20 จังหวัดนำร่อง มีการทำระบบข้อมูลครัวเรือนยากจน ระบบส่งต่อความช่วยเหลือ พัฒนาโมเดลแก้จนระดับพื้นที่ เพิ่มทักษะการประกอบอาชีพให้กับคนจน มีการถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหาความยากจนจากประเทศจีน มีกลไก ศจพ.ระดับชาติ เสริมพลังด้วยการส่งต่อข้อมูลระดับส่วนกลางและพื้นที่ ทำเรื่องการค้นหาสอบทาน ทำข้อมูลให้เป็นของชุมชน มีการฝังตัวในมหาวิทยาลัย มีการคัดแยกคนจน พัฒนาไปสู่กลไกและแผนพัฒนาจังหวัด โดยข้อมูลเบสมาจาก TPMAP และมีการค้นหาโดยกลไกประชาคม ให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ร่วมดำเนินการทั้งชุมชน ราชภัฏ ท้องที่ท้องถิ่น มีการจัดเวทีระดับชุมชน ตำบล อำเภอ ทำให้เกิดการแก้ไขปัญหา
“เช่น จังหวัดมุกดาหาร ใช้ที่ดินสาธารณะในการบริหารจัดการแปลงรวม นำมาจัดสรรให้คนจน 90 ครัวเรือน ในการเข้าทำประโยชน์ จังหวัดพัทลุง มี ‘กระจูดแก้จน’ โดยมหาลัยทักษิณ ที่ให้คนจนไปอยู่ใน Value Chain เพื่อให้คนจนได้มีรายได้สม่ำเสมอ ทำให้คนจนมีรายได้ 4 พันบาทต่อเดือน จังหวัดบุรีรัมย์ มีการทำรถพุ่มพวง นำสินค้าของคนจนไปต่อยอด มีการสร้างศูนย์กระจายสินค้าชุมชน เป็นต้น” ดร.กิตติยกตัวอย่าง
กสศ. ลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา
นางสาวธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์ ผู้อำนวยการ สำนักพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า กสศ.กับการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โจทย์สำคัญคือทำอย่างไรให้งบประมาณที่ได้รับน้อยนั้นไปสร้างการเปลี่ยนแปลง มุ่งเน้นที่เด็กและประชาชนที่ยากจน ครอบคลุมทุกช่วงวัย มีจำนวนประมาณ 4 ล้านคน จากสถานการณ์ปัญหาทั้งในและนอกระบบ กสศ. มีเป้าหมาย 4 ด้าน คือ การเข้าถึงการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์การเรียนรู้ การศึกษาทางเลือก และการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ
นางสาวธันว์ธิดา
สำหรับผลการดำเนินงาน มีการช่วยเหลือโดยตรงไปที่เด็กยากจนมีประมาณ 1.2 ล้านคน ทำให้มีฐานข้อมูลรายคนที่มีฐานะยากจน ซึ่งมีอายุระหว่าง 6-14 ปี สามารถชี้เป้าการทำงานในเชิงระบบได้ รวมถึงมีการทำงานกับทุกช่วงวัย ทั้งเยาวชน เด็กและเยาวชน ประชากรวัยแรงงาน โรงรียนและครู มีการทำการศึกษาทางเลือกในโครงการเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ มีแนวทางในการทำงานที่มุ่งเน้นการพัฒนาตัวแบบ (Model) ที่มีการระบุช่องว่างทางการศึกษาว่าขาดอะไร ทำการศึกษาระบบนิเวศน์ ใครที่เป็นจุดคานงัด และทำโมเดลการประกอบอาชีพ โดยมองการพัฒนาคนให้เชื่อมกับการเรียนรู้และเศรษฐกิจ ซึ่งอาจจะสามารถเชื่อมโยงกับ พอช. ได้ และไม่ได้มองงานแยกส่วน ดำเนินการใน 311 ตำบล ครอบคลุม 61 จังหวัด มุ่งการทำงานเชิง Movement มากกว่า Project เพื่อให้การทำงานเกิดพลัง เน้นคนยากจนด้านโอกาสจริงๆ
“เช่น แม่เลี้ยงเดี่ยว ตำบลแม่แดด และแม่วัยใส-แม่วัยรุ่น มีการเชื่อมโยงกับ รพ. กับ รร. มีการพัฒนาด้านการเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงการพัฒนาตัวแบบกลไกเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ มีการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย บูรณาการ ทำตัวแบบนวัตกรรม รวมถึงการร่วมมือกับเอกชน เช่น ราชบุรี มีแสนสิริ มาร่วมลงทุนกับจังหวัดราชุบรีจำนวน 3 ปี (ปีละ 100 ล้านบาท) ดังนั้น หากสามารถชี้เป้าข้อมูลให้เห็นพื้นที่/ข้อมูล ก็สามารถเชื่อมโยง ช่วยเหลือการทำงานกันได้” น.ส.ธันว์ธิดา จาก กสศ.ยกตัวอย่างการทำงาน
นพ.สุภกร
นพ.สุภกร บัวสาย ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการอิสระ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การให้ทุนของ กสศ. ร้อยละ 70 เป็นการช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น การกันไม่ให้เด็กที่จนหลุดจากระบบการศึกษา โดยให้ค่าใช้จ่ายวันละ 15 บาท/วัน/คน การให้ทุนเน้นไปที่สายวิชาชีพ/อาชีพ ดังนั้นทำอย่างไรให้การนำร่องเกิดการขยายผล ขับเคลื่อนไปได้ ในด้านเชิงคุณภาพถึงแม้เด็กจะไม่หลุดจากการศึกษา แต่คุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียนในแต่ละบริบทระหว่างโรงเรียนในเมืองกับชนบทจะมีความแตกต่างกัน ฉะนั้นคุณภาพการศึกษาถือเป็นประเด็นสำคัญ และ กสศ. ไม่ได้ระบุกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนเพียงอย่างเดียว ดังนั้นใครจะเป็นเจ้าของเรื่องให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าวเกิดการยกระดับการทำงานขึ้น\
พอช. สานพลังทุกภาคส่วนร่วมพัฒนาชุมชน
นางสาวจันทนา เบญจทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ พอช. กล่าวว่า พอช. เป็นหน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ มีภารกิจหน้าที่ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความมั่นคงของมนุษย์ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ในภารกิจ 4 ด้าน คือ 1.ส่งเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชนและเครือข่าย พัฒนาที่อยู่อาศัยชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน โดยยึดหลักการพัฒนาแบบองค์รวมและสมาชิกมีส่วนร่วม 2. ให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน สินเชื่อ 3. เชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรชุมชน 4.ประสานความร่วมมือพหุภาคี
โดย พอช. มีแนวทางสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้มีบทบาท วางแผนการพัฒนาเชิงพื้นที่ ทำงานทั้ง 77 จังหวัด และเน้นการพัฒนาให้ชุมชนท้องถิ่นดำเนินการตั้งแต่ชุมชน ตำบล จังหวัด ในประเด็นงานต่างๆ เช่น เศรษฐกิจและทุนชุมชน การจัดการที่ดิน สภาองค์กรชุมชนเป็นกลไกการขับเคลื่อนระดับตำบล จังหวัด กลุ่มจังหวัด และภาค ฯลฯ
นางสาวจันทนา
“ส่วนผลการดำเนินงาน เช่น ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท พอช.ทำไปแล้ว 245,814 ครัวเรือนทั่วประเทศ คือ โครงการบ้านมั่นคงเมืองและชนบท ชุมชนริมคลอง บ้านพอเพียง บ้านไฟไหม้ไล่รื้อ การจัดสวัสดิการชุมชน จำนวน 5,500 กองทุน การพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี การช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด” ผช.ผอ.พอช.ยกตัวอย่างผลการดำเนินงานนับตั้งแต่จัดตั้ง พอช.ในปี 2543 จนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้การทำงานของ พอช. จะเน้นกลไกชุมชนผ่านประเด็นงานต่างๆ มีการส่งเสริมการพัฒนาโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง และการสานพลังความร่วมมือกับภาคีพัฒนา ทั้งภาคเอกชน วิชาการ/สถาบันการศึกษา การส่งเสริมผู้นำ และการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยทิศทางในปี 2566 นี้ จะเน้นการบูรณาการแผนตำบล อำเภอ จังหวัด มีเป้าหมายในการจัดทำแผนการขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการ 22 จังหวัด ซึ่งจะมีการประสานความร่วมมือกับภาคีวิชาการเพื่อจัดทำแผนร่วมกับชุมชน เช่น จ.พิษณุโลก จ.ร้อยเอ็ด นำไปเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาจังหวัด เป็นต้น
นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการ พอช. กล่าวว่า จุดยืนของ พอช. เน้นการใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการสร้างความเข้มแข็ง เพื่อให้พื้นที่มีศักยภาพในการทำงาน ในปี 2566 เน้น 1 จังหวัด 1 แผนบูรณาการ ในการเชื่อมโยงการทำงานกับภาคีทุกภาคส่วน การสานพลังจุตพลัง ระดับตำบล ร้อยเรียงเชื่อมโยงมายังจังหวัด เพื่อให้หน่วยงานขับเคลื่อนงานต่อ โดยอาจจะดูพื้นที่ที่ทำงาน 20 จังหวัด แก้ไขปัญหาความยากจน นำมาบูรณาการการทำงานร่วมกับ พอช. ที่จะนำร่องใน 22 จังหวัดว่ามีพื้นที่ใดบ้างที่มีความซ้อนทับกัน
ทิศทางและจังหวะก้าวต่อไปเพื่อแก้ปัญหาความยากจนลดความเหลื่อมล้ำ
ผลจากการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมมีแนวทางสำคัญในการทำความร่วมมือระหว่าง กสศ. พอช. และ บพท. ดังนี้ 1.การขยายพื้นที่ความร่วมมือใน 22 จังหวัด (บูรณาการ 1 แผน 1 จังหวัด) และ 20 จังหวัด (แก้ไขปัญหาความยากจน) ทั้งในระดับอำเภอและจังหวัด และ กสศ. 2.การบูรณาการระบบข้อมูล (ความยากจน) พอช. กศส. และ บพท. โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความยากจน
3.การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากระหว่างขบวนองค์กรชุมชน เทคโนโลยีที่เหมาะสม กับภาคธุรกิจ ซึ่งมีภาคีดำเนินงานทั้งชุมชน ผู้ประกอบการในพื้นที่ และระดับนโยบาย 4.ชุดความรู้ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีพร้อมใช้ (Knowledge Stock) 5.ป่าชุมชนกับเศรษฐกิจชุมชนฐานราก จะมีแนวทางในการยกระดับให้ชาวบ้านที่อยู่กับป่า เช่น พัฒนาระบบสมุนไพร การเพาะชำต้นกล้า ฯลฯ 6.ความรู้ที่เกิดขึ้นต้องมีประมวลผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานว่าได้ความรู้เรื่องอะไรบ้าง การเก็บเกี่ยวความรู้ระหว่างทาง เกิดความรู้อะไรขึ้นบ้าง เป็นต้น
ทั้งนี้จะต้องมีกระบวนการออกแบบและกำหนดความร่วมมือดังกล่าวต่อไป เช่น การทำบันทึกข้อตกลงร่วม (MOU) ระหว่างหน่วยงาน ภายใต้การดำเนินงานใน 2 ลักษณะ คือ (1) Area Approach เช่น ครัวเรือน เศรษฐกิจ เทคโนโลยีที่เหมาะสม (2) งานต่อยอดที่จะดำเนินการร่วมกัน ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นการเสริมพลังระหว่างภาควิชาการ ภาคการศึกษา ภาคชุมชน ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยต่อไป
เรื่องและภาพ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประกาศผล 8 กองทุน เข้ารับรางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนดีเด่น ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประจำปี พ.ศ. 2567
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหารชน) หรือ พอช. ร่วมกับ คณะทำงานพิจารณารางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนประจำปี 2567 จัดเวทีพิจารณา รางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชน
ชุมชนทั่วประเทศ ระดมข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้รัฐ ในการประชุม ‘ระดับชาติสภาองค์กรชุมชนตำบล’ ครั้งที่ 16 ปี 2567 เชื่อมั่น “พลังชุมชน พลังประชาชน สามารถเปลี่ยนแปลงประเทศได้”
การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลครั้งที่ 16’ ปี 2567 ผู้แทนสภาองค์กรชุมชน ทั่วประเทศ ระดมข้อเสนอเชิงนโยบายให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
“16 ปี สภาองค์กรชุมชนตำบล” “พัฒนาประชาธิปไตยฐานราก สร้างพลังชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง”
‘สภาองค์กรชุมชนตำบล’ จัดตั้งขึ้นมาตาม ‘พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551’ ปัจจุบันเป็นระยะเวลา 16 ปี มีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนในระดับตำบล เทศบาล และเขต
โค้งสุดท้าย 26 กองทุนฯทั่วไทย ลุ้นรางวัลกองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่น ‘ป๋วย อึ๊งภากรณ์’
กรุงทพฯ/(16 ธ.ค. 67) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหารชน) หรือ พอช. ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย คณะทำงานพิจารณารางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนประจำปี 2567
พอช. หนุน “ศูนย์กระจายสินค้าชุมชน” โมเดลสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ที่กาญจนบุรี
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ร่วมกับ เครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี จัดพิธีเปิดศูนย์กระจายสินค้าชุมชนตำบลหนองตากยา
รัฐบาลชวน 'ครู-นร.' ลงทะเบียน 'ซิมพร้อมเรียน' ใช้เน็ตฟรี
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ร่วมมือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)