เวที Policy Forum ‘ถอดบทเรียนโครงการแก้จน ทางออกการแก้หนี้แก้จนไทย’
ธนาคารแห่งประเทศไทย / วันนี้ (7 ธันวาคม 2565) ที่อาคารศูนย์การเรียนรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย บางขุนพรหม กรุงเทพฯ มีการจัดเวที Policy Forum ‘ถอดบทเรียนโครงการแก้จน ทางออกการแก้หนี้แก้จนไทย’
งาน Policy Forum ‘ทางออกการแก้หนี้แก้จนไทย’ เป็นเวทีระดมข้อมูลจากงานวิจัยและประสบการณ์จริงของผู้เชี่ยวชาญหลากหลายวงการกว่า 30 คน โดยความร่วมมือของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS)
โดยวิทยากรประกอบด้วย นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. , นายพงศ์นคร โภชากรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวในประเด็น “การแก้จนด้วยนวัตกรรมข้อมูล” , นายอำพล อาภาธนากร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ประเด็น “การแก้จนด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม” และนายบัญญัติ คำบุญเหลือ บริษัทสฤก ประเด็น “ยกระดับวิสาหกิจชุมชน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ฯลฯ
นายกฤษดา สมประสงค์ ผอ.พอช.
นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ กล่าวในประเด็น "เสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง สานพลังภาคีแก้จน” มีใจความสำคัญว่า พอช. เป็นองค์กรที่สนับสนุนการดำเนินงานของขบวนองค์กรชุมชนและประชาสังคมในการสร้างความเข้มแข็ง ควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของพี่น้องประชาชน โดยมีความเชื่อว่า “ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง คือทางรอดประเทศไทย”
โดยจะเห็นว่า โครงสร้างของประเทศไทยในการบริหารการพัฒนาแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ โครงสร้างส่วนบน ทำหน้าที่พัฒนาในการสร้างรายได้ของประเทศเพื่อให้เกิดการนำรายได้ไปสู่การแก้ไขปัญหาของพี่น้องประชาชน และโครงสร้างส่วนล่าง คือชุมชนท้องถิ่น ซึ่งทั้งสองไม่สามารถแยกออกจากกันได้ด้วยบริบทพื้นที่ วิถีความเป็นอยู่ และมิติต่าง ๆ ของประเทศไทย
“วิสัยทัศน์ปี 2579 ของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ตั้งเป้า ‘ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งเต็มพื้นที่ประเทศไทย’ จากรูปธรรมของชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง ไม่ว่าจะผ่านทั้งวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ การอพยพย้ายถิ่นฐาน และปัจจุบันที่ยังต้องเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 ชุมชนท้องถิ่นที่รอดสามารถที่จะรองรับวิกฤติต่างๆ ได้ ด้วยสิ่งที่ชุมชนท้องถิ่นเดินไปหาและลุกขึ้นมาจัดการตนเอง และเกิดการแก้ไขในพื้นที่ของตนเอง โดยมีระบบงบประมาณของภาครัฐช่วยเติมในบางส่วน เช่น การทำครัวกลาง การจัดหาหน้ากากอนามัย การดูแลผู้คนเปราะบางในชุมชนตนเอง” ผอ.พอช.ยกตัวอย่างการพึ่งพาตัวเองของชุมชนท้องถิ่นโดยมีรัฐหนุนเสริม
ผังการขับเคลื่อนของขบวนองค์กรชุมชนในการแก้ไขปัญหาความยากจน
ผอ.พอช. กล่าวต่อไปว่า ปัญหาที่เกิดจากสุขภาพ และภัยพิบัติต่าง ๆ ตรงนี้จะเป็นตัวกระตุ้นอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาความยากจน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ควรหลอมรวมการแก้ปัญหาทุกภาคส่วนร่วมกันอย่างจริงจัง โดย พอช. เชื่อมั่นว่าสภาองค์กรชุมชนใช้เป็นพื้นที่กลางในการสร้างการอยู่ร่วมกัน และยังมีตัวอย่างอีกหลายพื้นที่ที่ชุมชนเข้มแข็งลุกขึ้นมาจัดการตนเอง เช่น ‘พังงาเมืองแห่งความสุข’, ‘รักจังสตูล’ , ‘อำนาจเจริญ เมืองธรรมะเกษตร’ ฯลฯ
“สิ่งที่ท้าทาย คือ การสร้างความเข้มแข็งให้พื้นที่ และสร้าง Empowerment โดยชุมชน ทั้งระบบคิด ระบบวิชาการ เติมเต็มให้กลไกเกิดการขับเคลื่อน โดยชุมชนท้องถิ่นและภาคี รวมทั้งการให้ความสำคัญกับรัฐบาลที่ใส่ทรัพยากรไปเป็นฐาน และขอเชิญชวนให้ทุกภาคส่วนพร้อมร่วมใจบูรณาการการแก้ไขปัญหาความยากจนและของประเทศ โดย พอช.ยินดีเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องนี้” ผอ.พอช.กล่าวย้ำ
อย่างไรก็ตาม นอกจากการนำเสนอของ ผอ.พอช.แล้ว ยังมีความคิดเห็นจากวิทยากรคนอื่นๆ เช่น การให้ความสำคัญกับข้อมูลผู้มีรายได้น้อย การชี้เป้าครัวเรือนในระดับพื้นที่ครัวเรือน ตำบล และจังหวัด โดยเน้นให้เกิดการบูรณาการร่วมทุกหน่วยงาน การปรับระบบวิธีความคิดของคนในชุมชน เน้นสร้างนวัตกรรมชุมชน การมองแนวขวาง การมองแนวดิ่ง รวมทั้งเน้นการพัฒนาจากฐานล่างสู่ฐานบน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับชุมชน สังคม และประเทศ
นอกจากนี้ยังมีการเสวนาเรื่องภูมิทัศน์แก้หนี้แก้จน, ปัญหาความยากจนและหนี้ครัวเรือน และกรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความเข้าใจสถานการณ์ และค้นหาทางออกความเป็นไปได้ รวมถึงความต้องการของประชาชนเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนและปัญหาหนี้สินครัวเรือนไทย เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในทุกระดับ
ผอ.พอช.ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอส
รายงานโดย พิชยาภรณ์ หาญวณิชานนท์ เจ้าหน้าที่บริหารงานข้อมูลอาวุโส สำนักผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน
UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' บี้ถอดบทเรียนบัสมรณะ เร่งสร้างจิตสำนึกคนขับ-เข้มใช้กม.
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' ชี้รายงานWHO ไทยครองอันดับ 1 อาเซียน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และอันดับ 9 ของโลก สาเหตุหลักคนขับรถประมาท แนะรัฐบาลถอดบทเรียนโศกนาฏกรรมบัสมรณะ
รวมพลังคนจนแก้ปัญหาที่ดิน-ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2567
ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้คนทั่วโลก UN-Habitat หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’
‘21 ปีบ้านมั่นคง’ พอช. แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนทั่วประเทศ กว่า 3 แสนครัวเรือน
รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยแก่คนจนในเมืองที่ ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด
เสียงจากคลองเปรมประชากร…บ้านหลังใหม่ชีวิตใหม่ “คืนสายน้ำให้คนคลอง คืนสายคลองให้คนเมือง”
คลองเปรมประชากร มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คลองนี้ได้ประสบปัญหามากมาย
บอร์ด พอช. มีมติ พักชำระหนี้องค์กรผู้ใช้สินเชื่อในพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ
สถานการณ์การเกิดอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุยางิ ในระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2567 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 7 อำเภอ