กระแสการตื่นตัวที่สังคมพูดถึงมากเป็นอันดับต้นๆ คือปัญหาด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
เพราะทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและธรรมชาติ เทรนด์การอยู่อาศัยในยุคนี้จึงต้องให้ความสำคัญกับความยั่งยืนในระยะยาวกันมากขึ้น เน้นรักษ์สิ่งแวดล้อมประหยัดพลังงานและดีต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย ทำให้ตลาดอสังหาฯ ในยุคนี้ ต้องมีการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ประกอบกับองค์กรภาคเอกชน ต้องมีเป้าหมายพัฒนาธุรกิจตอบโจทย์เรื่องความ "ยั่งยืน" (Sustainability) โดยเฉพาะการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ซึ่งเป็นก้าวที่สำคัญ ที่ทุกฝ่ายต่างมุ่งไปสู่การแก้ปัญหากับการที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โดยหนึ่งในประเด็นที่สำคัญ การที่ไทยที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนการดำรงชีวิตสูงขึ้น ดังนั้นหากทุกคนสามารถผลิตพลังงานใช้เองได้ นับเป็นหนทางการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ในยุคปัจจุบันและอนาคต โดยการใช้แหล่งพลังงานจากธรรมชาติ ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประเทศ
บริษัท เสนาดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA ในฐานะ Developer รายแรกที่ทำหมู่บ้านโซลาร์เต็มรูปแบบ ได้นำปัญหาและมองถึงวิธีแก้ปัญหามาต่อยอดธุรกิจ ด้วยการผลักดันโมเดล นวัตกรรมบ้านพลังงานเป็นศูนย์ หรือ ZEH (Zero Energy Housing) บ้านที่จะมาตอบโจทย์และลดข้อจำกัดของลูกค้าในเรื่องของค่าไฟฟ้าที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งกระทบต่อรายได้ และความเป็นอยู่โดยเฉพาะผู้ใช้ไฟบ้านท่ามกลางค่าครองชีพที่เป็นขาขึ้น และขับเคลื่อนเป้าหมายของไทยในการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ปี ค.ศ.2050 และ Net Zero Emission ปี ค.ศ.2065
"โมเดล ZEH นั้น คือ การใช้ไฟในชีวิตประจำวันในรอบ 1 ปีเข้าใกล้ศูนย์หรือน้อยกว่าศูนย์ หรือพูดง่ายๆ ว่าใช้ไฟทั้งปีโดยไม่ต้องจ่ายค่าไฟเลย นี่คือหลักคิดสำคัญซึ่งนับเป็นโจทย์ที่ยากเพื่อไปสู่จุดมุ่งหมาย Net Zero Housing แต่ความตั้งใจของเราคือต้องเริ่มทำกันตั้งแต่วันนี้แม้ว่าตัวช่วยอื่นๆ อาจจะยังไม่มีก็ตาม เพราะเราเห็นถึงความเป็นไปได้ และเราต้องทำให้มันเป็นวิทยาศาสตร์มากที่สุด" ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์" กรรมการผู้จัดการเสนา กล่าว
สำหรับโมเดล ZEH เป็นนวัตกรรมของประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัท ฮันคิว ฮันชิน พร๊อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป ซึ่งเป็นพันธมิตรกันมายาวนานนับ 7 ปี จะมีส่วนสำคัญในการตอบโจทย์เป้าหมายในอนาคตของเสนาฯ ที่มุ่งดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนขององค์กรและโลกที่ยังคงสภาพเดิม ดังนั้นหลักคิด ZEH ที่นำมาปรับใช้จะต้องมีการออกแบบบ้านให้ระบายความร้อนได้ดี ใช้ไฟฟ้าอย่างอัจฉริยะ ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น ระบบสมาร์ทโฮม หรือระบบเซ็นเชอร์มาใช้ รวมไปถึงการผลิตไฟฟ้าจะต้องมาจากพลังงานสะอาด ทั้งหมดของหลักคิดเมื่อบวกรวมเข้าด้วยกันแล้ว เท่ากับว่าเจ้าของบ้านไม่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเลย ทั้งนี้ยังต้องขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละบ้านเป็นอย่างไร
การพัฒนาที่อยู่อาศัยด้วย ZEH จึงแบ่งออกเป็น 4 เกณฑ์ ตามตัวเลขลดการใช้พลังงาน บวกรวมกับการใช้พลังงานสะอาดคือ 1. ZEH Oriented มีเป้าหมายลดการใช้พลังงานได้ไม่ต่ำกว่า 20% 2. ZEH Ready มีเป้าหมายลดการใช้พลังงานได้ไม่ต่ำกว่า 50% 3. Nearly ZEH มีเป้าหมายลดการใช้พลังงานได้ไม่ต่ำกว่า 75% และ 4. ZEH มีเป้าหมายลดการใช้พลังงานได้ไม่ต่ำกว่า 100% ซึ่งจะเห็นว่าการลดใช้พลังงานเป็นแบบขั้นบันได จึงสะท้อนว่าการดำเนินการไม่ได้การันตีในครั้งแรกจะลดเป็นศูนย์ได้ทันที ยังคงต้องใช้เวลา และขึ้นอยู่กับจำนวนของการพัฒนาด้วย
อย่างไรก็ตามโจทย์สุดหินของที่อยู่อาศัยแบบ ZEH นั่นคือ "ต้นทุนเพิ่มขึ้น" ราว 30-50%
เมื่อเปรียบเทียบกับบ้านราคาปกติ ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า ราคาที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่างๆ อยู่ในช่วงขาขึ้นอีกด้วย จึงต้องมีตัวช่วยอื่นๆ อย่างเช่นการสนับสนุนจากภาครัฐ รวมไปจนถึงการสนับสนุนจากสถาบันการเงิน เพราะทุกภาคธุรกิจในขณะนี้ต่างพร้อมใจมุ่งไปสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงยังได้ประโยชน์จากการซื้อขายคาร์บอนเครดิตอีกด้วย โดยสถาบันการเงินควรพิจารณาปล่อยกู้เงินบนเงื่อนไขที่ว่า สินค้าต่างๆ ต้องรักษ์โลกด้วย และให้อัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อให้ผู้ซื้อมีงบประมาณในการซื้อที่ต่ำลง
อย่างไรก็ตามเสนาฯ ยังคงเป็นผู้พัฒนาบ้านและคอมโดมิเนียมเป็นหลัก และการจะทำให้ธุรกิจอยู่ในโลกของความยั่งยืนได้นั้น คือการพัฒนาสินค้าให้อยู่ภายใต้ความยั่งยืนด้วย เสนาฯ กำลังชี้ให้เห็นถึงการปักธงครั้งสำคัญที่ทำให้การพัฒนาในเชิงธุรกิจเดินหน้าไปพร้อมกันกับการรักษาสิ่งแวดล้อม พลิกที่อยู่อาศัยให้เป็นมากกว่าที่อยู่อาศัย
ส่วนเจ้าของแนวคิดที่อยู่อาศัยแบบ ZEH ที่มีประสบการณ์การพัฒนามาแล้ว อย่าง นายโทดะ มาซาฮิโกะ ผู้อำนวยการฝ่ายบ้านจัดสรรต่างประเทศ บริษัท ฮันคิวฯ เองได้ฉายภาพในระดับนโยบายของประเทศและก้าวต่อจากนี้ของ ฮันคิวฯ ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเรื่องการรักษ์โลกอย่างมาก โดยวางเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 46% ภายในปี ค.ศ. 2030 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 50% ให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์ของโลกที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมาเป็นอันดับต้นๆ
นอกจากนี้ บริษัท ฮันคิวฯ ยังวางเป้าหมายในการเป็นผู้นำเพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน และสอดคล้องไปกับนโยบายของบริษัทแม่ เพื่อลดการใช้พลังงานในครัวเรือน สร้างรูปแบบพลังงานแบบใหม่ อีกทั้งเพิ่มเติมการใช้พลังงานทดแทน ในอาคารที่บริษัท ฮันคิวฯ ถือครอง อีกทั้งในขณะนี้ยังได้จัดหาพื้นที่เพื่อทำ Carbon Neutral ในพื้นที่ตัวอย่างภายในปี ค.ศ. 2030 และคาดว่าจะขยายพื้นที่ครอบคลุมทั่วประเทศให้ได้แบบโดมิโน่
นางสาว ยูคาโกะ มาสึโอะ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายธุรกิจบ้านจัดสรร อธิบายเพิ่มเติมว่า ญี่ปุ่นให้เงินสนับสนุน สำหรับบ้านที่ผ่านเกณฑ์บ้านพลังงานเป็นศูนย์แบ่งเป็น บ้านเดี่ยวอยู่ที่ 5.5 แสนเยน และ 4 แสนเยนต่ออาคาร ขณะที่แบบแมนชั่นสูง จะได้รับเงินสนับสนุนอยู่ที่ 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 2 ของค่าใช้จ่าย และยังรวมถึงสิทธิประโยชน์ด้านอื่นๆ เช่น โอกาสในการเข้าถึงเพื่อขอกู้ซื้อบ้าน อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่จะต้องทำคือ การสร้างความเข้าใจในโมเดล ZEH ไปสู่ลูกค้า เนื่องจากการสร้างบ้านในรูปแบบดังกล่าวจะมีราคาสูงกว่าปกติ
ปี 2566 นี้ เสนาพร้อมลุยเต็มสูบในการพัฒนาบ้าน Zero Energy Housing ที่ใช้กับบ้านทุกหลังทุกโครงการรวมไปถึงใช้หลักการดังกล่าวพัฒนาคอนโดมิเนียมโครงการใหม่ที่จะเปิดตัวในอนาคต โดยจะนำโมเดลดังกล่าวนำร่อง โครงการแกรนด์โฮม บางนา กม.29 และคอนโดมิเนียม แบรนด์นิช (Niche) ย่านบางโพ ซึ่งเป็นโครงการใหม่ พร้อมเริ่มก่อสร้างในปี 2566 ด้วยเช่นกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย จับมือ TOA เดินหน้าพิชิต Net Zero มุ่งใช้นวัตกรรมสีรักษ์โลกลดก๊าซเรือนกระจก (GHG) ยกระดับที่อยู่อาศัย เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
“เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย” ผู้นำการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน จับมือพันธมิตร “TOA” ผู้นำเบอร์หนึ่งในตลาดสีทาอาคาร เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง
GPSC แข็งแกร่งรับการสนับสนุนเงินกู้ระยะยาว จาก 3 แบงค์รัฐ-เอกชน มูลค่า 7 พัน ลบ. รุกพลังงานสะอาด ตอบโจทย์ Net Zero รองรับแผนพัฒนาพลังงานชาติ
GPSC ลงนามในสัญญาเงินกู้กับธนาคารทีเอ็มบีธนชาต ธนาคารเกียรตินาคินภัทร และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย วงเงินรวม 7,000 ลบ. มุ่งธุรกิจพัฒนาพลังงานหมุนเวียนทั้งในประเทศและต่างประเทศ สร้างเสถียรภาพความมั่นคงด้านพลังงาน สอดรับกลยุทธ์องค์กรจากบทบาทในการ Decarbonization ให้กับกลุ่ม ปตท. เดินหน้ามุ่งสู่แผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ผนึก Green Partners มั่นใจใช้สี TOA การันตีด้วยฉลากลดโลกร้อน สร้างบ้านรักษ์โลก
บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ LALIN โดย คุณชูรัชฏ์ ชาครกุล กรรมการผู้จัดการ และ บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)