IRPC ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ วิจัยพัฒนา “หมอนพักพิง” ลดอาการกรดไหลย้อน

IRPC - คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมวิจัยพัฒนาและออกแบบหมอน ลดอาการกรดไหลย้อน โดยใช้วัสดุของ IRPC ที่ทำมาจาก Memory Foam (PU) มีความหนาแน่นสูง คืนตัวได้ง่าย ป้องกันไรฝุ่น พร้อมจำหน่ายแล้ว 21 พ.ย. นี้ ที่ร้าน ฬ.จุฬา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

ศูนย์นวัตกรรมไออาร์พีซี บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช ภาควิชาอายุรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญโรคทางเดินอาหาร พัฒนาออกแบบ “หมอนพักพิง (PAKPING)” หมอนเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน โดยการปรับองศาทำให้บริเวณศีรษะสูงกว่าบริเวณกระเพาะอาหาร เพื่อป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน และช่วยให้คุณภาพการนอนดีขึ้น คลายอาการปวดหลังและคอ สำหรับวัสดุผลิตจาก Memory Foam โพลียูรีเทน (Polyurethane: PU) ของ IRPC ที่มีความหนาแน่นสูง นุ่มและยืดหยุ่น สามารถคืนตัวได้ง่าย รองรับสรีระของผู้ใช้ รวมถึงสามารถป้องกันไรฝุ่น และลดการสะสมของแบคทีเรียและเชื้อรา เริ่มวางจำหน่ายวันที่ 21 พ.ย. 2565 ที่ร้าน ฬ.จุฬา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

ทั้งนี้ IRPC และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ยังมีความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่องานทางการแพทย์ให้เป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมวัสดุที่เกิดประโยชน์ต่อสังคมและเชิงพาณิชย์ ในอีกหลายโครงการ

นอกจากนี้ IRPC ได้ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัว “ศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์และการประกอบการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Chula Medical Innovation and Entrepreneurship Center: CMICe (ซี-ไมซ์)” โดยมี คุณพรหมพร สิ้นโศรก ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ตลาดธุรกิจปิโตรเคมี IRPC ร่วมงานเสวนาหัวข้อ “Academic Transformation; From Research to Entrepreneurship”

ภายในงานมีกิจกรรมแสดงผลงานและเปิดให้จับจองผลิตภัณฑ์นวัตกรรมทางการแพทย์ Medical Innovation for Society Booth โดยทีมนวัตกรรมเพื่อสังคมแห่งอนาคต ณ โถงอาคารรัตนวิทยาพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

IRPC คว้ารางวัล Asia Responsible Enterprise Awards 2024 และ รางวัล ESG Champion of Asia - Gold Emblem of Sustainability

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 นางสาวชนิดา สัณหกร ผู้จัดการอาวุโส และ นางสาวชลียา ชัยวัฒนา เจ้าหน้าที่อาวุโส บริหารชื่อเสียงองค์กรและกิจการสัมพันธ์ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)

IRPC ได้รับการจัดอันดับจาก TRIS Rating ระดับ “A-”

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2567 ทริสเรทติ้ง (TRIS) ได้แจ้งผลเป็นทางการสำหรับการจัดอันดับเครดิตเรทติ้งของ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) โดยมีอันดับเครดิตองค์กร ที่ระดับ

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน

IRPC จับมือ ม.แม่ฟ้าหลวง ร่วมวิจัยพัฒนาวัสดุทางการแพทย์

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2567 นายอนุชา สมจิตรชอบ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์นวัตกรรมไออาร์พีซี บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และ ศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา วงศ์เกษมจิตต์

จุฬาฯ ผงาดเจ้าภาพครั้งแรกของเวทีระดับโลก ‘Hult Prize 2024 Global Summits Bangkok’

การแข่งขันระดับโลกในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโค้งสุดท้ายในระดับนานาชาติ Bangkok” ระหว่างวันที่ 21 – 23 มิถุนายน 2567