องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกย้ำ เร่งยุติมฤตยูเชื้อดื้อยา จากฟาร์มอุตสาหรรม “สัปดาห์รู้รักษ์ตระหนักใช้ยาต้านจุลชีพ” ปี พ.ศ. 2565

จากการทำงานขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย พบว่ากว่า 5 ปีที่ผ่านมา ตรวจพบเชื้อดื้อยาจำนวน 19 ชนิด ในเนื้อสัตว์และแหล่งน้ำรอบฟาร์มอุตสาหกรรมใน 9 ประเทศ 4 ทวีป รวมทั้งประเทศไทย วิกฤติเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ หรือซุปเปอร์บั๊กส์ (Superbugs) นี้ได้สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงไม่ต่างจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19  โดยเฉพาะประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตประมาณปีละ 38,000 คน หรือทุกๆ 15 นาที ถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐและเอกชนจะต้องมีนโยบายห้ามใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคแบบรวมกลุ่มในสัตว์ฟาร์ม รวมถึงยกระดับมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ฟาร์มที่คำนึงถึงหลักสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อยุติภัยจากวิกฤติเชื้อดื้อยานี้ รวมทั้งสิทธิของผู้บริโภคที่สามารถรู้แหล่งที่มาของอาหารว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะหรือไม่ และการผลิตอาหารนั้นเกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง 

รายงานวิจัยล่าสุด ระบุมีผู้เสียชีวิตจากซุปเปอร์บั๊กส์ทั่วโลกปีละกว่า 1.27 ล้านคน และคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อซุปเปอร์บั๊กส์ทั่วโลกสูงถึงปีละ 10 ล้านคนในปี พ.ศ. 2593 คน และคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตจากซุปเปอร์บั๊กส์ทั่วโลกสูงถึงปีละ 10 ล้านคนในปีพ.ศ.2593  ถึงแม้ว่าองค์การอนามัยโลกได้เสนอแนะว่ายาปฏิชีวนะไม่ควรถูกใช้เพื่อป้องกันโรคแบบรวมกลุ่มในสัตว์ฟาร์ม แต่อย่างไรก็ตามวิธีการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มอย่างโหดร้ายทำให้ยาปฏิชีวนะถูกนำมาใช้มากถึง 75% ทั่วโลก

ในประเทศไทยผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่หยุดแค่เพียงสัตว์ในฟาร์มอุตสาหกรรม แต่ยังกระทบต่อชาวบ้านที่อาศัยใกล้แหล่งฟาร์มอุตสาหกรรมนี้อีกด้วย โดยคำบอกเล่าจากเกษตรกรรายหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี ได้กล่าวถึงผลกระทบว่า “ข้าวในไร่ไม่ค่อยได้ผลผลิต เพราะในน้ำมีพวกน้ำยาสารเคมีหรือขี้หมูเยอะ เมื่อปล่อยน้ำที่มีสารปนเปื้อนลงมาในนา ข้าวได้รับความเสียหายหรือไม่ก็ตาย เพราะมีสารพิษในระบบนิเวศ ปลาก็แทบอยู่ไม่ได้เพราะน้้ำมีค่าความเค็มสูง เคยร้องเรียนไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น”

สหภาพยุโรปได้มีการประกาศให้การใช้การยาปฎิชีวนะเพื่อป้องกันโรคแบบรวมกลุ่มเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย โดยเริ่มมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ซึ่งถือเป็นกฎหมายสำคัญและประเทศอื่น สมควรปฏิบัติตามด้วยเช่นเดียวกัน องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกจึงได้ออกมาเรียกร้องให้ภาครัฐมีนโยบายห้ามใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคแบบรวมกลุ่มในสัตว์ฟาร์ม ตลอดจนให้ฟาร์มในระบบอุตสาหกรรมได้พัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ตามมาตรฐานขั้นต่ำของการเลี้ยงสัตว์ฟาร์ม (FARMS) ที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก

สำหรับแนวทางแก้ไขวิกฤตเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในภาคปศุสัตว์ของประเทศไทย นายโชคดี สมิทธิ์กิตติผล ผู้จัดการแคมเปญสัตว์ฟาร์ม องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก กล่าวว่า 

“แม้ว่าในประเทศไทยจะมีการจัดตั้งแผนยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคปศุสัตว์ แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่การพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มอุตสาหกรรมกลับยังไม่ถูกให้ความสำคัญเท่าที่ควร เราเชื่อว่าการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มยังมีความจำเป็น โดยเฉพาะการใช้เพื่อรักษาสัตว์ที่ป่วยแบบรายตัว แต่สิ่งที่ควรให้ความสำคัญที่สุดคือการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคแบบรวมกลุ่ม ซึ่งมีต้นตอจากสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มที่ย่ำแย่”

ในขณะที่ ผศ.ภญ.ดร. นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวว่า

“ปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะเกินจำเป็นในคนและสัตว์ ต้องได้รับความสนใจอย่างจริงจัง ที่ผ่านมาพบว่าในคนมีการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคหรืออาการที่ไม่จำเป็น เช่น หวัดจากไวรัส และเราพบว่ายังมีการใช้ยาปฏิชีวนะในภาคปศุสัตว์ ประมง รวมถึงการเกษตร คำถามที่สำคัญคือทำไมคนไทย รวมถึงเกษตรกรถึงสามารถเข้าถึงและสามารถซื้อยาปฏิชีวนะได้อย่างง่ายดาย ยาปฏิชีวนะได้ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันโรค ดังนั้นระบบในการติดตามเส้นทางของยาปฏิชีวนะจึงมีความสำคัญ ตั้งแต่ต้นน้ำ การนำเข้า การกระจาย การใช้ และ การปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม และผู้บริโภคเองก็มีสิทธิที่จะรู้ถึงที่มาของอาหารว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะหรือไม่อย่างไร และการผลิตอาหารนั้นเกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง” 

โดยระหว่างวันที่ 18-24 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 จัดเป็น “สัปดาห์รู้รักษ์ตระหนักใช้ยาต้านจุลชีพ” ซึ่งมีคำขวัญว่า “ร่วมกันป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ หน้าที่ของทุกคน” องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย จึงขอเชิญชวนลงชื่อเพื่อร่วมผลักดันให้ภาครัฐและเอกชนมีนโยบายห้ามใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคแบบรวมกลุ่มในสัตว์ฟาร์มรวมถึงยกระดับมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ฟาร์มที่คำนึงถึงหลักสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อยุติภัยจากวิกฤติเชื้อดื้อยาได้ที่ https://www.worldanimalprotection.or.th/AMR-Environmental-Impact

หมายเหตุเพิ่มเติม

เส้นทางการตรวจสอบการปนเปื้อนของซุปเปอร์บั๊กส์จากฟาร์มอุตสาหกรรมเรียงลำดับตามปี พ.ศ. ที่ค้นพบ ดังนี้

2561 – บราซิล ไทย สเปน (ในเนื้อสัตว์)

2563 – สหรัฐอเมริกา (ในเนื้อสัตว์)

2564 – ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย เคนย่า (ในเนื้อสัตว์)

2564 – บราซิล ไทย สเปน สหรัฐอเมริกา แคนนาดา – แหล่งน้ำใกล้ฟาร์ม

2565 - สหราชอาณาจักร (ในเนื้อสัตว์)

2565 – งานสืบสวนยังดำเนินอยู่ที่ออสเตรเลีย อินเดีย สหราชอาณาจักร เดนมาร์ค เคนย่า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค

การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬา เดินหน้าภารกิจเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา

ศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN FAO)

12 สิงหา วันช้างโลก รณรงค์หยุดดูโชว์ช้าง

ในโอกาสวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นวันช้างโลก องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก World Animal Protection  องค์กรที่ยืนหยัดเคียงข้าง ปกป้องชีวิตและสวัสดิภาพของสัตว์อย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการส่งเสริมสวัสดิภาพช้างอย่างเป็นรูปธรรม ได้จัดทำมิวสิควิดีโอเพลง “ไปให้สุดหยุดดูโชว์ช้าง”

องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องเพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ และห้ามใช้ยาปฏิชีวนะ ในแผนต้านจุลชีพแห่งชาติ

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคเข้าสู่แผนปฏิบัติการด้านการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ฉบับที่ 2

ส่องนโยบายพรรคการเมือง แก้ปัญหาช้าง

การเลือกตั้ง’66 เป็นเรื่องสำคัญของคนไทย เวทีดีเบตนโยบายสัตว์ๆ กับ 6 พรรคการเมืองไทย จัดโดยองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก มีการประชันวิสัยทัศน์ นโยบายจากตัวแทนพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคก้าวไกล พรรคพลังประชารัฐ