สสส. สานพลัง สธ. สช. และ สปสช. ขับเคลื่อนระบบสุขภาพไทย จัดการอบรมระดับนานาชาติ เรื่อง “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาวะ : ประสบการณ์จากประเทศไทย”

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข สำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และแผนงานความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก Enhancing Leadership in Global Health Thailand (CCS-EnLIGHT) จัดการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการระดับนานาชาติ “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาวะ : ประสบการณ์จากประเทศไทย” (International Workshop on “Health and Well-being in All Policies: Thailand Experience”)

โดยในวันที่ 22 พ.ย. 2565 ผู้แทน สสส. นำโดย ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. ได้นำเสนอเรื่องการผลักดันนโยบายสุขภาวะผ่านงานสร้างเสริมสุขภาพ และได้ต้อนรับคณะผู้เข้าประชุมที่เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานภายใน อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. โดยผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 22 คน จาก 9 ประเทศ ได้แก่ ภูฏาน บังกลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย และ ติมอร์-เลสเต โดยเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอาจารย์มหาวิทยาลัย ตลอดจนผู้แทนองค์การภาคประชาสังคม

ดร.สุปรีดา กล่าวว่า งานนี้จัดขึ้นเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ของไทยให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา อื่นๆ ในด้านระบบสุขภาพที่เข้มแข็ง การสร้างเสริมสุขภาพ ระบบหลักประกันสุขภาพ และการพัฒนานโยบายของทุกภาคส่วนที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีของประชาชน และหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายของผู้เข้าร่วมอบรมเพื่อสร้างความร่วมมือระดับสากลต่อไป

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนสุขภาวะผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเป็นแนวทางที่ สสส. เน้นย้ำมาโดยตลอด โดยเฉพาะการใช้ยุทธศาสตร์ไตรพลังเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพในประเด็นที่สำคัญ อาทิ การควบคุมยาสูบ การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารเพื่อสุขภาพ การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ความปลอดภัยบนท้องถนน เพื่อนำไปสู่สังคมสุขภาวะอย่างยั่งยืน

ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สสส. กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้จัดในรูปแบบ Healthy Active Meeting ตามแนวทางที่ สสส. ส่งเสริม คือ เป็นการประชุมที่ปลอดแอลกอฮอล์และยาสูบ จัดอาหารเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ กระตุ้นการมีกิจกรรมทางกาย ส่งเสริมสุขภาพจิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคไม่ติดต่อและเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับองค์ความรู้ไปปรับใช้และเผยแพร่ในการจัดประชุมในประเทศตนต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รำลึก 3 ปี 'หมอกระต่าย' ยื่น 3 ข้อเสนอ ลดอุบัติเหตุ'...ทางม้าลายปลอดภัย-บังคับใช้กฎหมายความเร็ว 50 กม./ชม.ในเขตเมือง/ชุมชน-ลดค่าใช้จ่ายของเหยื่อในกระบวนการยุติธรรม ชูลดความเร็ว เพิ่มความปลอดภัย

วันที่ 21 ม.ค. 2568 ที่ โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ คณะอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านยานพาหนะเกี่ยวกับการป้องกันและลดอุบัติเหตุ เพื่อสร้างความปลอดภัยทางถนน รัฐสภา

สสส. สานพลัง มูลนิธิปลูกต้นไม้ ปลูกธรรมะ ผนึกกำลัง 17 หน่วยงาน ชวนทำบุญวิถีใหม่ เวียนเทียนต้นไม้ ลดฝุ่น PM2.5 งดจุดธูป-เทียน ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตลอดปี 68

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 16 ม.ค. 2568 ที่ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มูลนิธิปลูกต้นไม้ ปลูกธรรมะ และภาคีเครือข่าย 17 หน่วยงาน     ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการทำบุญวิถีใหม่ เวียนเทียนด้วยต้นไม้ ลดฝุ่น ส่งเสริมการทำบุญวิถีใหม่ที่บูรณาการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดฝุ่น PM2.5

ชาวเชียงใหม่อุ่นใจ สสส.-มช. เดินหน้าโครงการ "Chiang Mai Greentopia" ช่วยลดสารเคมีตกค้างในเลือดได้สูง ภายใน 2 ปี ลดเหลือ 66% จาก 90%

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 13 ม.ค. 2568 ที่สวนผักฮักร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ตัวแทนเกษตรกร ภาคีเครือข่าย และสื่อมวลชน ติดตามการดำเนินงานโครงการ Chiang Mai Greentopia : ต้นแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหาร

พลังแห่งการเล่น..พาเด็กก้าวข้ามวิกฤต ไทยเปิดตัว"สมาคมการเล่นนานาชาติ"

การเล่นเพื่อเปลี่ยนโลก!! เชื่อว่าผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ มีปุจฉา และต้องการวิสัชนาว่า ทำไม?!? เรื่องเล่นๆ ถึงจะมาเปลี่ยนโลกได้ และท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ

สสส. สานพลัง พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)-Mappa-กสศ.-กทม. จัดเทศกาล 'Relearn Festival 2025' ชูแนวคิด 'Intergeneration ลดช่องว่างระหว่างวัย สร้างความเข้าใจระหว่างกัน' วันที่ 11 ม.ค.-9 ก.พ.68 นี้

เปิดพื้นที่ชวนครอบครัวเปลี่ยนมุมมอง-สร้างทักษะการเลี้ยงดูเด็กยุคใหม่ ลดช่องว่างระหว่างวัยของเด็ก-ผู้ใหญ่ หลังพบเด็ก 25.6% ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ความรุนแรงในครอบครัวพุ่งสูงขึ้น 2 เท่า ในรอบ 7 ปี