ร้อง “พล.อ.ประยุทธ์” ผ่าทางตัน โครงการ Solar Farm (VSPP) 2565

โครงการ Solar Farm (VSPP) 2565 ส่อเค้าอึมครึม ปัญหาสร้างเงื่อนไขเพียบ ผู้เข้าร่วมเสนอโครงการผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์บนดิน กว่า 30 บริษัท หวั่นเอื้อประโยชน์กลุ่มทุนใหญ่ ร้องเรียนสมาคมลดโลกร้อน ขอให้ช่วยส่งสัญญาณไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ช่วยผ่าทางตัน

ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ นายกสมาคมลดโลกร้อน เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาคมฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากกลุ่มบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ Solar Farm (VSPP) 2565 (ขนาดไม่เกิน 8MW.) จำนวนกว่า 30 บริษัท ซึ่งกำลังได้รับผลกระทบจากการทำงานที่ไม่ชัดเจน ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และการไฟฟ้า จากกรณีประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) ปี 2565-2573 สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นที่ดิน พ.ศ.2565 ซึ่งมีการวางหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการและการให้คะแนนคัดเลือกที่ซับซ้อน จนดูเหมือนกับว่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

โดยผู้ร้องเรียนตั้งข้อสังเกตว่า หลังจากที่ กกพ.ออกประกาศหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการฯ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 โดยระบุว่าการไฟฟ้าจะออกประกาศให้ผู้ขอผลิตไฟฟ้ายื่นคำขอตรวจสอบจุดเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า ภายในวันที่ 3 ตุลาคม 2565 จากนั้นในวันที่ 14 ตุลาคม 2565 การไฟฟ้าจะออกประกาศกำหนดรายละเอียด ขั้นตอนสถานที่ ระยะเวลา รวมทั้งเงื่อนไขอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับซื้อไฟฟ้า และการไฟฟ้าจะแจ้งผลการตรวจสอบจุดเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าให้ผู้ยื่นคำขอทราบ ภายในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565

แต่เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 กกพ.ก็ได้ออกประกาศใหม่ โดยเลื่อนกำหนดเวลาแจ้งผลการตรวจสอบจุดเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า Feeder จากประกาศเดิม (วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565) เป็นวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 แต่ กกพ.ไม่ได้ประกาศเลื่อนกำหนดวันส่งโครงการจากเดิม วันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ออกไปด้วย ทำให้ระยะเวลารวบรวมเอกสารที่จะจัดส่งโครงการ หดสั้นลงไปเหลือเพียง 4 วัน ทั้งที่ตามแผนเดิมแล้ว กกพ.ให้เวลาในช่วงนี้ 14 วัน และจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการประกาศชัดเจนว่า จะเลื่อนช่วงเวลาดังกล่าวนี้ด้วยหรือไม่ มีแต่ข่าววงในที่บอกว่าจะ กพพ.จะไม่เลื่อนการส่งโครงการ (VSPP) จาก 25 พฤศจิกายน 2565 แต่จะมีการเลื่อนการส่งโครงการ (SPP) (ผลิตไฟฟ้าเกิน 8MW.) ออกไปอีก

นอกจากนี้ มีข้อน่าสังเกตุว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการหลายบริษัทที่ขอตรวจสอบจุดเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า ยังไม่ได้รับจดหมายแจ้งผลการเช็คจุดเชื่อมโยงฉบับจริงจากการไฟฟ้า ทั้งๆ ที่ กำหนดการส่งโครงการให้ กกพ.พิจารณา กำหนดไว้ว่า จะต้องยื่นคำขอผลิตไฟฟ้าพร้อมเอกสานหลักฐานต่างๆ ภายในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 โดยจะต้องใช้จดหมายตัวจริงจากการไฟฟ้าแนบไปกับการขอทำโครงการด้วย

ปัญหาประการต่อมาก็คือ ระเบียบและกำหนดการการพิจารณาหรือการให้คะแนนของ กกพ. มีเงื่อนไขหลายอย่างซึ่งอาจเป็นการส่อว่า จะกีดกันผู้ประกอบขนาดเล็ก และขนาดกลาง เช่น กำหนดว่าผู้ประกอบการจะต้องมีความพร้อมด้านที่ดินกรรมสิทธิ หรือต้องซื้อที่ดินไว้แล้วสำหรับยื่นขอผลิตไฟฟ้า โดยจะได้คะแนนสูงสุด ทำให้เกิดข้อกังขาว่า ถ้าผู้ประกอบการรายเล็กที่ลงทุนซื้อที่ดินไปแล้ว แต่ไม่ได้รับการคัดเลือกให้ทำโครงการ เพราะ กพพ.ไม่พิจารณาเห็นชอบ ผู้ที่ซื้อที่ดินไปแล้วก็จะเสียหายได้ เพราะไม่รู้ว่าจะเอาที่ดินไปทำอะไรต่อ ดังนั้นกฎเกณฑ์เรื่องที่ดิน ถ้าเพียงแต่ให้มีสัญญาจะซื้อจะขายก็น่าจะเพียงพอแล้ว หรือมีสัญญาว่าจะเช่าที่ดิน 26 ปี ก็น่าจะใช้ได้แล้วเช่นกัน โดยไม่จำเป็นต้องซื้อที่ดินไว้ก่อนการยื่นเสนอโครงการ เพราะอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ประกอบการได้

อีกทั้ง การกำหนดให้ผู้ยื่นขอทำโครงการผลิตไฟฟ้า ต้องใช้เงินประกันซอง จำนวน 1 ล้านบาท/ 1MW. โดยจะต้องยื่นประกันซองเป็นแคชเชียร์เช็ค หรือเงินสดเท่านั้น ถือเป็นข้อกำหนดที่ไปสร้างข้อจำกัด หรือสร้างปัญหาให้กับผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง มากเกินไป เพราะโดยปกติแล้วตามหลักสากลทั่วไป การวางเงินประกันชอง สามารถใช้ Bank Guarantee จากธนาคารมาค้ำประกันซองได้

“ด้วยเหตุนี้ สมาคมลดโลกร้อน จึงขอเรียกร้องไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้ช่วยผ่าทางตัน เพื่อทำให้โครงการจัดหาไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ครั้งนี้ มีความโปร่งใสมากขึ้น โดยไม่ไปสร้างข้อจำกัด หรือกีดกันผู้ประกอบการขนาดเล็ก และขนาดกลาง อย่างที่กล่าวมาแล้ว เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเหล่านั้น สามารถต่อสู้หรือแข่งขันกับเครือข่ายกลุ่มทุนรายใหญ่ได้อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม”

ศ.ดร. สุนทร กล่าวอีกว่า ทางออกที่เหมาะสม คือ 1. กกพ. ควรประกาศเลื่อนกำหนดวันที่ผู้ประกอบการต้องยื่นข้อเสนอโครงการขนาดเล็ก (VSPP) ออกไป โดยให้ยื่นข้อเสนอพร้อมกับโครงการขนาดใหญ่ (SPP) ซึ่งขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะให้ยื่นในวันไหน 2. การกำหนดความพร้อมเรื่องที่ดิน ควรเป็นหลักสากลใช้สัญญาจะซื้อจะขาย หรือเช่า 26 ปี จากเจ้าของที่ดิน เนื่องจากโครงการในลักษณะนี้ไม่จำเป็นต้องซื้อที่ดินก็ได้ เพราะถ้าไม่ได้โครงการ แต่ผู้ประกอบการที่ซื้อที่ดินไว้ก่อนแล้ว ก็จะเสียหาย ไม่รู้ว่าจะเอาที่ดินไปทำอะไร

3. การกำหนดหลักประกันซอง ควรเป็นหลักสากล เช่น ใช้แค่ Bank Guarantee เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องใช้แคชเชียร์เช็ค หรือเงินสด 1 ล้าน/1MW. (ส่วนใหญ่จะยื่นผลิตไฟฟ้าขนาด 6-8 MW.) กรณี VSPP และ 4. มีการประกาศรับซื้อ Solar Farm 5 ปี ระหว่างปี 2565-2573 จำนวนประมาณ 2,368 MW. แต่ไม่มีการประกาศว่าจะแบ่งการรับซื้อไฟฟ้าเป็นโครงการขนาดใหญ่ (SPP) จำนวนเท่าไหร่ และโครงการขนาดเล็ก (VSPP) เท่าไหร่ ซึ่งจากความไม่ชัดเจนในประเด็นนี้ อาจทำให้ กพพ.สามารถปรับเปลี่ยนกรอบการรับซื้อให้เอื้อประโยชน์กลุ่มทุนกลุ่มใดก็ได้

ทั้งนี้ การกำหนดรับซื้อไฟฟ้าประเภทพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน ในรูปแบบสัญญา Non-Firm จากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) หรือผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) อายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 25 ปี ตามประกาศ กกพ.ระบุว่า ปี 2567 ปริมาณกำลังไฟฟ้า 190 MW. ปี 2568 ปริมาณกำลังไฟฟ้า 290 MW. ปี 2569 ปริมาณกำลังไฟฟ้า 258 MW. ปี 2570 ปริมาณกำลังไฟฟ้า 440 MW. ปี 2571 ปริมาณกำลังไฟฟ้า 490 MW. ปี 2572 ปริมาณกำลังไฟฟ้า 310 MW. ปี 2573 ปริมาณกำลังไฟฟ้า 390 MW. รวมทั้งสิ้น 2,368 MW.

แต่ปรากฏว่า ประกาศฉบับนี้ ให้อำนาจ กกพ. และการไฟฟ้า สามารถปรับปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าในแต่ละปีได้ตามความเหมาะสม โดย กกพ.ยังไม่ประกาศให้ชัดเจนว่า จะปรับการรับซื้อในแต่ละปี อย่างไรหรือเท่าไหร่ ซึ่งความเป็นจริงแล้ว กกพ.ควรจะประกาศตัวเลขรับซื้อไฟฟ้าให้ชัดเจนด้วย เพื่อให้ภาคเอกชนที่ยื่นเสนอทำโครงการฯ สามารถนำข้อมูลต่างๆ ไปคำนวนความเสี่ยง เพื่อป้องกันการเสียหายจากทุกฝ่าย

“ขณะนี้ มีข่าวแพร่สะพัดว่า กกพ. อาจจะประกาศเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้าทั้งหมด 2,368 MW. ในปี 2567 ซึ่ง จากความไม่ชัดเจนเช่นนี้ หลายฝ่ายมองว่าอาจจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้กลุ่มทุน กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดได้รับประโยชน์จากข้อมูลวงใน เพื่อใช้ในการวางแผนลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าในครั้งนี้ สมาคมฯจึงขอเรียกร้องให้ กกพ.ทบทวนความเหมาะสมตามข้อเสนอของสมาคมฯ โดยด่วนที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดข้อครหาว่ามีนายทุนกลุ่มใดอยู่เบื้องหลังโครงการนี้ เพราะนอกจากจะกระทบกับภาพลักษณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานแล้ว ท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลที่ใสสะอาด อาจได้รับความเสียหายไปด้วยเช่นกัน” นายกสมาคมลดโลกร้อน กล่าวในที่สุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิพัฒน์" ส่ง สปส. จับมือการยางแห่งประเทศไทย ดูแลชาวสวนยาง กว่า 1.5 ล้านคน ให้สิทธิประโยชน์ ม. 40 สร้างคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลา 15.30 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในการเปิดโครงการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมความเชื่อมั่นประกันสังคมมาตรา 40 รุ่นที่ 2 พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง กระทรวงแรงงาน

'วราวุธ' นั่งหัวโต๊ะ เวิร์คช็อป พม. 14 จว.ภาคเหนือ ป้องกลุ่มเปราะบาง - เตรียมรับมือภัยพิบัติในอนาคต มีผู้แทนธนาคารโลกเข้าร่วม

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติในพื้นที่ภาคเหนือ 14 จังหวัด

'วราวุธ' รมว.พม. เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุลำปาง เหตุมีสัดส่วน ประชากรสูงวัย สูงสุดในประเทศ แนะกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ลดพึ่งพารัฐ เชิญชวนอุดหนุนผลิตภัณฑ์วัยเก๋า

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ลงพื้นที่จังหวัดลำปาง เยี่ยมศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดลำปาง เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญของกระทรวง พม. โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

‘อารี’ มอบวุฒิบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรม หลักสูตรนวดศีรษะ และการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน สร้างรายได้

นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้รับมอบหมายจากนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้เยี่ยมชมการฝึกอบรมและมอบวุฒิบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการนวดศีรษะ และหลักสูตรการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน

30 โรงงานของ CPF รับรางวัล CSR-DIW Continuous Award จากกรอ. เดินหน้าร่วมรับผิดชอบสังคมและชุมชน

จากความมุ่งมั่นในการสร้างความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ จึงส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรในทุกระดับของทุกกลุ่มธุรกิจ มีส่วนร่วมสร้างประโยชน์ในทุกมิติแก่สังคมและชุมชนที่สถานประกอบการของบริษัทฯตั้งอยู่ เพราะถือว่าซีพีเอฟคือหนึ่งในสมาชิกของชุมชน

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้าจัดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ต่อเนื่องปีที่ 3 ภายใต้แนวคิด “สื่อ เตือน สติ”

วันที่ 13 ธค. 2567  ท่านพระครูวินัยธรจีรเดช จิรเตโช ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม (ประธานพิธีฝ่ายสงฆ์) กล่าวสัมโมทนียกถา นางยุถิกา อิศรางกูร