e-Payment 15 แห่ง ตัวช่วยด่วนเพื่อนายจ้าง บริการชำระเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทันใจ

สำนักงานประกันสังคมพัฒนาช่องทางการให้บริการหลากหลายรูปแบบ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่สถานประกอบการและนายจ้างได้ใช้ประโยชน์จากการทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์และเพิ่มทางเลือกในการบริหารจัดการธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเพิ่มช่องทางการบริการชำระเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) เป็นหนึ่งในการพัฒนาช่องทางชำระเงินสมทบ เพื่อให้นายจ้างทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็วทันใจ

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ระบุว่า สำนักงานประกันสังคม ได้อำนวยความสะดวกให้แก่สถานประกอบการและนายจ้างได้นำส่งข้อมูลเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) โดยจากเดิมนายจ้างจะต้องชำระเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แต่ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมได้ขยายเวลาให้สถานประกอบการและนายจ้างสามารถนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ออกไปอีก 7 วันทำการ นับจากวันที่พ้นกำหนดวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบ ซึ่งการขยายเวลานี้ได้ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่มกราคม 2565 และมีผลไปจนถึงเดือนธันวาคม 2566 ซึ่งช่องทางการชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมมาตรา 33 ได้ทั้งหมด 3 ช่องทาง คือ 1.ชำระที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา 2.ชำระผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และ 3.ชำระผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ทั้ง 15 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น ธนาคาร มิซูโฮ จำกัด สาขากรุงเทพฯ ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น.เอ. ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารดอยซ์ แบงก์ ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส และบริษัทเคาน์เตอร์เซอร์วิส ทุกสาขา

เลขาธิการ สปส. กล่าวต่อไปว่า ระบบ e-Payment เป็นบริการรับชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคม จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้นายจ้างสะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทาง ลดขั้นตอน ลดเวลาการยื่นเอกสาร ถือเป็นระบบที่มาช่วยสนับสนุนการทำธุรกรรมของสถานประกอบการและนายจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างรวดเร็วและทำให้ธุรกิจเกิดความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นด้วย

สำหรับขั้นตอนการนำส่งข้อมูลเงินสมทบและชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) นายจ้างต้องเข้าเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th เลือกหัวข้อ สถานประกอบการ และเลือก ส่งข้อมูลเงินสมทบ จากนั้น Login เข้าสู่ระบบและนำส่งข้อมูลเงินสมทบในระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม โดยเลือกหัวข้อชำระเงินผ่านระบบ e-Payment และเลือกธนาคาร/หน่วยบริการ เพื่อเข้าสู่ระบบให้บริการชำระเงินของธนาคาร/หน่วยบริการ เมื่อชำระเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถพิมพ์และดาวน์โหลดใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์จากระบบ e-Receipt ได้ด้วยตนเอง ที่เว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง Line: @ssothai และดูข้อมูลการใช้งาน e-Payment ได้ทางเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th

#Website: www.sso.go.th
#Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
#Instagram: sso_1506
#Twitter: @sso_1506
#YouTube: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
#Hotline: 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
#LINE: @SSOTHAI
#TikTok: @SSONEWS1506

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน

ประกันสังคมเผย เปิดรับสิทธิโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ปี 2567 วันแรก 1 พ.ย. 2567 ผู้ประกันตนให้ความสนใจเกือบเต็มโควตา ยื่นขอรับสิทธิกว่า 9,000 ล้านบาท

โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน พ.ศ. 2567 นี้ จะช่วยให้ผู้ประกันตนมีสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อที่อยู่อาศัย ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย หรือซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างที่อยู่อาศัยได้อัตราดอกเบี้ยต่ำ เพียงร้อยละ 1.59 ต่อปี

'พิพัฒน์' รมว.แรงงาน ห่วงทายาทพนักงานกวาดถนนเทศบาลนครอ้อมน้อย ประสบเหตุถูกรถกระบะชนเสียชีวิต 2 ราย มอบประกันสังคม จ่ายเงินทดแทนกรณีตายในงาน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยและแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมมอบหมายให้ นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เร่งดำเนินการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ

สปส. ย้ำขอความร่วมมือ นายจ้าง “แจ้งเข้า-แจ้งออก” ให้ลูกจ้างตามเวลาที่กฎหมายกำหนด ผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม

นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

“บุญสงค์”ปลัดแรงงาน เข้ารับตำแหน่งวันแรก แถลงมุ่งผลักดันนโยบาย ปี 68 สร้างความเชื่อมั่น ยอมรับ ไว้วางใจ สนับสนุนความเป็นธรรมแก่คนทำงานทุกภาคส่วน

วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 น. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวแถลงนโยบายกระทรวงแรงงานและแนวทางการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต่อสื่อมวลชน ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า กระทรวงแรงงาน

เช็กสิทธิกรณีว่างงาน กรณีไหนบ้างได้รับเงินทดแทน หากผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เป็นลูกจ้างที่ได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง 7 กรณี โดยเฉพาะในกรณีผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา สำนักงานประกันสังคมจะยังคงคุ้มครองผู้ประกันตนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่อเนื่องเป็นเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงาน