ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) พร้อม น.ส.ทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผอ.กลุ่มอุทยานวิทยาศาสตร์ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัด อว. ลงพื้นที่เยี่ยมชมผลการดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่หมู่บ้านแสงวิมาน อ. ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เพื่อศึกษาเรียนรู้ความสำเร็จของกลุ่มเกษตรกรผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า NST-009 ประกอบด้วย กลุ่มส้มโอทับทิมสยาม กลุ่มทุเรียนหมอนทอง กลุ่มนาข้าว และกลุ่มไร่พริก (P7.1-64) ของบริษัทวลัยไบโอคอนโทรล จำกัด ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพภายใต้โปรแกรมบ่มเพาะวิสาหกิจในมหาวิทยาลัย (UBI-64 และ P5-65) ซึ่งขออนุญาตใช้สิทธิในการผลิตและจำหน่ายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า NST-009
เมื่อมาถึง รศ.ดร.วาริน อินทนา นักวิจัยด้านโรคพืช ม.วลัยลักษณ์ (มวล.) ได้นำเสนอผลงานการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า NST-009 ว่า ปัญหาของเกษตรกรคือขาดความยั่งยืนและความมั่นคง ตนจึงได้สร้างนวัตกรรมเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า NST-009 เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและการทำลายจากแมลงได้ถึง 31 โรค และมีความปลอดภัยเพราะไม่มีส่วนผสมของสารเคมี โดยถ่ายทอดให้เกษตรกรที่หมู่บ้านแสงวิมาน อ. ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นแหล่งปลูกส้มโอ พันธุ์ทับทิมสยาม ของ อ.ปากพนัง ซึ่งเดิมได้รับผลกระทบจากโรคพืชในส้มโอ ทำให้ต้นส้มโอยืนตายและผลไม่ได้มาตรฐาน พร้อมกับเข้าไปสร้างศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช ได้แก่ เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า NST-009 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ค้นพบโดย มวล. จนสามารถทำให้ปัจจุบันสวนส้มโอทับทิมสยามแสงวิมานได้ผลผลิตจากเดิม 1,500-2,000 ลูก/ไร่/ปี เพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ลูก/ไร่/ปี ที่สำคัญลดค่าใช้จ่ายการใช้สารเคมี ได้ 30,000 บาท/ไร่/ปี และมียอดขายเพิ่มขึ้นจากเดิมอยู่ที่ 1.47 ล้านบาท/ปี เป็น 2.94 ล้านบาท/ปี หรือเติบโตเพิ่มขึ้น 100% จากพื้นที่เพาะปลูกขนาด 14 ไร่
รศ.ดร.วาริน กล่าวต่อว่า ต่อมาได้จดทะเบียนบริษัทเพื่อรับอนุญาตใช้สิทธิจาก มวล. เป็นผู้จำหน่ายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า NST-009 อย่างเป็นทางการ โดยใช้ชื่อว่า บริษัท วลัยไบโอคอนโทรล จำกัด มีสำนักงานตั้งอยู่ในพื้นที่ห้องบ่มเพาะผู้ประกอบการ โซน บี อาคารอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มวล. โดยปัจจุบันมียอดขายอยู่ที่ 6.1 ล้านบาท/ปี และขณะนี้มีลูกค้าจาก 5 ประเทศ เช่น อินเดีย เวียดนาม เป็นต้น ให้ความสนใจเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า NST-009
ด้านนายอิมรอน แสงวิมาน เจ้าของสวนส้มโอทับทิมสยามแสงวิมาน กล่าวว่า โชคดีที่ได้เจอนักวิจัยของอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ มวล. ที่มาช่วยพลิกชีวิต จากที่เคยประสบปัญหาจากแมลงศัตรูพืช ปกติส้มโอจะใช้เวลาในการออกผลผลิตระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า NST-009 ช่วยได้และไม่มีสารเคมีเจือปนในผลผลิตเลย
จากนั้น ดร.ดนุช กล่าวว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ และ อว. มีหน้าที่เอาองค์ความรู้จากนักวิจัยไปแก้ปัญหาให้เกษตรกร เพื่อทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และผลงานที่ทำกับสวนส้มโอแห่งนี้ก็ชัดเจนว่า งานวิจัยไม่เพียงแต่จะแก้ปัญหาแต่ยังเพิ่มรายได้และลดการใช้สารเคมีตามนโยบายเศรษฐกิจบีซีจีของ อว. ตนขอชื่นชมอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ว่าเป็นโซ่ข้อกลางในการประสานนักวิจัยให้เชื่อมโยงกับผู้ประกอบการและประชาชนอย่างแท้จริง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ศุภมาส” นั่งหัวโต๊ะประชุม ก.พ.อ. เตรียมชง ครม. เยียวยาข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัยหลังข้าราชการครูปรับเงินเดือนขึ้น พร้อมปรับเงินเดือนชดเชยให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยที่บรรจุก่อน 1 พ.ค. 2567 และก่อน 1 พ.ค. 2568
เมื่อวันที่ 30 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ
เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”
เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล
กระทรวง อว.ลุยยกระดับผลการประเมิน PISA เด็กไทยปี 68
เมื่อวันที่ 25 ก.ย. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการประชุมและมอบนโยบายในการส่งเสริมสมรรถนะและความฉลาดรู้ของผู้เรียนตามแนวทางการประเมินระดับนานาชาติ (PISA) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานตามแนวทางและดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับผลการประเมิน PISA จัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวง อว.โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล
“ศุภมาส” หนุน สกสว. ขับเคลื่อนการใช้ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ในงาน “TRIUP FAIR 2024” ดึงภาครัฐ-เอกชน ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างเศรษฐกิจให้ประเทศไทยอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2567 หรือ TRIUP FAIR 2024 ภายใต้แนวคิด “Impact Journey to Ignite Thailand :
“ศุภมาส” สั่งการ “สุชาดา” นำทีมผู้บริหาร อว. ลงพื้นที่ลุยช่วยสุโขทัย เตรียมรับมือมวลน้ำเหนือก้อนใหญ่จาก จ.แพร่
เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มอบหมายให้