SOOK Caravan..เล่านิทานสัญจร สอนเด็กรู้จักสุขภาวะกายและสังคม

ศูนย์กิจการสร้างสุข สสส. จัดกิจกรรม “SOOK  Caravan” เล่านิทานสัญจรครั้งที่ 1 โฟกัสให้เด็กรู้จักสุขภาวะทางกายและสังคม จัดกิจกรรม Workshop ระบายสีเสริมทักษะคุณหนู ภายในห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ซอยพระนาง ต่อยอดนวัตกรรมการเรียนรู้อย่างแอปพลิเคชัน “Me  Books” ส่งองค์ความรู้จากนิทาน ตรงสู่ครอบครัวกระจายทั่วกรุงเทพฯ เชิญชวนสมัครสมาชิกเข้า app เดือนละ 169 บาท อ่านหนังสือคัดสรร 2 ภาษาจากทั่วโลก ด้วยความร่วมมือรัฐบาลไทย-มาเลย์  

ถือเป็นกิจกรรมสร้างสุข (SOOK  Enterprise) ที่ปักหมุดครั้งแรกที่ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ซอยพระนาง (ซอยราชวิถี 4) ถนนราชวิถี โดยร่วมฟังนิทานสดจากแอปพลิเคชัน Me Books โดย ชาระพี เมืองอยู่ นักเล่านิทานมืออาชีพจำนวน 5 เรื่อง เม่นน้อยหลงทาง, แตงโมลูกโตโต, ไปซื้อของ, ของใหม่กับเพื่อนเก่า และ อะหมัดน่ารัก ซึ่งเป็นนิทานที่ส่งเสริมพัฒนาการตามขั้นบันไดและการช่วยเหลือแบบพึ่งพาตัวเองได้

น.ส.ภาสวรรณ สังฆสุบรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์กิจการสร้างสุข (SOOK Enterprise) สสส. เล่าว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นโครงการนำร่อง หลังจากที่มีการเปิดตัวแอปพลิเคชัน Me Books ที่ TK  Park แนะนำเครื่องมือ SOOK Enterprise  สสส.ดำเนินงานในบทบาทธุรกิจเพื่อสังคม (Social  Enterprise) ในลักษณะ Startup ที่มีความคล่องตัว เปิดกว้างสร้างความร่วมมือทั้งไทยและต่างประเทศ ให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะภาครัฐ ภาคเอกชน  ภาคการศึกษา และคนทำงานเพื่อสังคม นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เพื่อการมีสุขภาวะที่ดีและปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันของทุกคน

กิจกรรม SOOK Caravan เล่านิทานสัญจรครั้งนี้ เป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอย่าง Me Books ที่ศูนย์กิจการสร้างสุข สสส.ร่วมกับ Me Books ประเทศมาเลเซียเปิดตัวให้คนไทยได้ใช้เมื่อ 16 ส.ค.2565 จากองค์ความรู้ในนิทานรูปแบบ Interactive Book ต่อยอดและขยายผล ส่งตรงไปถึงชุมชน และครอบครัวกระจายทั่วกรุงเทพฯ เพื่อให้ประชากรได้รับประโยชน์อย่างกว้างขวาง

“การจัดกิจกรรมอ่านนิทานจากหนังสือนิทานของ สสส. 35 เล่ม มี 2 ภาษาในปีนี้ ทำให้เด็กได้เรียนรู้ 2 ภาษา ปี 2566 จะเพิ่มอีก 60-100 เล่ม เป็นการโฟกัสให้เด็กรู้จักสุขภาวะทางกายและสังคม พัฒนาการทางปัญญา ด้วยความร่วมมือกับมูลนิธิส่งเสริมการอ่านซึ่งเป็นภาคีของ สสส. เราจะดัดแปลงหนังสือเป็นดิจิทัล ผลิตคอนเทนต์หนังสือ การสร้างองค์ความรู้ร่วมกับพันธมิตร  TK Park มีห้องสมุด 50 แห่ง ห้องสมุด กทม. รวมถึง TCDC มีทีม Product Management นำไอเดียดีไซน์มาทำเป็น Marget Place”

สาเหตุที่เลือกห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ในซอยพระนาง เนื่องจากในย่านนี้มีชุมชนย่านดินแดง ชุมชนใต้ทางด่วน  ชุมชนซอยพระนางทำให้เข้าถึงผู้คนหลากหลายกลุ่ม มีเยาวชนเป็นจำนวนมากในย่านนี้ เราต้องการสร้างนักเล่านิทาน Story Teller รุ่นใหม่ เราจะจัดกิจกรรมแข่งขันเด็กเล่านิทานโดยมีรางวัลให้ เป็นการส่งเสริมเด็กให้มีจินตนาการที่ดี มีความสุขในการเล่านิทาน สังคมไทยไม่ค่อยอ่านออกเสียง เมื่อมีการวิจัยข้อมูลการอ่านออกเสียงจะทำให้เด็กรักการอ่านมากขึ้น เมื่อเด็กเริ่มต้นฟังนิทานก็จะสั่งสมอยากอ่านหนังสือด้วยตัวเอง มีคลังศัพท์มากมายในการสื่อสาร เราได้บูรณาการจากพันธมิตร Save  the Children สื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน  (Child Media)

หนังสือดีๆ ที่ได้รางวัลหลายเล่ม อาทิ ความสุขของกะทิ สามารถนำมาทำ E-Book ได้ หากใครมีความประสงค์ให้ สสส.เผยแพร่สามารถติดต่อมาได้ ขอเชิญชวนครอบครัวสมัครสมาชิกเข้า app เดือนละ169 บาท ใช้งานฟรีในช่วง 2 สัปดาห์แรก มีหนังสือให้อ่าน 35 เล่ม และเพิ่มจำนวนเป็น 400 เล่ม เป็นหนังสือที่คัดสรรจากทั่วโลก ร้านหนังสือ Asia Book ร้านหนังสือ Kinokuniya จัดพิมพ์ รายได้จะนำไปสนับสนุนงานสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว (สำนัก 4) ทำโครงการให้หนังสือนิทาน digital ได้เข้าถึงผู้คนเป็นจำนวนมาก เป็นงาน Joint Venture สำนัก 4 และสำนัก 7 ทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน  เป็นโอกาสเชื่อมคนเชื่อมงาน ทำให้สังคมไทยเข้าถึงหนังสือชุดนิทาน ต่อไปจะขอความร่วมมือหน่วยงาน อบต., อบจ., เทศบาลนครต่างๆ

“ขณะนี้เราได้รับความร่วมมือข้ามชาติระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล มีพันธมิตรจากหน่วยงาน Cradle กระทรวงการคลัง รัฐบาลประเทศมาเลเซียให้ทุนกับภาคเอกชน Startup สร้างไอเดียใหม่ๆ ให้การสนับสนุน Me  Books ออกแบบการเรียนรู้แบบใหม่ ขณะนี้กำลังเจรจากับประเทศสิงคโปร์ ร่วมกันสร้าง platform E-Learning สสส.มีโครงการเปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นศูนย์สาธิตในเดือน มี.ค.2566 ซึ่งเป็นปีที่ 21 ของหน่วยงาน สสส.”

สำหรับกิจกรรม SOOK Enterprise เล่านิทานสัญจรนั้นจะจัดขึ้นจำนวน 4 ครั้งทั่วกรุงเทพฯ ในห้องสมุด สถานที่เรียนรู้ สถานที่สาธารณะ เช่น ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนาง, อุทยานการเรียนรู้ TK  Park, มิวเซียมสยาม, หอนิทรรศน์รัตนโกสินทร์  รวมทั้งการจัดกิจกรรมเล่านิทานก่อนนอนผ่านทางการถ่ายทอดสดทางออนไลน์ ผ่าน facebook, Youtube live  ตลอดเดือน ต.ค.2565 ถึง ก.พ.2566 เป็นการต่อยอดการนำนิทานจากแอปพลิเคชัน Me Books  ส่งตรงถึงหลายครอบครัวทั่วประเทศ ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Me Books ทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ได้ตั้งแต่วันนี้ หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซด์ www.sooklife.com/mebooks เฟซบุ๊กแฟนเพจ SOOK แอปพลิเคชันไลน์ @SOOK  และยูทูบ SOOK Channel

ศิราภรณ์ พัฒน์จันทร์ บรรณารักษ์ชำนาญการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ซอยพระนาง (ซอยราชวิถี 4) เล่าว่า ห้องสมุดจัดกิจกรรม Walk Rally เรียนรู้สถานที่สำคัญ บ้านเก่าของนักเขียน บ้านพักโบราณในย่านนี้ พาเด็กในชุมชนซอยพระนาง และชุมชนใต้ทางด่วน ซึ่งในย่านนี้มีอพาร์ตเมนต์ให้เช่า บ้านให้เช่าดั้งเดิม อีกทั้งมีบ้านพักของศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์) ปัจจุบันบุตรสาว สุรพิน เจ้าของบ้านสมรสกับแพทย์คนไทย ใช้ชีวิตอยู่สหรัฐฯ และมอบหมายให้มีผู้ดูแลบ้านเปิดให้ชมสถานที่   ชื่อซอยพระนางแต่เดิมคือ ซอยพระนางลักษมีลาวัณ (ชื่อพระนามพระนางเธอ ลักษมีลาวัณ พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ กับหม่อมหลวงตาด  วรวรรณ ในฐานะพระนางเธอในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงเคยพำนักอยู่ในซอยพระนางแห่งนี้

***

ครอบครัวอาทิตย์ วงศ์เมฆ-กัลยรัตน์ จุลเกตุ ด.ญ.ชนกกมล (ทะเล) วงศ์เมฆ (วัย 5 ขวบ) และ ด.ญ.ชนกปมน (สายลม) วงศ์เมฆ (วัย 3 ขวบ)

กัลยรัตน์ จุลเกตุ เล่าว่าเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง ติดตามข้อมูลจาก facebook สสส.โดยตลอด เคยพาลูกทั้งสองคนเข้าร่วมกิจกรรมที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. ทำกิจกรรมในห้องสมุด ตอนนั้นสายลมยังตัวจิ๋วๆ การพาลูกทั้งสองเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส.ได้เห็นพัฒนาการของเด็ก  โดยเฉพาะสายลมจะไม่พูดคุยกับคนแปลกหน้า แต่เมื่อเขาเห็นพี่ทะเลพูดคุยกับเพื่อนใหม่ เขาก็ทำตาม เลียนแบบพี่สาว

ปกติทั้งพ่อและแม่จะสอนลูกให้รักการอ่านด้วยการอ่านนิทานให้ฟังตั้งแต่เขายังเล็กๆ เริ่มต้นให้ดูรูปภาพก่อน  ทำให้เขามีคลังคำมากมายที่จะพูดสื่อสาร ฝึกอ่านนิทานภาษาไทย และเริ่มอ่านนิทานเป็นภาษาอังกฤษ ที่โรงเรียนมีครูต่างชาติมาสอนเขาเข้าใจภาษาอังกฤษ ปกติจะพาลูกไปอ่านหนังสือที่ TK Park และหอศิลป์ ปทุมวันเป็นประจำ

คุณแม่ชลธิชา หอมกลิ่นแก้ว และ ด.ญ.ธารา (ต้นน้ำ)  แสงธรรมชัย วัย 5 ขวบ เรียน รร.แรฟเฟิล อินเตอร์

“มีเพื่อนรุ่นพี่ทำงานอ่าน อ๊าน อ่าน คุณแม่พาต้นน้ำเข้าร่วมกิจกรรม ตอนนั้นลูกยังอ่านหนังสือไม่ได้ และพาไปอ่านหนังสือที่เขาอยากจะได้ เมื่อฝึกลูกอ่านหนังสือเวลาเขาอยู่ว่างๆ เขาจะหยิบหนังสือมาอ่านเอง ตอนแรกให้ลูกเรียนที่ รร.ทอสี เอกมัย เป็น รร.ทางเลือก พอดีช่วงโควิดระบาดให้ลูกออกจากโรงเรียน พอโควิดคลี่คลายลงก็ส่งเข้าเรียน รร.นานาชาติแรฟเฟิล อินเตอร์ บางนา-ตราด และพาเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เขามีพัฒนาการที่ดี”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รณรงค์ "กินให้หมดจาน" 50ร้านต้นแบบช่วยลดขยะ

รู้หรือไม่?!?..... มีสถิติระบุว่า ขยะอาหารโลกพุ่งกว่า 1 พันล้านตัน ภาพขยะกองสูงเป็นภูเขาที่รอฝังกลบ กว่าครึ่งคือขยะอาหาร คนไทยเพียงคนเดียวผลิตขยะสูงลิ่ว 146 กก./คน/ปี

“รองนายกฯ ประเสริฐ” สั่งเดินหน้าคุมเข้มลดเจ็บ-ตายปีใหม่ เฝ้าระวัง “นักซิ่งเยาวชน” หลังพบดื่มแล้วขับ “เจ็บ-ตาย” เฉลี่ยชั่วโมงละ 3 คน เล็งเชื่อมข้อมูลทำระบบ “ใบสั่งออนไลน์”

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร

สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567

ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์

ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต