จุดประกายการแก้ปัญหาชุมชน อว.จัดกิจกรรม “U2T National Hackathon 2021” 40 ทีม U2T ชิงแชมป์ประเทศไทย

เมื่อวันที่ 15 พ.ย.นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ที่ปรึกษา รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะประธานคณะทำงานด้านการจัดการสื่อสารโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) เป็นประธานเปิดงาน U2T National Hackathon 2021 ซึ่งเป็นการแข่งขันระดมสมองประลองไอเดียเพื่อแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์ตำบลจาก 40 ทีมมหาวิทยาลัยที่เข้ารอบในระดับภูมิภาค เพื่อเฟ้นหาทีมชนะเลิศระดับประเทศ และ showcase ผลงานที่พัฒนาต้นแบบมาตลอดโครงการ ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2564 ที่อิมแพค เมืองทองธานี

นายเอกนัฏ กล่าวว่า การแข่งขัน U2T National Hackathon 2021  ได้เปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้เข้าร่วมระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์ บนปัญหาและความต้องการในพื้นที่จริงกว่า 3,000 ตำบลเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาด้านนวัตกรรมที่ตอบโจทก์กับบริบทในพื้นที่ ผ่านการเรียนรู้ ปฏิบัติจริงในชุมชน และผ่านกิจกรรมแฮกกาธอน ภายใต้โจทก์ "แนวทางแก้ปัญหาขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก" ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1.เศรษฐกิจสร้างสรรค์  2. การนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและสุขภาพไปช่วยบริการชุมชน 3. เศรษฐกิจหมุนเวียน และ 4. การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ซึ่งมีผู้สนใจสมัครมาเข้าร่วมกิจกรรมถึง 965 ทีม หรือกว่า 5,000 คน จาก 8 ภูมิภาค โดยรอบแรกได้ทำการคัดเลือกจาก 965 ทีม ให้เหลือ 300 ทีม จากนั้นจึงคัดเหลือ 40 ทีมสุดยอดผ่านเข้ารอบสุดท้าย เพื่อแข่งชิงแชมป์ประเทศและค้นหาทีมผู้ชนะระดับประเทศจำนวน 5 ทีม

“การเข้ามาถึงรอบสุดท้ายของการแข่งขัน U2T National Hackathon 2021 ไม่ใช่เรื่องง่าย นี่คือการระดมกำลังครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่เอากำลังที่มีความสดใหม่ หลายคนเพิ่งออกมาจากมหาวิทยาลัยบางคนยังอยู่ในมหาวิทยาลัย มาร่วมกับประชาชนในพื้นที่ ใช้ไฟที่ถูกจุดประกายขึ้นมา ร่วมกันคิดให้มันทะลุปัญหา เพราะการแก้ปัญหา ถ้าเรามัวแต่คิดแก้ปัญหาในกรอบ คิดถึงแต่ขีดจำกัด ไม่ยอมคิดที่จะทะลุขีดจำกัด ปัญหาใหญ่ ๆ ของประเทศก็จะไม่ถูกแก้ แต่วันนี้เราได้ระดมกำลังที่มีฐานจากน้อง ๆ ประชาชนกว่า 60,000 คนทั่วประเทศ มาช่วยกันคิด ช่วยกันระดมกำลังเพื่อจะทะลุปัญหาเหล่านั้น” นายเอกณัฐ กล่าวและว่า

โครงการนี้มีจุดเริ่มต้นจากตัวมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T โครงการการจ้างงานขนาดยักษ์ที่สุดของปี จากวิกฤตโควิด นำน้อง ๆ หลายคนที่เพิ่งจบจากมหาวิทยาลัยและกำลังศึกษารวมทั้งประชาชน มาทำงานกับชุมชน ช่วยท้องถิ่น แก้ปัญหาในพื้นที่  กว่า 3,000 ตำบลทั่วประเทศ หวังว่ากิจกรรมครั้งนี้รวมไปถึงโครงการ U2T  จะสร้างโอกาสให้กับน้อง ๆ ที่มาเข้าร่วมโครงการทุกคน ไม่ใช่เฉพาะที่เป็นส่วนหนึ่งของ 40 ทีมที่มาร่วมแข่งขัน ไม่ใช่เฉพาะ 300 ทีมที่ไปแข่งในระดับภูมิภาค หรือ 900 กว่าทีมที่สมัครเข้ามาในครั้งแรก แต่ว่ารวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องจากทั้งหมด น้อง ๆ นักศึกษา ที่เพิ่งจบใหม่ไฟแรง รวมไปถึงประชาชนในชุมชน อยากจะให้โครงการนี้สร้างโอกาสให้กับทุกคน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี

ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !

ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง

"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ

เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”

เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล