อว. ผลักดัน “ธัชชา” บูรณาการความรู้ “สังคม – มนุษย์ศาสตร์ – ศิลปกรรมศาสตร์” สร้างศก.บีซีจี

​“สังคมศาสตร์ - มนุษยศาสตร์ - ศิลปกรรมศาสตร์” เป็นศาสตร์ที่ร้อยต่อด้วยกันได้ โดยมุ่งเน้นให้เกิดผลต่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศไทยด้วยเศรษฐกิจและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้บูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างสรรค์นวัตกรรมของประเทศ ผ่านวิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities and Arts: TASSHA) หรือ “ธัชชา” เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไปสู่การสร้างคุณค่าและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของชาติ

นายพจน์ระพี ทองกัญชร เจ้าหน้าที่ วิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ (ธัชชา) กล่าวว่า ธัชชาเกิดจาก 5 สถาบัน คือ สถาบันสุวรรณภูมิศึกษา ซึ่งศึกษาด้านประวัติศาสตร์สุวรรณภูมิ โบราณวัตถุต่างๆ สถาบันโลกคดีศึกษา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านที่พัฒนามาพร้อมๆ กับประเทศไทย ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และแนวทางในอนาคต สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในโมเดลอื่นๆ นอกเหนือจากการเกษตร สถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ การจัดทำรวบรวมผลงานศิลปกรรมเด่นๆ ที่แสดงถึงความเป็นไทย และสถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่น การรวบรวมผลงานช่างศิลปะทั่วประเทศ เพื่อนำเสนอมรดกทางวัฒนธรรมไทย สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน

เป้าหมายของการเกิดธัชชาตามนโยบายของ ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) ที่ได้มอบไว้ให้ คือ “การสร้างโมเดลบีซีจี” ด้วยการนำความรู้จาก 5 สถาบันกระจายไปยังสถาบันการศึกษา ชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น สถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่น มีการพัฒนามีดกริชซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของ 3 จังหวัดชายแดนภายใต้ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น หรือผ้าไหมของภาคอีสาน เครื่องเงินของภาคเหนือก็นำมาต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือสถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ จะทำหน้าที่รวบรวมผลงานศิลปะ และสร้างพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงๆ หรือ VR (Virtual Reality)เพื่อสร้างสรรค์ศิลปินรุ่นใหม่ๆ สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ ที่อยากเป็นศิลปิน ซึ่งในอนาคตศิลปะจะเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศด้วย

สำหรับกิจกรรมไฮไลท์ของบูธ คือ บอร์ดศิลาจารึก ที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้การลอกลายศิลาจารึกเพื่อเรียนรู้อักษรโบราณต่างๆ เช่น อักษรละติน อักษรไทย อักษรอังกฤษ อักษรโรมัน อักษรขอมไทย เป็นต้น และส่องกล้องโบราณวัตถุ เป็นการนำโบราณวัตถุมาส่องดูแร่ธาตุ ดูชนิดของดิน หิน ที่สร้างเป็นโบราณวัตถุว่าอยู่ในพื้นที่ใด หรือสร้างในสมัยใด ด้วยกล้อง Polarizing Microscope กิจกรรมนี้จะทำให้เด็กๆ ได้เข้าใจว่าสังคม และวิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์ที่อยู่คู่กันมาตลอด ตลอดการจัดงานทั้ง 2 กิจกรรมได้รับการตอบรับจากเด็กๆ เป็นอย่างดี ทุกคนที่เยี่ยมชมบูธได้เข้าร่วมกิจกรรมหมด

​จากนี้ไป “ธัชชา” จะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ซึ่งจะนำมาสู่การแก้ปัญหาแบบองค์รวม การสร้างเทคนิค องค์ความรู้ การพัฒนางานวิจัยใหม่ๆ ที่เชื่อมโยงสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคต โดยจะขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไปสู่การสร้างคุณค่าและผลประโยชน์ของชาติ เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการเชื่อมโยงประเทศไทยเข้ากับภูมิภาคและโลกต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี

ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !

ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง

"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ

เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”

เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล