"ศักดิ์สยาม" ติดตามผลการดำเนินงาน โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลืองและสายสีชมพู

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (รวค.) เป็นประธานประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) เพื่อติดตามความคืบหน้าการก่อสร้าง ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ โดยมีนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร นางจันทิรา บุรุษพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย นางสาวรัชนีพร ธิติทรัพย์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยผู้บริหารและผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

ปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู มีความคืบหน้าอย่างมาก จึงได้กำหนดให้
มีการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและ
สายสีชมพูขึ้น โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งที่ 2 เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดให้บริการในด้านต่างๆ ทั้งในส่วนของการเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งอื่น การกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม การขอพระราชทานนามแนวเส้นทาง และการสื่อสารสาธารณะ โดย ณ ปัจจุบันสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว – สำโรง) มีความคืบหน้าการก่อสร้าง ร้อยละ 96.79 ได้รับมอบขบวนรถไฟฟ้าแล้ว 29 ขบวน จากทั้งหมด 30 ขบวน ส่วนสายสีชมพู (ช่วงแคราย - มีนบุรี) มีความคืบหน้าร้อยละ 92.28 ได้รับมอบขบวนรถไฟฟ้าแล้ว 34 ขบวน จากทั้งหมด 42 ขบวน โดยทั้งสองเส้นทางมีแผนเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2566 โดยปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างจัดทำ Proof of Safety เพื่อตรวจสอบและประเมินความพร้อมของงานโยธาและงานระบบไฟฟ้าทั้งหมดของโครงการ ก่อนที่วิศวกรอิสระ (ICE) จะออกหนังสือรับรองความปลอดภัย เพื่อเปิดให้บริการให้แก่ประชาชนต่อไป

ในการประชุม ที่ประชุมได้หารือแนวทางการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการรื้อย้ายสาธารณูปโภคซึ่งมีงานทับซ้อนกัน ณ ตำแหน่งทางขึ้นลงของสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ (สถานี PK11 – PK13) ประกอบด้วย การรื้อย้าย Duct Bank และแนวสายไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง และการก่อสร้างทางระบายน้ำ (Flood Way) ของกรมทางหลวง ซึ่งตามแผนงานจะรื้อย้ายแล้วเสร็จประมาณเดือนมีนาคม 2566 รวมถึงได้หารือแนวทางการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพูกับระบบขนส่งอื่น เช่น การก่อสร้าง Skywalk เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สถานีหัวหมาก กับสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ สถานีหัวหมาก ตลอดจนได้หารือแนวทางการปรับเส้นทางรถโดยสารประจำทางเพื่อรองรับการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู โดยก่อนการปฏิรูปเส้นทางรถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จำนวน 59 เส้นทาง ได้มีการปรับเพิ่มเป็น 81 เส้นทาง และสายสีชมพูเดิมมีรถโดยสารประจำทางเชื่อมต่อ จำนวน 50 เส้นทาง ได้มีการปรับเพิ่มเป็น 82 เส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกการเชื่อมต่อการเดินทาง
ให้แก่ประชาชน

ทั้งนี้ ในการประชุม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มีข้อสั่งการ
ให้คณะอนุกรรมการด้านต่างๆ ดำเนินการดังนี้

1. คณะอนุกรรมการด้านการเดินรถ การเชื่อมต่อการให้บริการระบบขนส่ง และการประเมินคุณภาพ
1.1 ให้คณะอนุกรรมการฯ ประสานผู้รับสัมปทานก่อสร้างเพื่อกำกับและติดตามการดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปด้วยความปลอดภัยสูงสุด และการจัดการจราจรให้มีผลกระทบต่อการเดินทางประชาชนน้อยที่สุด เช่น การคืนพื้นที่ผิวจราจรจากการก่อสร้าง
1.2 ให้มีการทดลองเดินรถเสมือนจริงโดยไม่เก็บค่าโดยสาร โดยศึกษารูปแบบจากรถไฟฟ้าชานเมือง
สายสีแดง
1.3 ให้ตรวจสอบการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสาย และการเดินทางสาธารณะรูปแบบอื่น
ให้มีความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้บริการ เช่นทางเดินที่มีหลังคา

2. คณะอนุกรรมการด้านราคาค่าโดยสารและบัตรโดยสารให้คณะอนุกรรมการพิจารณารูปแบบการคิดคำนวณค่าโดยสารโดยเปรียบเทียบกับวิธีการของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงและการใช้บัตรโดยสารร่วม และประสานคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารสาธารณะเพื่อเร่งรัดประชาสัมพันธ์บัตรโดยสารแก่ประชาชน

3. คณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารสาธารณะ
ให้ประสานข้อมูลจากคณะอนุกรรมการด้านต่างๆ เพื่อดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุกในทุกช่องทาง
เพื่อชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้อง เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากโครงการ เช่น การ Count down วันเปิดให้บริการ แนวทางการเชื่อมต่อขนส่งมวลชนระบบอื่น ๆ การแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด โดยประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

4. คณะอนุกรรมการด้านการเตรียมการขอพระราชทานนามแนวเส้นทางโครงการ
ให้ดำเนินการขอพระราชทานนามสำหรับทั้ง 2 โครงการ และพิจารณาขอพระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์สำหรับประดิษฐานบริเวณอาคารหรือสถานีของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู โดยปฏิบัติตามขั้นตอนและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และเตรียมความพร้อมในการติดตั้งป้ายชื่อสถานีเมื่อได้รับพระราชทานชื่อแนวเส้นทาง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บูมเศรษฐกิจ 2 ชาติ ! “อนุทิน” เร่งสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน จับมือกัมพูชา กระตุ้นค้าขายชายแดน-ท่องเที่ยว

วันที่ 21 พย. บริเวณสะพานข้ามคลองตะเคียน ด่านผักกาด จุดก่อสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะผู้บริหาร อาทิ นายอรรษิษฐ์ สัมพัน์รัตน์

'อนุทิน' ยันภูมิใจไทยโหวตเสียงข้างมาก 2 ชั้นในการทำประชามติ

'อนุทิน​' ยืนยัน​ ภท.​โหวต​เสียงข้างมาก 2 ชั้น หากนำมติ กมธ.ร่วมประชามติ​เข้าโหวตในสภา​ ย้ำเพื่อให้ ​ปชช.​ตัดสินใจเรื่องสำคัญอย่างแท้จริง​ ชี้ทุกอย่างมีเงื่อนเวลาถ้า​แก้ไม่ทันก็รอสภาชุดหน้า​ ​

รัฐบาลโอ่ผลงานยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออกเชื่อมโยงอีอีซี

รัฐบาลยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออก เพิ่มประสิทธิภาพการจราจร เชื่อมโยงอีอีซี ล่าสุดกรมทางหลวงขยาย 4 ช่องจราจร ทล.3481 ตอน บ้านหัวไผ่ - การเคหะฯ จังหวัดปราจีนบุรี แล้วเสร็จ

'อนุทิน' ยันไม่คิดเอาคืนใคร ปมที่ดินเขากระโดงอย่าโยงการเมือง ไม่อย่างนั้นก็หมดสภาฯ

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงข้อพิพาทพื้นที่เขากระโดงระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และกรมที่ดิน ซึ่งกระทรวงคมนาคมยืนยันสิทธิ์ตามกฎหมาย

“ผู้ประกอบการ ราชบุรี” ชม “อนุทิน” ฟื้นกีฬาวัวลาน ให้แข่งตอนกลางคืน มั่นใจ เป็นงานเฟสติวัลระดับโลก

จากกรณีที่กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวง ให้การแข่งขันวัวลานจัดขึ้นในเวลากลางคืน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 โดยล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางไปเปิดการแข่งขันวัวลานที่