รู้สิทธิคุ้มครองผู้ประกันตนกรณีทุพพลภาพ แม้เจ็บป่วยวิกฤตหรือสูญเสียอวัยวะ

วิถีชีวิตของผู้ประกันตนในแต่ละวันอาจพบเจอกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด หรือประสบเหตุอันตรายและเจ็บป่วยวิกฤต ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมมาตรา 33 จะได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองจากสำนักงานประกันสังคม หากเกิดกรณีที่ผู้ประกันตนต้องกลายเป็นผู้ทุพพลภาพที่มิใช่เนื่องมาจากการทำงาน โดยสำนักงานประกันสังคมจะดูแลผู้ประกันตนอย่างครอบคลุม เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งเงินทดแทนการขาดรายได้และค่าบริการทางการแพทย์

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ระบุว่าสำหรับสิทธิประโยชน์กรณี
ทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องมาจากการทำงาน จะต้องเป็นผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพ (จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือนก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ) ซึ่งเป็นการสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกายหรือสูญเสียภาวะปกติของจิตใจจนทำให้ความสามารถในการทำงานของผู้ประกันตนลดลงถึงขนาดไม่อาจประกอบการงานได้ตามปกติหรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด ซึ่งผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพจะได้รับสิทธิประโยชน์เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้และค่าบริการทางการแพทย์ โดยกรณีทุพพลภาพรุนแรงได้รับเงินทดแทนในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดชีวิต แต่ถ้ากรณีทุพพลภาพไม่รุนแรงได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามประกาศฯ กำหนด ส่วนค่าบริการทางการแพทย์ได้รับสิทธิประโยชน์ คือ กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของรัฐ ประเภทผู้ป่วยนอก จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นถ้าเป็นประเภทผู้ป่วยใน จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลคำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรค (DRGs) สำหรับกรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของเอกชน ประเภทผู้ป่วยนอก จ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท ประเภทผู้ป่วยใน จ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท นอกจากนี้ยังได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเมื่อมีมติให้เป็นผู้ทุพพลภาพ ซึ่งผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพและเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานของสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพตามหลักเกณฑ์ประกาศฯ กำหนด หากเป็นกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลเอกชนอื่นที่ใกล้เคียงได้ทุกแห่งที่มิใช่สถานพยาบาลตามสิทธิการรักษาพยาบาล โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยทางสำนักงานประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าบริการทางการแพทย์จนพ้นภาวะวิกฤตภายใน72 ชั่วโมง (นับรวมวันหยุดราชการ) ให้แก่สถานพยาบาลที่รักษา

กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพถึงแก่ความตาย ผู้จัดการศพมีสิทธิได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท รวมทั้งเงินสงเคราะห์การตายของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพให้แก่ทายาท โดยจะต้องเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน จะได้รับเงินสงเคราะห์ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน แต่หากจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน

ทั้งนี้ สามารถยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคมได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ สายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ทาง Line : @ssothai และ www.sso.go.th


Website: www.sso.go.th
Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
Instagram: sso_1506
Twitter: @sso_1506
YouTube: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
Hotline: 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
LINE: @SSOTHAI
TikTok: @SSONEWS1506

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รมว. พิพัฒน์ มอบ เลขา อารี ลงพื้นที่ จ.ระยอง เปิดอาคาร สปส. สาขาปลวกแดง สร้างความเชื่อมั่น พร้อมยกระดับการให้บริการ

ในวันที่ 22 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

ก.แรงงาน รวมพลังจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบกระทรวงฯ สร้างวินัยบุคลากรที่ทำงานสะอาด ปลอดภัย พร้อมให้บริการประชาชน

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในกิจกรรม “กระทรวงแรงงานรวมพลัง กิจกรรม Big Cleaning Day”

“พิพัฒน์” พบ รมว.แรงงาน ญี่ปุ่น ถกเพิ่มอัตราจ้างคนไทยดูแลผู้สูงอายุ พร้อมหนุนองค์กรรับส่งแรงงานไทย

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เรือเอก สาโรจน์ คมคาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี

"พิพัฒน์" ส่ง สปส. จับมือการยางแห่งประเทศไทย ดูแลชาวสวนยาง กว่า 1.5 ล้านคน ให้สิทธิประโยชน์ ม. 40 สร้างคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลา 15.30 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในการเปิดโครงการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมความเชื่อมั่นประกันสังคมมาตรา 40 รุ่นที่ 2 พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง กระทรวงแรงงาน

บุญสงค์ ปลัดแรงงาน เปิดประชุมรับฟังความคิดเห็น พร้อมขับเคลื่อนการเพิ่มสิทธิประโยชน์ประกันสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน

วันที่ 9 ธันวาคม 67 เวลา 13.30 น. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็น “การเพิ่มสิทธิประโยชน์เมื่อปรับเพดานค่าจ้าง” โดยมี นางมารศรี ใจรังษี

รมว. พิพัฒน์ มอบ เลขาธิการ สปส. มารศรี ลงพื้นที่ จ.ชลบุรี ตรวจเยี่ยมผู้ประกันตนทุพพลภาพ ในโครงการ สปส. มอบสุข

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2567 นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้รับมอบหมายจาก นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดชลบุรี เพื่อตรวจเยี่ยมคุณภาพชีวิตผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ ในโครงการ