ทีม “การท่องเที่ยวสีเขียวเชิงสร้างสรรค์คลองปากปิด” จ.ประจวบคีรีขันธ์ คว้ารางวัลชนะเลิศ U2T for BCG National Hackathon 2022 ด้านการท่องเที่ยวและบริการ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนเพิ่มพื้นที่สีเขียว

โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล “U2T for BCG” ของกระทรวง อว. เห็นผลจริง 4 ทีมชนะเลิศ U2T for BCG National Hackathon 2022 สร้างสรรค์ผลงานพัฒนาเพื่อชาวบ้านสุดเจ๋ง เปลี่ยนของเหลือในชุมชนเป็นเงิน สร้างอนาคตทั้งเงินและงานอย่างยั่งยืน

โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล หรือ “U2T for BCG”โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้จัดให้มีกิจกรรมการแข่งขัน U2T for BCG National Hackathon 2022 ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมโครงการกว่า 65,000 คนทั่วประเทศ ได้เข้าร่วมกันระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์บนปัญหา และความต้องการในพื้นที่จริงรวม 7,435 ตำบล เพื่อให้ได้มาซึ่งสุดยอดสินค้าและบริการ U2T for BCG ที่ผ่านกระบวนการ Hackathon โดยเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศผล และมอบรางวัลให้กับผู้ชนะเลิศ U2T for BCG National Hackathon 2022 ระดับประเทศ ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเกษตรและอาหาร, ด้านสุขภาพและการแพทย์, ด้านพลังงานและวัสดุ และด้านท่องเที่ยวและบริการ

นางสาว อังศณา มะหะหมัด ตัวแทนทีมการท่องเที่ยวสีเขียวเชิงสร้างสรรค์คลองปากปิด ต.พงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ U2T for BCG National Hackathon 2022 ระดับประเทศ ด้านท่องเที่ยวและบริการ กล่าวว่า ด้วยมีความต้องการพัฒนาระบบการท่องเที่ยวของตำบลพงศ์ประศาสตร์ให้เป็นการท่องเที่ยวรักษ์โลก ที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่าง ๆของชุมชน ทั้งเรื่องน้ำท่วมซ้ำซาก ขยะจำนวนมหาศาล ป่าชายเลนถูกทำลาย จึงได้ดำเนินการร่วมกับชุมชน ภายใต้ผลงาน “การท่องเที่ยวสีเขียวเชิงสร้างสรรค์คลองปากปิด”

“การท่องเที่ยวสีเขียวเชิงสร้างสรรค์คลองปากปิด เป็นรูปแบบที่ใช้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศมาช่วยแก้ปัญหาของชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว เช่น ร่วมทำกิจกรรมเก็บขยะและปลูกป่าร่วมกับคนในชุมชน พร้อมได้ร่วมสนุกกับกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชน ที่เกิดจากคนสองวัฒนธรรมไทยพุทธและไทยมุสลิม ซึ่งถือเป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนและยังเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้โลกและสร้างความสุขให้ชุมชนและนักท่องเที่ยวอีกด้วย ความสำเร็จที่เกิดขึ้นได้ในวันนี้ สำหรับเป้าหมายการพัฒนาต่อไป จะมีการนำเงินรางวัลที่ได้รับจากการประกวดไปต่อยอดการท่องเที่ยวของชุมชนที่เน้นจัดเป็นโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้การนำทรัพยากรที่อยู่ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

ด้านนางสาว สุพัตรา ขันชนะ ผู้ร่วมทีมกล่าวเสริมว่า โครงการ U2Tได้สร้างประโยชน์ให้ตำบลแห่งนี้เป็นอย่างมาก และถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้มีต่อ เพื่อจะได้ดำเนินกิจกรรมช่วยชุมชน ช่วยยกระดับการพัฒนาและคุณภาพชีวิตในทุกด้านให้ดียิ่งขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี

ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !

ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง

"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ

เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”

เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล