ทีม “เชียงคานสตอรี่” มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ชนะเลิศ U2T for BCG National Hackathon 2022 พัฒนาเปลือกและกะลามะพร้าวเหลือทิ้งมาแปรรูปเป็นปุ๋ย สร้างรายได้ให้ชุมชนเดือนละ 100,000 บาท

โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล “U2T for BCG” ของกระทรวง อว. เห็นผลจริง 4 ทีมชนะเลิศ U2T for BCG National Hackathon 2022 สร้างสรรค์ผลงานพัฒนาเพื่อชาวบ้านสุดเจ๋ง เปลี่ยนของเหลือในชุมชนเป็นเงิน สร้างอนาคตทั้งเงินและงานอย่างยั่งยืน

โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล หรือ “U2T for BCG”โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้จัดให้มีกิจกรรมการแข่งขัน U2T for BCG National Hackathon 2022 ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมโครงการกว่า 65,000 คนทั่วประเทศ ได้เข้าร่วมกันระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์บนปัญหา และความต้องการในพื้นที่จริงรวม 7,435 ตำบล เพื่อให้ได้มาซึ่งสุดยอดสินค้าและบริการ U2T for BCG ที่ผ่านกระบวนการ Hackathon โดยเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศผล และมอบรางวัลให้กับผู้ชนะเลิศ U2T for BCG National Hackathon 2022 ระดับประเทศ ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเกษตรและอาหาร, ด้านสุขภาพและการแพทย์, ด้านพลังงานและวัสดุ และด้านท่องเที่ยวและบริการ

ด้านผศ. ณัชชา สมจันทร์ ตัวแทนทีมเชียงคานสตอรี่ ของ ต.เชียงคาน จ.เลย ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ U2T for BCG National Hackathon 2022 ระดับประเทศ ด้านพลังงานและวัสดุ กล่าวว่า จากที่ผลิตภัณฑ์มะพร้าวแก้วของอำเภอเชียงยืน เป็นสินค้าชุมชนที่ขึ้นชื่อ จึงทำให้ต้องมีใช้มะพร้าวน้ำหอมมาเป็นวัตถุดิบในแต่ละเดือนไม่ต่ำกว่า 10,000 ลูก ปัญหาที่ตามมาคือ เกิดปัญหาขยะของชุมชนจากเปลือกมะพร้าวทิ้งเป็นจำนวนมาก โดยหนึ่งผลกระทบสำคัญที่พบคือ ทำให้ปลาในธรรมชาติตาย และดินเป็นกรด จากกรดแทนนิกที่มีอยู่ในเปลือกมะพร้าว

“ทีมเชียงคานสตอรี่ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จึงเข้าไปร่วมแก้ปัญหาด้วยการวิจัยพัฒนาเปลี่ยนขยะให้เป็นเงิน ภายใต้ชื่อผลงาน “เปลือกและกะลามะพร้าวมาแปรรูปเป็นปุ๋ย” ด้วยการนำเปลือกมะพร้าวมาผลิตเป็นวัสดุในการปลูกพืชหรือที่เรียกว่า Coco Peat ที่ปลอดทั้งเชื้อโรคและศัตรูพืช เก็บกัดความชื้นได้ดี มีคุณสมบัติทางเคมีเหมาะสมกับพืช ใช้งานง่าย สะดวกต่อการเก็บรักษา ถือเป็นช่วยทั้งการเพิ่มมูลค่าของเปลือกมะพร้าว ทำให้เกิดการหมุนเวียนที่สร้างประโยชน์ และลดมลพิษ ลดขยะในชุมชน  ซึ่งในระยะยาวจะช่วยลดขยะจากเปลือกมะพร้าวได้ถึง 3,000 กิโลกรัมต่อเดือน ขณะเดียวกันจะช่วยทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการผลิตและจำหน่ายให้กับลูกค้าเป้าหมาย เช่น กลุ่มผู้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ โดยในระยะแรกคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ไม่ต่ำกว่า เดือนละ 100,000 บาท ในการนี้ต้องขอขอบคุณ กระทรวง อว. และโครงการ U2T ที่สร้างโครงการนี้ขึ้นมา การที่พวกเราได้มาร่วมโครงการนี้ ได้ช่วยแก้ปัญหาของชุมชนที่สะสมมาอย่างยาวนาน  รวมถึงมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย ที่ช่วยให้คำแนะนำ ช่วยเหลือเรื่องอุปกรณ์ และในด้านต่าง  ๆ”ผศ. ณัชชา สมจันทร์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี

ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !

ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง

"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ

เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”

เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล