ทีมแซ่บอีรี่ ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ จ.สระแก้ว ชนะเลิศ U2T for BCG National Hackathon 2022 สุดเจ๋ง พัฒนาเส้นบะหมี่อบแห้งผสมโปรตีนจากดักแด้ไหมอีรี่ ลดขยะใบมันสำปะหลัง

โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล “U2T for BCG” ของกระทรวง อว. เห็นผลจริง 4 ทีมชนะเลิศ U2T for BCG National Hackathon 2022 สร้างสรรค์ผลงานพัฒนาเพื่อชาวบ้านสุดเจ๋ง เปลี่ยนของเหลือในชุมชนเป็นเงิน สร้างอนาคตทั้งเงินและงานอย่างยั่งยืน

โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล หรือ “U2T for BCG”โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้จัดให้มีกิจกรรมการแข่งขัน U2T for BCG National Hackathon 2022 ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมโครงการกว่า 65,000 คนทั่วประเทศ ได้เข้าร่วมกันระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์บนปัญหา และความต้องการในพื้นที่จริงรวม 7,435 ตำบล เพื่อให้ได้มาซึ่งสุดยอดสินค้าและบริการ U2T for BCG ที่ผ่านกระบวนการ Hackathon โดยเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศผล และมอบรางวัลให้กับผู้ชนะเลิศ U2T for BCG National Hackathon 2022 ระดับประเทศ ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเกษตรและอาหาร, ด้านสุขภาพและการแพทย์, ด้านพลังงานและวัสดุ และด้านท่องเที่ยวและบริการ

ดร.จารุนันท์ ไชยนาม ตัวแทนทีมแซ่บอีรี่ ต.ทัพเสด็จ จ.สระแก้ว เปิดเผยภายหลังเข้ารับรางวัลชนะเลิศ U2T for BCG National Hackathon 2022 ระดับประเทศ ด้านเกษตรและอาหารว่า อําเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว เป็นอำเภอที่มีการปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดในจังหวัด โดยเฉพาะที่ตำบลทัพเสด็จ มีพื้นที่ปลูกกว่า 4,703 ไร่ ทีมแซ่บอีรี่ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว จึงได้เข้าไปส่งเสริมให้มีการนำใบมันสำปะหลังมาใช้เลี้ยงไหมอีรี่ เพื่อเป็นการลดปริมาณใบมันสำปะหลังที่ถือเป็นขยะในชุมชน พร้อมทั้งยังมีการต่อยอดด้วยการนำดักแด้ของไหมอีรี่ ที่เป็นผลพลอยได้จากรังไหม ซึ่งมีมากถึงปีละ 677ตัน มาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่า ในรูปแบบของเส้นบะหมี่อบแห้งผสมโปรตีนจากดักแด้ไหมอีรี่ ช่วยสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้กับประชาชนในตำบลทัพเสด็จถึง 10 ครัวเรือน นำมาซึ่งความมั่นคงด้านอาหาร และการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

“เส้นบะหมี่อบแห้งผสมโปรตีนจากดักแด้ไหมอีรี่จึงเป็นการลดขยะจากกระบวนการเลี้ยงไหมอีรี่ให้เป็นศูนย์ โดยนำเอาดักแด้ที่เป็นเศษเหลือทิ้งจากกระบวนการเลี้ยงมาแปรรูปด้วยเทคโนโลยีไม่ซับซ้อน สร้างผลิตภัณฑ์ชุุมชน โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยไม่เหลือส่วนที่เป็นขยะทิ้งไว้ให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นเส้นบะหมี่ที่มีโปรตีนสูงกมากว่าร้อยละ 47 มีวิตามิน บี 2 มากถึงร้อยละ 70 และไม่ใส่ผงชูรส มีเกลือน้อยกว่าร้อยละ 1  สำหรับการต่อยอดการพัฒนาในก้าวต่อไปนั้น นอกจากจดสิทธิบัตรแล้ว ยังได้ดำเนินการขอมาตรฐานโภชนาการอาหาร และเงินรางวัลที่ได้รับจะนำไปใช้ในการก่อสร้างโรงงานแปรรูปให้กับชุมชน เพื่อดำเนินการผลิตจำหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้ากลุ่มคนรักสุขภาพ

ด้านนางอรวรรณ ติ่งไสว ตัวแทนชาวบ้านจากตำบลทัพเสด็จ กล่าวเพิ่มเติมว่า ชาวตำบลทัพเสด็จ ต้องขอขอบคุณกระทรวง อว. ที่ได้ช่วยทำให้เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์เส้นบะหมี่อบแห้งผสมโปรตีนจากดักแด้ไหมอีรี่นี้ขึ้นมา ถือเป็นการช่วยทั้งการสร้างงาน และสร้างรายได้ให้กับคนในตำบล อย่างตนเองนั้น ขณะนี้ต้องตกงาน แต่ตอนนี้มีความหวังในชีวิตมากขึ้น เพราะสามารถกลับมาอยู่บ้านเกิด และสร้างอาชีพสร้างรายได้จากการเลี้ยงไหม และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะเป็นสินค้าเด่นของตำบลทัพเสด็จ ดังนั้นจึงขอเชิญชวนผู้สนใจได้มาเที่ยวชมกระบวนการเลี้ยงไหม และการแปรรูปได้ที่ตำบลทัพเสด็จ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ

เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”

เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล

กระทรวง อว.ลุยยกระดับผลการประเมิน PISA เด็กไทยปี 68

เมื่อวันที่ 25 ก.ย. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการประชุมและมอบนโยบายในการส่งเสริมสมรรถนะและความฉลาดรู้ของผู้เรียนตามแนวทางการประเมินระดับนานาชาติ (PISA) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานตามแนวทางและดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับผลการประเมิน PISA จัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวง อว.โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล

“ศุภมาส” หนุน สกสว. ขับเคลื่อนการใช้ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ในงาน “TRIUP FAIR 2024” ดึงภาครัฐ-เอกชน ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างเศรษฐกิจให้ประเทศไทยอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2567 หรือ TRIUP FAIR 2024 ภายใต้แนวคิด “Impact Journey to Ignite Thailand :

“ศุภมาส” สั่งการ “สุชาดา” นำทีมผู้บริหาร อว. ลงพื้นที่ลุยช่วยสุโขทัย เตรียมรับมือมวลน้ำเหนือก้อนใหญ่จาก จ.แพร่

เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มอบหมายให้