นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงสถานการณ์ประเทศไทยในปี 2565 ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว (Aged Society) ว่า สังคมผู้สูงวัยเป็นวัยที่ต้องการดูแลเอาใจใส่ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ซึ่งในปี 2565 จะมีผู้สูงอายุในประเทศไทยประมาณ 13 ล้านคน โดย 10 % เป็นผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิตลำพัง ไม่ได้แต่งงาน ไม่มีลูก และอีก 20 % เป็นคู่แต่งงาน แต่ไม่มีลูก ซึ่งใน 2 กลุ่มนี้จะมีความเหงาไม่ต่างกัน เพราะไม่มีลูกหลานคอยดูแลประคับประคองช่วยให้ชีวิตสดชื่น ดังนั้นการดูแลตัวเองจึงสำคัญ และการปรับตัวเพื่อไม่ให้เฉาไปตามวัยจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายๆเรื่องตั้งแต่ยังไม่เข้าสู่วัยสูงอายุ
นางภรณี กล่าวว่าการปรับตัวผู้สูงวัยไม่ควรอยู่คนเดียว ควรออกไปเที่ยวบ้าง หรือ ไปหากิจกรรมทางสังคมทำร่วมกับคนอื่นบ้าง เพราะการมีเพื่อนจะช่วยลดความเหงาและความซึมเศร้าลงได้ ในปัจจุบันตามต่างจังหวัดก็มีการจัดตั้งชมรม ประชาคมต่างๆ จัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุได้ทำร่วมกัน ส่วนใน กทม.เองมีการจัดกิจกรรมของศูนย์สุขภาพดีตามเขตต่างๆอย่างสม่ำเสมอ โดย สสส.ได้จัดให้มีกิจกรรมทางเลือก เช่น สนับสนุนทีมยังแฮปปี้ YoungHappy จัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุดูหนังแล้วแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน หรือจัดคอร์สดูแลสุขภาพให้นำไปปฏิบัติ นอกจากนี้ สสส.ยังจัดกิจกรรมออนไลน์สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สะดวกในการออกจากบ้าน มีวีดีโอสอนการดูแลสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ การให้ความรู้ในหลายมิติ การออกกำลังกาย ตลอดจนให้ความรู้เรื่องสิทธิต่างๆ เช่น เรื่องอาหาร การท่องเที่ยว ดนตรี กีฬา นอกจากนี้ สสส.ยังได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดให้มีการเรียนรู้ผ่านโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยผู้สนใจสามารถเข้าดูรายละเอียดได้ที่ www.thaihealth.or.th หรือ เพจยังแฮปปี้ YoungHappy ซึ่งจะมีกิจกรรมเวิร์คช้อปมากมายการส่งเสริมในมิติต่างๆที่ทำให้ผู้สูงอายุสนุกและได้สาระอย่างครบถ้วน
ทั้งนี้ สสส.มีนวัตกรรม “ธนาคารเวลา” ซึ่งเป็นการออมเวลาแทนเงิน ถือว่าตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุมาก เพราะกิจกรรมบางอย่างไม่สามารถซื้อได้ด้วยเงิน ขณะที่เวลาของทุกคนมีค่าเท่ากัน ซึ่งนวัตกรรมนี้มีแนวคิดต้นแบบมาจากต่างประเทศเพื่อรองรับสังคมสูงวัยสามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมไทยได้ โดยเฉพาะการที่เรามีจุดแข็งอยู่ที่รูปแบบชุมชนที่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู่แล้ว ดังนั้นในช่วงเริ่มต้นจึงเป็นไปในลักษณะของเพื่อนบ้านช่วยเพื่อนบ้าน เน้นทำกับคนรู้จักกันก่อน แล้วจึงค่อยขยายออกไปอย่างเป็นระบบเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนช่วยดูแลซึ่งกันและกัน ขณะนี้มีชุมชนต้นแบบทั้งหมด 40 แห่งและประสบความสำเร็จ สมาชิกมีความสุขกับการใช้ธนาคารเวลามาดูแลกันเอง สำหรับชุมชนที่สนใจเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกับทางธนาคารเวลาหรือนำแนวคิดไปใช้ในพื้นที่ สามารถดูรายละเอียดได้ทางแฟนเพจเฟสบุ๊ค “ธนาคารเวลา” จะมีตัวอย่างพื้นที่ต่างๆที่ดำเนินการแล้ว โดยสามารถนำโมเดลหรือแนวคิดไปปรับใช้ให้เหมาะสมตามแต่ละพื้นที่ตามความสะดวกและเหมาะสม
ในเดือนตุลาคมนี้เป็นเดือนที่มีวันผู้สูงสากล สสส.ได้สนับสนุนการเตรียมความพร้อมก่อนสูงวัยและผู้สูงอายุใน 4 ด้าน คือ 1.ด้านสุขภาพ สสส.สนับสนุนเรื่องการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เหมาะสมตามช่วงวัย ไม่รสจัดเกินไป ผู้สูงอายุต้องดูแลฟันให้ดีก่อนอายุ 60 ปีเพื่อให้ไม่มีปัญหาการทานอาหารให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน รวมถึงควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเหมาะสมตามวัย 2.ด้านเศรษฐกิจ สสส.สนับสนุนให้ผู้สูงวัยมีการประเมินความพร้อมเรื่องการออมก่อนเกษียณ ซึ่งตามตัวเลขของตลาดหลักทรัพย์ระบุอายุ 60 ปีแนะนำต้องมีเงินเก็บโดยเฉลี่ย 4 ล้านบาท 3.ด้านสังคม สสส.สนับสนุนความเข้มแข็งของสังคมผู้สูงอายุและเพิ่มทางเลือกกิจกรรมทางสังคมให้ผู้สูงอายุทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดได้เลือกเข้าร่วมกิจกรรมที่สนใจและเหมาะสม นอกจากนี้ยังให้ความรู้การป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุไม่ให้ถูกหลอกทางสังคมออนไลน์ด้วย 4.ด้านสิ่งแวดล้อม สสส.สนับสนุนการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญ เช่น เรื่องของราวจับพื้นบ้าน และสิ่งของกีดขวางทางเดิน เพื่อป้องกันผู้สูงอายุหกล้มในบ้านของตัวเอง
“สสส.ยึดมั่นสร้างสุขภาวะให้ผู้สูงอายุทุกกลุ่ม และพัฒนาระบบ กลไกต่างๆ ที่รองรับสังคมสูงวัย เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้ระเบียบวาระแห่งชาติเรื่องสังคมสูงวัยที่ยกให้แนวคิดธนาคารเวลาเป็นนวัตกรรมใหม่ ที่ช่วยสังคมไทยในการรองรับสังคมสูงวัย ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ประเด็นเร่งด่วน ที่ภาครัฐสนับสนุนให้ทุกฝ่าย ดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรม สสส.มีเจตนารมณ์ในการพัฒนานวัตกรรมระบบ กลไกต่างๆ เพื่อรองรับสังคมสูงวัยจนเกิดเป็นกลไกและนโยบายที่ยั่งยืน”นางภรณีกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'แต๊งค์ พงศกร' หุ่นพัง-งานหาย! ตัดสินใจแปลงร่างเพื่อครอบครัว
แต๊งค์-พงศกร มหาเปารยะ รับเคยปาร์ตี้หนักจนลงพุง หนักถึง 80 กิโลกรัม แม้แต่เพื่อนในวงการยังจำหน้าไม่ได้ ทำให้งานจ้างหาย สุขภาพย่ำแย่ สู่การตัดสินใจแปลงร่างพลิกชีวิต มุ่งมั่นลดน้ำหนักได้ถึงเดือนละ 10 กิโล จนทวงคืนร่างทองภายใน 4 เดือนได้สำเร็จ โดยเจ้าตัวเปิดใจผ่านรายการ "คนแปลงร่าง"
"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร
สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”
น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567
‘NCDs’ ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคล แต่เกี่ยวโยง ‘สภาพแวดล้อมทุกมิติ’ ปรับ Ecosystem สร้างสุขภาพดีคือทางออก
การขับเคลื่อนเพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ของประเทศไทยก่อนหน้านี้ โดยมีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นแม่งานหลัก ดูเหมือนว่