“ดร.ดนุช”เลขานุการ รมว.อว.มอบนโยบายผู้บริหารอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคอีสาน แนะนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมออกไปรับใช้ประชาชน

เมื่อวันที่ 20 ต.ค. ที่ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี) จ.นครราชสีมา ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เดินทางมามอบนโยบายให้กับอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคฯ โดยมี รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ประธานคณะกรรมการอำนวยการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค และ น.ส. น.ส.ทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผอ.กลุ่มอุทยานวิทยาศาสตร์ ผศ.ดร.ปภากร พิทยชวาล ผอ.อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง พร้อมด้วย ผอ.อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก ม.ขอนแก่น ม.มหาสารคาม และ ม.อุบลราชธานี เข้าร่วมรับฟัง

ทั้งนี้ ดร.ดนุช กล่าวว่า ตนให้ความสำคัญกับอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคมาก เพราะสามารถสร้างและทำความฝันของประชาชนให้เป็นจริงได้ บางคนมีรายได้ 1 แสนบาทต่อปี หรือ 3 แสนบาทต่อปี เมื่อเข้ามาในอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคกลายเป็นผู้ประกอบการที่มีรายได้ถึงปีละ10 ล้านบาท หรือ 20 ล้านบาท บางคนมีแค่ไอเดียแต่เมื่อเข้ามาคุยกับอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคแล้ว ในเวลาต่อมากลายเป็นผู้ส่งออกก็มี หรือบางคนมาด้วยไอเดียหนึ่ง แต่คุยไปคุยมากลับได้อีกไอเดียหนึ่งเป็นต้น จึงเห็นว่าอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคน่าสนใจ เพราะทำให้ความฝันเป็นจริงได้ โดยในเดือน พ.ย.นี้ ตนจะลงพื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคอีก 2 แห่ง เพื่อไปคุยกับผู้ประกอบการที่มาใช้บริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค และทำให้อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเห็นว่า อว.ให้ความสำคัญ เป็นทีมเดียวกัน

เลขานุการ รมว.อว.กล่าวต่อว่า สิ่งที่ตนอยากเห็นคือ อยากให้อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคทั้งภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้ สามารถสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้ได้แห่งละ100 ผู้ประกอบการ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เช่นเดียวกับที่ตนอยากจะทำให้ อว. เป็นมากกว่ากระทรวงที่ทำหน้าที่วิชาการ โดยสนับสนุนให้ อว.ไปทำงานกับประชาชนให้มากขึ้น และเป็นสะพานเชื่อมกับผู้ประกอบการในการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด อว.จะเป็นกระทรวงที่สร้างความฝันให้สัมผัสได้เพื่อประชาชน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี

ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !

ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง

"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ

เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”

เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล