นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาสัยรังสิตในฐานะโฆษกคณะกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์การใช้กัญชาอย่างเข้าใจ กระทรวงสาธารณสุข โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว ระบุว่า เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2565 นายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ ครั้งที่ 2/2565
ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ได้กล่าวถึงความสำคัญของการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (Harm Reduction) ความหมายคือ การลดปัญหา หรือภาวะเสี่ยงอันตราย การแพร่ระบาด การสูญเสียจากยาเสพติด
เนื่องจาก มติที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยปัญหา ยาเสพติดโลก ค.ศ. 2016 (UNGASS 2016) แนะนำให้ภาคีกำหนดให้มีมาตรการทางเลือกกับผู้เสพยาเสพติด เพื่อผู้เสพเข้าสู่การบำบัดรักษา เช่น การนำมาตรการลดอันตรายจากยาเสพติด (Harm Reduction)รวมถึงการพัฒนาทางเลือก (Alternative Development) มาปรับใช้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นไปอย่างยั่งยืน
กัญชา ถูกนำมาใช้ในการลดอันตรายจากการใช้ยาและยาเสพติดที่รุนแรง (Harm Reduction) ในต่างประเทศมีงานวิจัยในการนำสาร CBD (ซีบีดี) ในกัญชามาใช้บำบัดการติดยาแอมเฟตามีน เช่น
ในแวนคูเวอร์ แคนาดา ปี 2021 (พ.ศ. 2564) มีโครงการใช้กัญชาเพื่อลดอันตรายจากการใช้สารเสพติดอื่นๆได้ สามารถทดแทนการใช้สารกลุ่มกระตุ้นจิตประสาทได้ถึง 50% ทดแทนการใช้โอปิออยด์ได้ถึง 31%
ในนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ปี 2021 (พ.ศ. 2564) การใช้กัญชาอาจเป็นทางเลือกทางการแพทย์ที่ปลอดภัยกว่าการใช้โอปิออยด์ เพิ่มการเข้าถึงการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด ทางด้านทรัพยากรและการรักษา
ในโคโลราโด สหรัฐอเมริกาปี 2005 (พ.ศ. 2548)ในประชากรส่วนใหญ่ที่ใช้กัญชา จะไม่ไปใช้ยาเสพติดที่รุนแรงกลุ่ม Hard drugs ฯลฯ
ในประเทศไทยก็มีผลงานวิจัยองค์ความรู้การแพทย์แผนไทยเรื่องนี้เช่นกัน เช่น ตำรับยาอดฝิ่นที่มีกัญชาเป็นส่วนผสม
การประชุมในครั้งนี้ได้เน้นเรื่องการพัฒนาการนำกัญชามาใช้ในการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดที่รุนแรง เช่น ยาบ้า ซึ่งเป็นปัญหามากในปัจจุบันของประเทศ จึงได้จัดตั้งคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการแพทย์ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมสุขภาพจิต สถาบันกัญชาทางการแพทย์ ฯลฯ มาช่วยกันพัฒนาจัดทำแนวทางลดอันตรายจากยาเสพติด (Harm Reduction) อย่างจริงจัง
รวมถึงจัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านงานวิจัยกัญชาทางการแพทย์ เพื่อรวบรวม พัฒนา ต่อยอดองค์ความรู้ในด้านกัญชาทางการแพทย์ของประเทศไทย
“ยาบ้า ไม่เท่ากับกัญชา เมื่อเทียบกับยาบ้าแล้ว กัญชาไม่เป็นปัญหายาเสพติด ยาบ้าต่างหากเป็นปัญหาหลักของยาเสพติด” นายแพทย์ประพนธ์ ได้กล่าวทิ้งท้าย
ข่าวดังกล่าวข้างต้น คือ ความก้าวหน้าที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข ที่นำข้อมูลและถอดบทเรียนจากประเทศที่ใช้กัญชาทั่วโลก เพื่อทำให้กัญชาไปไกลมากกว่าเพื่อใช้ทางการแพทย์ สุขภาพ และเศรษฐกิจแล้ว แต่กำลังจะก้าวไปสู่การลดปัญหายาเสพติดที่รุนแรง เพื่อนำไปสู่การลดปัญหาทางสังคม และการลดอาชญากรรมในประเทศด้วย
จึงต้องตั้งต้นการย้อนกลับไปที่งานวิจัยในปี พ.ศ. 2554 เสนอผ่านวารสารการเสพติดยาและแอลกอฮอล์ Drug and Alcohol dependence เป็นงานวิจัยที่ศึกษากลุ่มประชากรขนาดใหญ่ โดยมีการสำรวจตัวอย่างผู้สูบบุหรี่ 15,918 คน, แอลกอฮอล์ 28,907 คน และกัญชาก็มีการสำรวจมากถึง 7,389 คนพบว่า
นับตั้งแต่ใช้ครั้งแรกที่สูบบุหรี่จะมีโอกาสจะเสพติดบุหรี่สูงสุด 67.5%, ครั้งแรกที่ดื่มเหล้ามีโอกาสติดเหล้าสูงสุด 22.7% และหากสูบกัญชาครั้งแรกจะมีโอกาสติดกัญชาสูงสุดเพียง 8.9% เท่านั้น
ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านในสหรัฐอเมริกา ประกอบไปด้วย 1) ศาสตราจารย์ แจค อี. เฮนนิ่งฟิลด์ (Jack E. Henningfield) ผู้เชี่ยวชาญด้านสารเสพติด มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ทำงานให้หลายองค์กรสำคัญเช่น NIDA, FDA, DEA 2) ศาสตราจารย์ นีล แอล. เบนโนวิทซ์ (Neal L. Benowitz) ศูนย์วิจัยยาสูบ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เมือง ซานฟรานซิสโก และ 3) รองศาสตราจารย์แดเนียล์ เอ็ม. เพอร์รีน (Daniel M. Perrine) วิทยาลัยโลโยลา เมืองบัลติมอร์ รัฐแมรี่แลนด์ ได้ให้คะแนนจัดลำดับการจัดฤทธิ์การเสพติด 6 ชนิดพบว่า….
ในบรรดาสารเสพติด 6 ชนิด ส่ิงที่ติดง่ายที่สุดไปหาน้อยที่สุดตามลำดับคือ บุหรี่, เฮโรอีน, โคเคน, แอลกอฮอล์, กาแฟ, และกัญชา
ดังนั้นกัญชาจึงมีฤทธิ์เสพติด “น้อยที่สุด” และ น้อยกว่าหรือใกล้เคียงกับ “กาแฟ” เท่านั้น
โดยองค์การสหประชาชาติได้มีการประมาณการว่าในปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมามีผู้ใช้กัญชาจากทั่วโลกมากถึง 209 ล้านคนแล้ว
ความจริงปรากฏต่อมาในวารสารห้องสมุดสาธารณะทางด้านวิทยาศาสตร์ PLoSOne ได้เผยแพร่ บทความวิจัยในเรื่องผลกระทบของการให้กัญชาเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายในสหรัฐอเมริกาต่อกลุ่มธุรกิจยา โดยเผยแพร่เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565โดยเป็นวิจัยในมลรัฐที่ทำให้กัญชาถูกกฎหมาย (ทั้งทางการแพทย์และนันทนาการ) ในช่วง 22 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539- 2562 พบว่า “ยอดขายยาโดยรวมลดลง”
โดยกฎหมายที่ทำให้กัญชาถูกกฎหมายในสหรัฐอเมริกาจะส่งผลทำให้ยอดขายต่อปีของผู้ผลิตยา “ลดลง”ปร ะมาณ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปีโดยเฉลี่ย และยังคาดการณ์อีกด้วยว่า 16 มลรัฐที่เหลือที่ยังไม่ได้ทำให้กัญชาถูกกฎหมายหากทำให้กัญชาถูกกฎหมายแล้วจะทำให้ค่าใช้จ่ายยาแผนปัจจุบันต่างๆลดลงไปประมาณ 11%
เช่นเดียวกับวารสารเศรษฐกิจสุขภาพ Health Economics ฉบับตีพิมพ์เมื่อเดือนเมษายน 2565 ในการสำรวจการจ่ายยาในมลรัฐของสหรัฐอเมริกาหลังได้ดำเนินการให้ “การนันทนาการเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย” พบว่า
มีการลดการจ่ายยาต่างๆ ลง คือประชากรใช้ยาแก้อาการซึมเศร้าลดลงไป 11.1%, ประชากรใช้ยาแก้วิตกกังวลลดลงไป 12.2%, ประชากรลดการใช้ยาแก้ปวดไป 8%, ประชากรลดการใช้ยาโรคลมชักไป 9.5%, ประชากรลดยาโรคจิตไป 10.7%, ประชากรลดการใช้ยานอนหลับไป 10.8%
วารสาร BMJ Journal/ BMJ Open ในหมวดงานวิจัยเกี่ยวกับโรคเบาหวานและวิทยาต่อมไร้ท่อ เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2555 พบเรื่องที่น่าสนใจอีกด้วยว่าประชากรที่ยิ่งบริโภคกัญชากลับลดความเสี่ยง “โรคเบาหวานไม่น้อยกว่า 2 เท่าตัว”
นอกจากนั้นวารสาร Cancer Medicine ซึ่งยอมรับให้ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 โดยเป็นการรวบรวมผลการศึกษาจากฐานข้อมูลของthe UK Biobank 500,000 คน เริ่มเก็บข้อมูล ปี พ.ศ.2549 ติดตามไปนาน ถึง 14 ปีและวิเคราะห์ผล ณ ปี พ.ศ.2563 พบว่า
คนที่ไม่เคยใช้กัญชา เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก 4%, แต่คนที่เคยใช้กัญชาเป็นมะเร็งต่อมลูกมากน้อยกว่า โดยเป็นเพียง 2% หรือต่างกัน 2 เท่าตัว คนที่ไม่เคยใช้กัญชา เป็นมะเร็งไต 0.16%, แต่คนที่เคยใช้กัญชาเป็นมะเร็งไตน้อยกว่า โดยเป็นเพียง 0.08% หรือต่างกัน 2 เท่า
จากเหตุผลดังกล่าวสะท้อนความสนใจในศักยภาพของกัญชาในทางการแพทย์และสุขภาพ (รวมทั้งบทบาทส่งเสริมสุขภาพ)นั้นมีมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำกัญชาเป็นหนึ่งยุทธศาสตร์เพื่อลดความรุนแรงของยาเสพติด ทั้งในมิติเพื่อ ลด การเลิก หรือมาแทนยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ทางจิตในการกระตุ้นประสาท[10] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการก่อความรุนแรงหรือการก่ออาชญากรรม
เพราะกัญชาเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์หลายด้าน แม้จะใช้ “เกินขนาด” ก็ออกฤทธิ์ทำให้เกิดเมามึนแล้วเกิดความขาดกลัว (ที่ก่อให้เกิดอาการเข็ดขยาด หรือระวังตัวไปเองตามธรรมชาติ) หรือ การทำให้นอนหลับ ซึ่งเป็นกลไกที่ “ไม่ก่อให้เกิดการกระตุ้นทางจิตประสาท” ให้ไปทะเลาะวิวาท หรือก่ออาชญากรรม ซึ่งคุณลักษณะนี้แตกต่างจากทั้งเหล้า และยาบ้าอย่างสิ้นเชิง
ในทางตรงกันข้ามกัญชาอาจจะมีบทบาทในการบำบัดเพื่อลดอาการกระตุ้นประสาทให้บ้าคลั่งในเนื่องมาจากเหล้าและยาบ้าได้ด้วย
ภูมิปัญญานี้มีอยู่ในการแพทย์แผนไทยแล้ว ปรากฏในตำราสรรพคุณยาในตำรา “แพทย์ประจำบ้าน” ที่ พระทิพจักษุสาสตร์ หรือ พระยาแพทย์พงศาพิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) แพทย์ประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อ 107 ปีที่แล้วซึ่งระบุความตอนหนึ่งว่า
กัญชามีสรรพคุณ เป็น “ยาสงบเส้นประสาท” และบรรเทาอาการ “คลั่งเพ้อ”
นอกจากนั้นยังปรากฏว่าทั้ง “กัญชา” และ “กระท่อม” ได้ถูกนำมาใช้ในตำรับยาไทยในตำราแพทย์แผนไทยของขุนโสภิตบรรณรักษ์เพื่อ “อดฝิ่น”อีกด้วย
น่าเสียดายที่คนไทยจำนวนหนึ่งที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญหรือไม่เชื่อภูมิปัญญาไทยที่มาอย่างยาวนาน
แต่ในความจริงกลับปรากฏว่ากัญชาได้ถูกนำมาเริ่มต้นนำมาใช้สารสกัดแคนนาบิไดออลทั้งในกัญชาหรือกัญชง เพื่อลดการติดยากลุ่มฝิ่นหรือโอปิออยด์ รวมทั้งเฮโรอีน
รวมทั้งการใช้กัญชาเพื่อลดการติดโคเคนในแคนนาดาอีกด้วย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการเดินตามหลังภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่มีมาก่อนทั้งสิ้น
โดยวารสารเกี่ยวกับการลดความรุนแรงจากยาเสพติดโดยตรงที่เรียกว่า Harm Reduction Journal ฉบับเผยแพร่เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 นั้นคณะวิจัยชาวแคนนาดาได้ทำการสำรวจประชากรชายและหญิงประมาณ 3,110 คน อายุเฉลี่ย 40 ปี โดยเป็นผู้ป่วยที่มีอาการปวดหรือมีปัญหาทางสุขภาพจิต 1,700 คน หรือประมาณ 83.7%
โดยกลุ่มประชากรกลุ่มนี้ประมาณ 1,515 คน หรือประมาณ 74.6% ได้ใช้กัญชาทุกวันประมาณ 1.5 กรัม ประชากรส่วนใหญ่ 953 คนใช้เพื่อแทนใบสั่งยา 69.1% ซึ่งรวมถึงการลดยาในกลุ่มฝิ่นหรือโอปิออยด์, รองลงมาอีก 515 คนหรือประมาณ 44.5% ใช้เพื่อทดแทนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, โดยอีกจำนวน 406 คน หรือประมาณ 31.1% ใช้เพื่อทดแทนบุหรี่ และยังมีประชากรอีก 136 คน หรือประมาณ 26.6% ใช้เพื่อทดแทนยาเพติดที่ผิดกฎหมายอื่นๆ
งานวิจัยชิ้นนี้ได้พบข้อมูลการสำรวจว่าการใช้กัญชามีบทบาทในการมาทดแทนยากลุ่มฝิ่นหรือโอปิออยด์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาเสพติดอื่นๆ
และยังเห็นว่างานวิจัยกำลังมีมากขึ้นที่กำลังจะแนะนำว่าการเพิ่มขึ้นในการเข้าถึงกัญชาทั้งทางการแพทย์และนันทนาการอย่างมีการควบคุมให้เหมาะสม สามารถส่งผลทำให้ลดความรุนแรงจาก โอปิออยด์, แอลกอฮอล์ บุหรี่ และยาเสพติดอื่นๆได้
ต่อมาผลการศึกษาวารสารสาธารณสุขของอเมริกัน ชื่อ American Journal of Public Health (AJPH) ได้เผยแพร่งานวิจัยเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2564 ในการศึกษาที่เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนนาดาระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559-2561 พบว่า 25% ของผู้ที่ใช้กัญชานั้นเพื่อลดยาที่อันตรายหรือรุนแรงอย่างอื่นที่เรียกว่า “Harm Reduction” (เช่น เฮโรอิน, ฝิ่น, โคเคน, ยาบ้า, หรือแอลกอฮอล์) และพบเหตุผลที่มากที่สุดคือใช้กัญชาเพื่อทดแทนยาเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทถึง 50% และการทดแทนกลุ่มฝิ่นหรือโอปิออยด์ที่ผิดกฎหมายอีก 31%
หัวหน้าคณะวิจัยชาวแคนนาดาคนเดียวกันนี้ ได้วิจัยต่อเนื่อง และ ได้ทำงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารกัญชาและสารสกัดจากกัญชาในปีต่อมาชื่อ Cannabis and Cannabinoid Research เผยแพร่เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565ในการศึกษาเรื่องกัญชาแบบไปข้างหน้า (Cohort Study) ในการเฝ้าสังเกตการณ์กลุ่มประชากร 5,706 คน พบว่า
การใช้กัญชาได้ประสบความสำเร็จในการทดแทนกลุ่มประชากรที่ใช้ยาที่รุนแรง โดยเฉพาะยาบ้า (Metamphetamine) และทำให้ต้องมองกัญชาเป็น “ยุทธศาสตร์” ที่จะนำมาใช้เพื่อลดปัญหาผู้ที่ใช้ยาเสพติดมากขึ้น
การมองกัญชาว่าเป็นปัญหายาเสพติดแบบเดิมๆ จึงไม่สามารถแก้ปัญหายาเสพติดได้อีกต่อไป การวิสามัญฆ่าตัดตอนจะไม่มีทางแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน ตราบใดที่เจ้าหน้าที่รัฐและเจ้าหน้าที่ตำรวจยังคงเป็นกลไกในการร่วมค้ายาเสพติดจำนวนมากเสียเอง
แต่ทว่าการใช้กัญชาในการลดปัญหายาเสพติดที่รุนแรงและลดปัญหาอาชญากรรมนั้นเป็นทิศทางที่กำลังดำเนินไปในหลายประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งในแคนนาดา เนเธอร์แลนด์ และหลายมลรัฐในสหรัฐอเมริกา และเป็นการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ยั่งยืนและชัดเจนกว่า
ข้อสำคัญที่สุดหากนักการเมืองที่มี “ปัญญา” และ “วิสัยทัศน์” ก็ควรจะต้องช่วยกันในการเร่งพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ให้ผ่านโดนเร็วด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บูมเศรษฐกิจ 2 ชาติ ! “อนุทิน” เร่งสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน จับมือกัมพูชา กระตุ้นค้าขายชายแดน-ท่องเที่ยว
วันที่ 21 พย. บริเวณสะพานข้ามคลองตะเคียน ด่านผักกาด จุดก่อสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะผู้บริหาร อาทิ นายอรรษิษฐ์ สัมพัน์รัตน์
'อนุทิน' ยันภูมิใจไทยโหวตเสียงข้างมาก 2 ชั้นในการทำประชามติ
'อนุทิน' ยืนยัน ภท.โหวตเสียงข้างมาก 2 ชั้น หากนำมติ กมธ.ร่วมประชามติเข้าโหวตในสภา ย้ำเพื่อให้ ปชช.ตัดสินใจเรื่องสำคัญอย่างแท้จริง ชี้ทุกอย่างมีเงื่อนเวลาถ้าแก้ไม่ทันก็รอสภาชุดหน้า
“ผู้ประกอบการ ราชบุรี” ชม “อนุทิน” ฟื้นกีฬาวัวลาน ให้แข่งตอนกลางคืน มั่นใจ เป็นงานเฟสติวัลระดับโลก
จากกรณีที่กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวง ให้การแข่งขันวัวลานจัดขึ้นในเวลากลางคืน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 โดยล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางไปเปิดการแข่งขันวัวลานที่
'ภูมิใจไทย' นัดหลังปีใหม่ ดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาล
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงการเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงพรรคร่วมรัฐบาลครั้งต่อไป ว่า
'อนุทิน' ไม่หวั่น 'ทักษิณ' โวกวาด 200 เสียง ยัน 'รมต.-สส.' ภท. ขยันทำงาน
'อนุทิน' ชี้ 'ทักษิณ' โวเลือกตั้งครั้งหน้ากวาด 200 เสียง มีสิทธิตั้งเป้า ยัน ภท. ไม่เงียบ 'รมต.-สส.' ลงพื้นที่ทำงานขึ้นเหลือล่องใต้ ปัดส่งผู้สมัครชิง นายก อบจ. ในนามพรรค
เคาะ 'รองปลัดคลัง-อธิบดี กสร.' นั่งบอร์ดไตรภาคี ลุยขึ้นค่าแรง 400 ของขวัญปีใหม่
'กระทรวงแรงงาน' เตรียมเสนอชื่อ 'ตัวแทน กสร.-รองปลัดคลัง' นั่งบอร์ดไตรภาคี ขง ครม. 19 พ.ย. เดินหน้าขึ้นค่าแรง 400 บาท เป็นของขวัญปีใหม่