ประกันตนมาตรา 33 เป็นหนึ่งในแรงงานสำคัญที่เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ดังนั้นสำนักงานประกันสังคมจึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างหลักประกันในการดำเนินชีวิตให้แก่ผู้ประกันตนมาโดยตลอด ซึ่งครอบคลุมถึงสิทธิประโยชน์รอบด้าน โดยเฉพาะกรณีว่างงาน ที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 เท่านั้นจะได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองนี้เมื่อถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง โดยหากผู้ประกันตนออกจากงานแล้วไม่เกิน 6 เดือนและสมัครใจที่จะอยู่ในระบบประกันสังคมต่อไปจะต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 เพื่อรักษาสิทธิประกันสังคมให้คุ้มครองต่อเนื่อง
นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ผู้ที่ต้องการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 จะต้องเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ออกจากงาน ซึ่งผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับสิทธิประโยชน์ 6 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
สำหรับการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39 นั้นจากเดิมปกติที่ผู้ประกันตนจะต้องนำส่งเงินสมทบทุกเดือน ในอัตราเดือนละ 432 บาท ซึ่งใช้ฐานการคำนวณเงินสมทบเดือนละ 4,800 บาทเท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (9% x 4,800) แต่ล่าสุดได้มีประกาศกฎกระทรวงลดอัตราเงินสมทบเป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 เหลือเดือนละ 240 บาท ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 เพื่อเป็นการช่วยเหลือนายจ้างและผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนเมื่อตาย กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ลาออก ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ) หรือภายในระยะเวลา 12 เดือนส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ครบ 9 เดือน (สิ้นสภาพในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน) ดังนั้น ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน
ทั้งนี้ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ โดยผู้ประกันตนสามารถส่งเงินสมทบได้หลายช่องทางผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร/หน่วยบริการ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เคาน์เตอร์โลตัส เคาน์เตอร์เซอร์วิส (เซเว่น-อีเลฟเว่น) ทุกสาขา เคาน์เตอร์ CenPay Powered by บุญเติม ผ่านระบบ Pay at Post ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ หรือชำระเงินสมทบโดยหักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วน 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง ทาง Line ID: @ssothai และทางเว็บไซต์ www.sso.go.th
Website: www.sso.go.th
Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
Instagram: sso_1506
Twitter: @sso_1506
YouTube: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
Hotline: 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
LINE: @SSOTHAI
TikTok: @SSONEWS1506
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"พิพัฒน์” ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ
มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร
'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน
รู้ยัง! ประกันสังคม ให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย สามารถล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องล้างไตอัตโนมัติ (APD) ได้แล้ว
นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยถึงการดูแลผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยด้วยโรคไต ว่า การรักษาโรคไตวายเรื้อรังเป็นภาระที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ป่วย
'บุญสงค์' ปลัดแรงงานมอบนโยบาย “MOL TRUST” ให้ ขรก.ทั่วประเทศ ขับเคลื่อนกระทรวงแรงงาน เป็นที่ยอมรับ เชื่อมั่น ไว้วางใจ ในการพัฒนาแรงงานทุกมิติ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08.00 น. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวมอบนโยบายแนวทางการดำเนินงาน แก่ข้าราชการกระทรวงแรงงานทั่วประเทศเพื่อขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงแรงงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า
“พิพัฒน์” รมว.แรงงาน แจงมาตรการลดเงินสมทบและขยายระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ ช่วยเหลือนายจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ในพื้นที่ประสบอุทกภัย
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง ผู้ประกันตนในพื้นที่ประสบอุทกภัย ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม