‘จุติ ไกรฤกษ์’ รมว.พม. ร่วมถอดบทเรียนความรุนแรงหนองบัวลำภู ขณะที่กองทุนสวัสดิการชุมชนร่วมสมทบน้ำใจเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

รมว.พม. (เสื้อในสีเหลือง) เยี่ยมครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ

หนองบัวลำภู / ‘จุติ  ไกรฤกษ์’  รมว.พม.  นำคณะผู้บริหารกระทรวง พม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมถอดบทเรียนการให้ความช่วยเหลือครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่จังหวัดหนองบัวลำภู พร้อมตั้งทีมงาน 39 ทีมเข้าไปดูแลเยียวยาฟื้นฟูครอบครัว  ขณะที่กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล 67 กองทุนร่วมสมทบน้ำใจเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม  เวลา 10.00  น.  นายจุติ  ไกรฤกษ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร พม.  ได้เดินทางมาที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดหนองบัวลำพู   เพื่อประชุมถอดบทเรียนการให้ความช่วยเหลือครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ตำบลอุทัยสวรรค์  อำเภอนากลาง โดยมีนายสุวิทย์ จันทร์หวร  รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู  (รักษาการ ผวจ.) และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดหนองบัวลำภูและอุดรธานีเข้าร่วมประชุม

นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.พม.

ทั้งนี้เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและพื้นที่ข้างเคียงในตำบลอุทัยสวรรค์เกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณบ่ายโมงของวันที่  6 ตุลาคม  หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งในท้องถิ่นและส่วนกลาง  รวมทั้งหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. ในพื้นที่ จ.หนองบัวลำภูและใกล้เคียง  ได้ระดมทีมงานนักสังคมสงเคราะห์และนักจิตวิทยาเข้าไปให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ

พม.จัด 39 ทีมงานลงพื้นที่ดูแลครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ

นายจุติ  ไกรฤกษ์   รมว.พม.  กล่าวว่า  จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในจังหวัดหนองบัวลำภูนั้น วันนี้จึงมาถอดบทเรียน   และมาจัดการเรื่องทีมงานเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าไปดูแลเยียวยาครอบครัวที่ประสบเหตุ   โดยแบ่งทีมงานเป็น 39 ทีม เข้าไปดูแลเรื่องภาวะสุขภาพจิต   ภาวะเศรษฐกิจ  และคุณภาพชีวิตให้ครบถ้วน   รวมทั้งสร้างขวัญและกำลังใจให้กับชุมชนในพื้นที่ที่มีปัญหา   และจากนี้ไปจะติดตามเรื่องการสร้างเครือข่ายในการป้องกันความรุนแรง

รมว.พม. กล่าวต่อไปว่า    หลังจากนี้ไปกระทรวง พม. ซึ่งมีหน้าที่ติดตามเยียวยาสังคมจะลงพื้นที่อย่างเข้มข้น และจะรายงานความคืบหน้าให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือน   และหวังว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะเป็นบทเรียนที่สำคัญสำหรับสังคมไทยที่จะใช้เหตุการณ์นี้พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสแก้ปัญหาของสังคม   แก้ปัญหายาเสพติด  แก้ปัญหาการใช้อาวุธปืนที่ไม่เหมาะสม   แก้ปัญหาความยากจนซึ่งเป็นสาเหตุของความเครียด

ส่วนการดำเนินการหลังจากการถอดบทเรียนแล้ว  ทีมงานทั้ง  39 ทีมงานจะลงพื้นที่เพื่อเร่งพื้นฟูสุขภาพสภาวะทางจิต   ฟื้นฟูอาชีพ  และฟื้นฟูคุณภาพชีวิตให้ครบถ้วนในทุกครอบครัวที่สูญเสีย  โดยจะจัดให้มีกิจกรรมการแข่งขันกีฬาทั้งชายหญิง  กีฬาผู้สูงอายุ   รวมทั้งการฝึกอาชีพในระยะสั้นเพื่อให้ครอบครัวผู้สูญเสียสามารถประกอบอาชีพได้เลย

รมว.พม. และคณะผู้บริหาร  ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ

น้ำใจจากกองทุนสวัสดิการชุมชน

หลังจากนั้นในช่วงบ่ายของวันที่ 14  ตุลาคม  รมว.พม. พร้อมด้วยผู้บริหาร  คณะเจ้าหน้าที่  และนายกฤษดา  สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  ได้ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจ  พร้อมทั้งมอบเครื่องอุปโภค - บริโภคให้แก่ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งนี้  

นอกจากนี้กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลในจังหวัดหนองบัวลำภูรวม 67 กองทุน  ได้ร่วมกันสมทบเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบและครอบครัวจำนวน  160,000 บาท   แยกเป็น  1.เครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู   ช่วยเหลือผู้เสียชีวิตรายละ 2,000 บาท  จำนวน 36 คน   ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ  รายละ 1,000 บาท 11 ราย  รวมเป็นเงิน 85,000 บาท   2.กองทุนสวัสดิการตำบลอุทัยสวรรค์  ช่วยเหลือจำนวน 4 ราย  รวม 42,000 บาท   และ 3.ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบที่ไม่ได้เป็นสมาชิก  จำนวน 33 ราย  รายละ 1,000 บาท   รวม 33,000 บาท

ทั้งนี้กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลเป็นกองทุนที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ ‘พอช.’ สนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ  ร่วมกันจัดตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่อเป็นกองทุนสำหรับช่วยเหลือสมาชิก (รวมทั้งผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก) โดยมีหลักการสำคัญคือ  สมาชิกจะต้องสมทบเงินเข้ากองทุนวันละ 1 บาท  หรือปีละ 365 บาท 

ขณะที่รัฐบาลจะสมทบเงินสนับสนุนกองทุนผ่าน พอช. รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เช่น  อบต. สามารถร่วมสมทบเงินเข้ากองทุนได้  เพื่อให้กองทุนเติบโต  ช่วยเหลือสมาชิกในยามเดือดร้อนจำเป็น  เช่น  เกิด  เจ็บป่วย  เสียชีวิต  ฯลฯ  ปัจจุบันมีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนในระดับตำบล/เทศบาลทั่วประเทศประมาณ 5,500 กองทุน  มีเงิน กองทุนรวมกันเกือบ 20,000 ล้านบาท

นายกฤษดา  สมประสงค์  ผอ.พอช. ร่วมลงพื้นที่ช่วยเหลือครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน

UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’

ชู 'อบจ.' ขับเคลื่อนงานฟื้นฟูสมรรถภาพ เชื่อมระบบฟื้นฟูกายใจชุมชนครบวงจร

สสส.ชวน อบจ.เข้าร่วมกองทุนฟื้นฟูฯเกิดขึ้นทั่วประเทศ ขณะที่ นายกสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป และ นายกสมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยชี้ระบบต้องเชื่อม ฟื้นฟู -กาย -ใจ ชุมชนให้ครบวงจร

รวมพลังคนจนแก้ปัญหาที่ดิน-ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2567

ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้คนทั่วโลก UN-Habitat หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’

‘21 ปีบ้านมั่นคง’ พอช. แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนทั่วประเทศ กว่า 3 แสนครัวเรือน

รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยแก่คนจนในเมืองที่ ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด

'น้ำเจ้าพระยา' ขึ้นสูง! ผวาท่วมตลาด-สถานที่เที่ยวชื่อดัง

น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น ลอดใต้พนังกั้นน้ำหน้าตลาดสรรพยา เทศบาลต้องเร่งสูบออก ป้องท่วมตลาดและโรงพัก ร.ศ.120 สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดัง

เสียงจากคลองเปรมประชากร…บ้านหลังใหม่ชีวิตใหม่ “คืนสายน้ำให้คนคลอง คืนสายคลองให้คนเมือง”

คลองเปรมประชากร มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คลองนี้ได้ประสบปัญหามากมาย