พฤติกรรมการใช้ชีวิต การกิน การอยู่ของผู้คน เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงการประสบอันตรายที่ไม่อาจคาดคิดในชีวิตประจำวัน
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ จึงเป็นตัวแปรที่อาจทำให้ผู้ประกันตนเกิดอาการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจนต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งในเรื่องนี้ทางสำนักงานประกันสังคม ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการดูแลผู้ประกันตนได้เข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดีและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ที่จะคุ้มครองผู้ประกันตนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ซึ่งปกติแล้วถ้าผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือมีอาการเจ็บป่วยทั่วไป สามารถใช้สิทธิประกันสังคมเข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลตามสิทธิได้ทันที รวมถึงสิทธิการฉีดวัคซีนตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่กำหนดขึ้นในแต่ละปีอีกด้วย
นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ระบุว่าผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่มิใช่เนื่องจากการทำงานนั้น จะต้องเป็นผู้ประกันตนที่นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ หรือจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย โดยหากเป็นการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยปกติทั่วไป ผู้ประกันตนจะได้รับการรักษาพยาบาล เมื่อเข้ารักษาในสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนมีสิทธิ และไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ แต่หากผู้ประกันตนต้องหยุดพักรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์ในช่วง 30 วันจะได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้จากนายจ้างก่อนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและหลังจากวันที่ 31 เป็นต้นไปจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับตามใบรับรองแพทย์
ที่ระบุวันให้หยุดพักรักษาตัวครั้งละไม่เกิน 90 วัน และไม่เกิน 180 วันต่อปี เว้นแต่ผู้ประกันตนป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ไม่เกิน 365 วันต่อปี นอกจากนี้หากผู้ประกันตนป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เมื่อเสียชีวิตจะได้รับค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีตายเช่นเดียวกับกรณีตายตามสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 33 อีกด้วย
สำหรับเอกสารที่ผู้ประกันตนต้องนำมายื่นในการรับเงินทดแทนขาดรายได้ ประกอบด้วย 1. แบบคำขอประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01) 2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 3. สำเนาบัตรประกันสังคม (ต่างชาติ/ต่างด้าว) 4. สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (ต่างชาติ/ต่างด้าว) 5. ใบรับรองแพทย์ตัวจริงที่ระบุวันหยุดงาน 6. หนังสือรับรองของนายจ้าง เพื่อยืนยันว่าได้รับค่าจ้างในวันที่ลาป่วยครบ 30 วันใน 1 ปีปฏิทิน (ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน) และแพทย์มีคำสั่งให้หยุดงานต่ออีก 7. สถิติวันลาป่วยที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 8. สำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล (ถ้ามี) 9. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่น
ผู้ประกันตนสามารถยื่นแบบคำขอได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ /จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วน 1506 ให้บริการ 24 ชั่วโมง หรือ Line ID: @ssothai Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน และทางเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th
Website: www.sso.go.th
Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
Instagram: sso_1506
Twitter: @sso_1506
YouTube: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
Hotline: 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
LINE: @SSOTHAI
TikTok: @SSONEWS1506
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประกันสังคมเผย เปิดรับสิทธิโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ปี 2567 วันแรก 1 พ.ย. 2567 ผู้ประกันตนให้ความสนใจเกือบเต็มโควตา ยื่นขอรับสิทธิกว่า 9,000 ล้านบาท
โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน พ.ศ. 2567 นี้ จะช่วยให้ผู้ประกันตนมีสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อที่อยู่อาศัย ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย หรือซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างที่อยู่อาศัยได้อัตราดอกเบี้ยต่ำ เพียงร้อยละ 1.59 ต่อปี
'พิพัฒน์' รมว.แรงงาน ห่วงทายาทพนักงานกวาดถนนเทศบาลนครอ้อมน้อย ประสบเหตุถูกรถกระบะชนเสียชีวิต 2 ราย มอบประกันสังคม จ่ายเงินทดแทนกรณีตายในงาน
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยและแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมมอบหมายให้ นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เร่งดำเนินการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ
สปส. ย้ำขอความร่วมมือ นายจ้าง “แจ้งเข้า-แจ้งออก” ให้ลูกจ้างตามเวลาที่กฎหมายกำหนด ผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม
นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
“บุญสงค์”ปลัดแรงงาน เข้ารับตำแหน่งวันแรก แถลงมุ่งผลักดันนโยบาย ปี 68 สร้างความเชื่อมั่น ยอมรับ ไว้วางใจ สนับสนุนความเป็นธรรมแก่คนทำงานทุกภาคส่วน
วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 น. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวแถลงนโยบายกระทรวงแรงงานและแนวทางการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต่อสื่อมวลชน ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า กระทรวงแรงงาน
สปส. ปลื้มรับ 12 รางวัล มาตรฐานศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ประจำปี 2567
สำนักงานประกันสังคม (สปส.) คว้าโล่และตรารับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (GECC) (Government Easy Contact Center : GECC) ประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวน 12 ศูนย์ ได้แก่ ระดับก้าวหน้า 1 ศูนย์ และระดับพื้นฐาน 11 ศูนย์ จากการบริการประชาชนให้ได้รับความสะดวก
สปส. คุ้มครองผู้ประกันตนกรณีตาย ทายาทได้สิทธิรับค่าทำศพและเงินสงเคราะห์
สำนักงานประกันสังคม คำนึงถึงสิทธิประโยชน์การคุ้มครองชีวิตของผู้ประกันตนทุกคน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การเกิด แก่ เจ็บและตาย โดยหากผู้ประกันตนประสบเหตุไม่คาดคิดจนทำให้ถึงแก่ความตาย