กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกับภารกิจเปลี่ยนค่าใช้จ่ายเป็นทุน-ต้นทุนเป็นกำไร

ในช่วงที่ผ่านมา “โลจิสติกส์” ถูกหยิบยกให้เป็นประเด็นสำคัญในระดับชาติ ดังจะเห็นได้จากนโยบายการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่ถูกบรรจุอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ของประเทศทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ต่างก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เนื่องจากระบบโลจิสติกส์มีต้นทุนค่อนข้างสูง ดังนั้น การยกระดับระบบโลจิสติกส์ของประเทศจะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศไทย ดังนั้น จึงได้เห็นหน่วยงานจากทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชน รวมถึงภาคการศึกษา ต่างก็ได้เดินหน้าพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งหนึ่งในหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ที่ได้รับมอบหมายจาก นายสุริยะ จึงรุ่งเรื่องกิจ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม ให้เป็นหน่วยงานหลัก ทั้งนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมก็ได้นำประเด็นการพัฒนาโลจิสติกส์อุตสาหกรรมบรรจุในแผนยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีตัวชี้วัดคือต้นทุนโลจิสติกส์และ โซ่อุปทานของสถานประกอบการเป้าหมายลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ซึ่งสอดคล้องและสามารถตอบโจทย์ตัวชี้วัดการลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ

เมื่อไม่นานมานี้ทางทีมฐานเศรษฐกิจได้มีโอกาสพูดคุยกับ นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถึงความสำคัญ และแนวทางการทำงานเพื่อสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ เป็นที่ทราบกันดีว่าการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการทุกภาคส่วน เนื่องจากกิจกรรมโลจิสติกส์ครอบคลุมกระบวนงานที่กว้างขวางตลอดโซ่อุปทาน ไม่ใช่เฉพาะแค่การขนส่งสินค้าหรือการบริหารสินค้าคงคลังเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงกระบวนการวางแผน การจัดการและควบคุมการไหลของวัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป ข้อมูล การเงิน ตลอดจนสารสนเทศที่เกี่ยวข้องตั้งแต่จุดจัดเก็บ จุดผลิตไปจนถึงจุดที่มีการใช้งาน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยความถูกต้อง ทั้งเวลา คุณภาพ ปริมาณ สถานที่ และต้นทุน ด้วยเหตุนี้การบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพและมีต้นทุนที่เหมาะสม

จึงเป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาผู้ประกอบการไทย การบริหารจัดการโลจิสติกส์ก็คือการบริหารกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง ทั้งนี้ การเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานจะทำให้สถานประกอบการมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นใน 3 มิติ ได้แก่ ต้นทุน เวลา และความน่าเชื่อถือซึ่งทาง ดีพร้อม มีรูปแบบการพัฒนาส่งเสริมด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มเป้าหมายมากมายแบ่งออกเป็น 5 แนวทางหลัก 1) การส่งเสริมให้สถานประกอบการมีการบริหารจัดการโลจิสติกส์ภายในองค์กรอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดการลด 2) การส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์และเชื่อมโยงภายในองค์กร 3) การพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้มีความรู้ความเข้าใจหลักการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในระดับสากล 4) การส่งเสริม การสร้างความร่วมมือและเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรเพื่อให้เกิดความ และ 5) การสร้างปัจจัยเอื้อต่อการพัฒนาการบริหารจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการ

​ไม่เพียงเท่านั้นยังได้ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง โดยการฝึกอบรมให้ผู้ประกอบการมีองค์ความรู้ที่จำเป็นในการปรับปรุงประสิทธิภาพโลจิสติกส์ขององค์กร และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์ปัญหาและประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยตนเอง หรือ self-assessment โดยใช้เครื่องมือที่ได้พัฒนาขึ้นมา เช่น Logistics Scorecard และคู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และสอนให้ผู้ประกอบการเขียนแผนปรับปรุงประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ขององค์กร (Action Plan) และนำไปปฏิบัติจริงได้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้การปรึกษาแนะนำ (Coaching) และนำร่องในประเด็นที่สำคัญก่อน ซึ่งเมื่อผู้ประกอบการนำแผนไปปฏิบัติจนประสบความสำเร็จแล้ว เขาก็จะสามารถต่อยอดพัฒนาเขียน Action Plan ปรับปรุงในเรื่องต่อ ๆ ไปได้ จาการดำเนินงานในปี 2564 ดีพร้อมสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและแปรสภาพต้นทุนจมให้กลายเป็นเงินทุนหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 800 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ บริษัทสันติภาพ (ฮั่วเพ้ง 1958) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารกระป๋องสำเร็จรูป ภายใต้ ผลิตภัณฑ์ตรานกพิราบที่สามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ลงถึง 35%

​นายณัฐพล ยังได้เปิดเผยถึงแนวทางการดำเนินงานในปี 2565 ให้ทางทีมงานเพิ่มเติมว่า เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทย รวมถึงบรรเทาผลกระทบของผู้ประกอบการ ทาง ดีพร้อม ได้เตรียมเปิด “โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม” ปี 2565 ขึ้น โดยมีเป้าหมายให้ความช่วยเหลือสถานประกอบการ 200 แห่ง ซึ่งเน้นอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมอาหารและอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมชีวภาพ พลังงาน-เคมีชีวภาพ และผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ทั้งผู้ประกอบการขนส่งสินค้าอุตสาหกรรม และผู้ให้บริการคลังสินค้า ที่ต้องการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน สำหรับกิจกรรมหลักในโครงการ ได้แก่ 1. ส่งเสริมความรู้การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสู่ภูมิภาค        2.ส่งเสริมให้สถานประกอบการประเมินศักยภาพด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์และสามารถวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ได้ด้วยตนเอง 3. จัดทำแผนการปรับปรุงการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ในการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันรายสาขาอุตสาหกรรม 4. การให้คำปรึกษาและนำแผนไปปฏิบัติ ณ สถานประกอบการ 5. กิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของสถานประกอบการ โดยจะมีการแบ่งปันประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศจากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างสถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม

​จากแนวทางการทำงานที่ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้วางแผนไว้ ทำให้เชื่อมั่นว่าในแนวทางนี้จะทำให้เกิดการพัฒนาผู้ประกอบการได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน โดยคาดว่าจะสามารถช่วยผู้ประกอบการในการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ได้ไม่น้อยกว่า1,200 ล้านบาท ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม โทร. 0 2430 6875-76 หรือติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.diprom.go.th และติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.facebook.com/dipromindustry

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมโรงงานฯลั่นจัดการ ‘โรงงานเถื่อน’ สุดซอยไม่กลัวผู้มีอิทธิพล

อธิบดีกรมโรงงานฯ ย้ำ เดินตามนโยบายรัฐมนตรีเอกนัฏ ตรวจสุดซอย ไม่กลัวผู้มีอิทธิพล โรงงานหรือผู้เกี่ยวข้อง รู้เห็น ร่วมทำความผิด เจอคดีถึงที่สุดทันที

โบว์แดง 'รทสช.' ผสานกำลัง 2 กระทรวงปลดล็อก 'โซลาร์รูฟท็อป'

ไทยเดินหน้าพลังงานสะอาด “หิมาลัย” เผย “พีระพันธุ์-เอกนัฏ” ผสานกำลังปลดล็อก “โซลาร์รูฟท็อป” สำเร็จ เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงพรรค

ก.อุตฯ ลุยเสริมทักษะเอสเอ็มอีกว่า 200 ราย

'ศศิกานต์' เผย ก.อุตฯ เดินหน้าส่งเสริมเอสเอ็มอีกว่า 200 ราย เสริมทักษะ เพิ่มขีดการแข่งขัน เน้นดิจิทัลและความยั่งยืน คาดดันเศรษฐกิจโตกว่า 62 ล้านบาท