ในพิธีลงนามความร่วมมือหรือทำ MOU โครงการห้องเรียนสู้ฝุ่น 10 โรงเรียน ที่โรงแรมเฮือนต้นนุ่น อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น เมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยมี นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 2 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นประธาน ทำให้ตระหนักว่าฝุ่น PM 2.5 ถือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ หากเข้าไปสะสมในถุงลมฝอยของปอด แทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดกระจายไปทั่วร่างกาย อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
ประเทศไทยติดอันดับส่งอ้อยสู่ตลาดโลกสูงที่สุดในโลก เกษตรกรในจังหวัดขอนแก่นปลูกอ้อยกันเป็นจำนวนมาก เมื่อเก็บอ้อยแล้วก็จะเผาพื้นที่การเกษตรไร่อ้อย เนื่องจากอ้อยแข็งมากต้องทำลายด้วยการเผาและส่งผลให้นิเวศเสื่อมโทรมลงได้ อีกทั้งมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การเผาป่าส่งผลให้เกิด "หิมะดำ" ปรากฏเป็นฝุ่นสีดำเป็นขุยบนท้องถนน ครูขอนแก่นจึงต้องค้นคว้าหาความรู้เพื่อเตือนภัยฝุ่น PM 2.5 ให้เยาวชนตระหนักรู้แล้วนำไปถ่ายทอดความรู้ให้ครอบครัวที่มีอาชีพเกษตรกรทำไร่อ้อย จังหวัดขอนแก่นเป็นจังหวัดแรกที่มีการรณรงค์ให้ใช้หน้ากากอนามัยเพื่อกรองฝุ่นขนาดจิ๋วที่จะเข้าไปทำลายปอดและระบบทางเดินหายใจได้ อีกทั้งยังทำลายคุณภาพชีวิตของเยาวชนที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต
เพื่อขับเคลื่อนแก้ไขและป้องกันปัญหาอย่างยั่งยืน สสส.ได้ขอความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ห้างหุ้นส่วนจำกัดเติมเต็มวิสาหกิจเพื่อสังคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและภาคีเครือข่าย เร่งสร้างความร่วมมือขับเคลื่อนงานแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ตั้งแต่ระดับพื้นที่ไปถึงระดับนโยบาย
ริเริ่มโครงการสร้างองค์ความรู้สำหรับเด็กและเยาวชน เพื่อการตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก มุ่งพัฒนาแนวทางการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามบริบทของ 4 พื้นที่เสี่ยง ได้แก่ 1.ภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย แพร่ แม่ฮ่องสอน พะเยา) 2.พรมแดนระหว่างประเทศ (ไทย-ลาว) 3.ภาคกลาง (กรุงเทพฯ) 4.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อุดรธานี ขอนแก่น) เพื่อให้เกิดพื้นที่ต้นแบบในการรับมือกับวิกฤตฝุ่น PM 2.5 นำไปสู่นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
"สสส.เร่งขยายพื้นที่ต้นแบบห้องเรียนสู้ฝุ่น จากเดิม 30 โรงเรียนในพื้นที่ภาคเหนือ ให้ครอบคลุม 140 โรงเรียนทั่วประเทศในปี 2565 เพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในการรับมือกับวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ผ่านการสร้างองค์ความรู้ โดยมีนักเรียนเป็นแกนกลางสู่การตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพร่วมกับชุมชนและท้องถิ่น ล่าสุดได้ขยายผลมาสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เริ่มที่จังหวัดขอนแก่นเป็นแห่งแรก และต่อไปยังอุดรธานี เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ประสบภาวะวิกฤตปัญหาฝุ่น PM 2.5 จากพฤติกรรมการเผาของภาคการเกษตร ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ห้องเรียนสู้ฝุ่นhttp://xn--q3c.com/" นายชาญเชาวน์กล่าว
นายรุจติศักดิ์ รังสี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่า การร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาต่อยอดและขยายผล “ห้องเรียนสู้ฝุ่น” ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้โครงการสร้างองค์ความรู้สำหรับเด็กและเยาวชนนี้ เพื่อสร้างการตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM 2.5 มุ่งเป้าสร้างโรงเรียนต้นแบบห้องเรียนสู้ฝุ่น 10 โรงเรียน
“ขอนแก่นได้รับการคัดเลือกจากองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจกนำร่องในการลดก๊าซเรือนกระจก ศูนย์หม่อนไหมส่งเสริมผ้าไหมขอนแก่นลดคาร์บอนเครดิต ได้ตราสัญลักษณ์เป็นของฝากชิ้นแรกจากจังหวัดขอนแก่นในเมืองไทย อีกทั้งขอนแก่นถือเป็น 1 ใน 3 จังหวัดที่ปลูกอ้อยมากที่สุดในไทย เมื่อถึงฤดูการเก็บเกี่ยวอ้อยต้องใช้การเผาเป็นหลัก นโยบายต่างๆ ของจังหวัดที่ออกประกาศห้ามเผา อาจใช้ไม่ได้ผลเท่าพลังของคนในชุมชนและสังคมห้องเรียนสู้ฝุ่น จึงถือเป็นนวัตกรรมองค์ความรู้ ที่ทำให้เด็ก เยาวชน และคนในชุมชน ร่วมรับมือกับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดการเผา สิ่งสำคัญคือ การสร้างพลเมืองให้สามารถสื่อสารสร้างความตระหนักรู้แก่คนในชุมชนถึงผลกระทบต่อสุขภาวะจากฝุ่น PM 2.5 จนเกิดเป็นการเปลี่ยนค่านิยมลดการเผาในที่โล่งเป็นศูนย์ภายในปี 2566 สู่การเป็นพื้นที่นำร่องในการแก้ไขปัญหาและงดเผาอ้อยไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้” นายรุจติศักดิ์กล่าว
สำหรับผู้ลงมือปฏิบัติขับเคลื่อนโครงการ นายศราวุธ นาเสงี่ยม ผู้อำนวยการโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 3 จ.ขอนแก่น อาจารย์สอนฟิสิกส์ หนึ่งในโรงเรียนต้นแบบห้องเรียนสู้ฝุ่น สสส. กล่าวว่า โรงเรียนเคยประสบกับปัญหาฝุ่นควันที่เกิดจากการเผาไร่อ้อยจนต้องหยุดทำการเรียนการสอน เกิดความเดือดร้อนทั่วทั้งจังหวัด เพราะฝุ่นจิ๋วเป็นอันตรายต่อทุกคน แต่เมื่อได้เข้าร่วมโครงการของ สสส. มีเครื่องอ่านค่าฝุ่นติดไว้ในโรงเรียนเปิดไว้ 24 ชั่วโมง เพื่อนักเรียนจะได้มาปักอารมณ์ฝุ่นในแต่ละวันซึ่งแตกต่างกัน นักเรียนทั้งหมด192 คนมีส่วนร่วมในกิจกรรมห้องเรียนสู้ฝุ่นกันทุกคน ด้วยการสร้างกิจกรรมต่างๆ
"ทางโรงเรียนได้เพิ่มกิจกรรมห้องเรียนสู้ฝุ่นเป็น รร.แรกของจังหวัดขอนแก่น เพื่อเสริมหลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เรียนรู้เรื่องพิษภัยและวิธีป้องกันฝุ่นในระดับชั้นมัธยมศึกษา สอดคล้องนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนเรื่องการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงวิเคราะห์หาสาเหตุและผลกระทบ เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ จิตสำนึกที่ดี ทำให้เด็กมีความรู้ สามารถอ่านค่าจากเครื่องวัดค่าฝุ่น และแสดงค่าฝุ่นแจ้งเตือนสถานการณ์วิกฤตผ่านแอปพลิเคชัน BLUESCHOOL การใช้หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5"
สิ่งสำคัญนักเรียนได้นำความรู้เรื่องการไม่เผาไร่อ้อยส่งต่อไปยังผู้ปกครองและชุมชน แนะนำการกำจัดด้วยการหมักทำปุ๋ย ทำน้ำมันไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงทดแทน เพื่อป้องกันการเกิดฝุ่นควันในพื้นที่ การจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ยับยั้งฝุ่นขนาดเล็ก ค่าฝุ่นสูงมากในเดือน ธ.ค.-มี.ค.เพราะเป็นช่วงที่มีการเผาไร่อ้อย อากาศหนาวมีหมอกจับตัวกับฝุ่นจิ๋ว
นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ สสส. (สำนัก 2) เสริมว่า บางโรงเรียนมีการสอนตั้งแต่นักเรียนอนุบาล ให้สังเกตตัวเอง ว่ามีเลือดกำเดาไหลหรือไม่ เนื่องจากยาวชนอยู่ในพื้นที่เสี่ยงมีการเผาป่าเป็นประจำ เผาขยะ ดังนั้น สสส.ต้องเลือกพื้นที่ต้นแบบที่มีความเสี่ยง เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ ในภาคเหนือ ส่วนขอนแก่นเป็นพื้นที่ต้นแบบในภาคอีสาน มีสมาคมยักษ์ขาวในห้องเรียนสู้ฝุ่น
ดร.นิอร สิริมงคลเลิศกุล ที่ปรึกษาโครงการโรงเรียนสู้ฝุ่น อาจารย์สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงราย นำเสนอโครงการสร้างองค์ความรู้สำหรับเด็กและเยาวชนเพื่อการตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพในพื้นที่เสี่ยงต่อปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดจุดความร้อน (Hotspot) จากดาวเทียมขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) ตั้งแต่ปี 2555-2564 รวม 9 ปี และค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 10 และ PM 2.5) จังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการเลือกโรงเรียนในพื้นที่เกิด Hotspot มาก เพื่อสร้างเป็นโรงเรียนต้นแบบของห้องเรียนสู้ฝุ่นจำนวน 10 โรงเรียน เพื่อสร้างการตระหนักรู้และการรับมือด้านสุขภาวะแก่เด็กและเยาวชนในสภาวะฝุ่นที่วิกฤตนี้ได้อย่างปลอดภัย
1.รร.น้ำพองพัฒนศึกษา 2.รร.ขอนแก่นพัฒนศึกษา 3.รร.ทรัพย์อุดมวิทยา 4.รร.ศรีธาตุพิทยาคม 5.รร.บ้านดุงวิทยา 6.รร.ขอนแก่นวิทยายน 3 7.รร.โนนสะอาดชุมแสงวิทยา 8.รร.ม่วงหวานพัฒนศึกษา 9.รร.ลำน้ำพอง 10.รร.วัง 3 หมอวิทยาคาร
“ค่าฝุ่นจิ๋วเกินมีผลต่อสุขภาพทำให้ตาแดง ไอจาม จึงขอความร่วมมือจาก NASA สสส.เติมเต็มวิสาหกิจชุมชนชะลอการเผาทั่วภูมิภาค ขยายความรู้ต่อไปยัง รร.ในสังกัด กทม. 50 แห่ง รร.ชายแดนในประเทศเพื่อนบ้าน สปป.ลาว พม่า ขอนแก่นและอีสานเป็นแหล่งปลูกอ้อยจำนวนมาก เมื่อมีการเผาอ้อยเผานาข้าวส่งผลกระทบต่อเยาวชน ซึ่งจะเติบใหญ่เป็นผู้บริหารในอนาคต ดังนั้นจะต้องสร้างให้เด็กมีแรงบันดาลใจในการร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขปัญหาฝุ่นจิ๋วเริ่มตั้งแต่ใน รร. จิ๋วสู้ฝุ่นในช่วง Real time”
***
โรงเรียนต้นแบบห้องเรียนสู้ฝุ่น
ตระหนักถึงพิษภัย PM 2.5 ในแต่ละพื้นที่เกิดจากสาเหตุแตกต่างกัน
ภาคเหนือเกิดจากไฟป่า เผาในที่โล่ง หมอกควันข้ามแดน
กทม.และปริมณฑล เกิดจากจราจร จุดเผาในที่โล่ง
ภาคใต้ ไฟไหม้ป่าพรุ หมอกควันข้ามแดน
พื้นที่อื่นๆ ขอนแก่น เลย กาญจนบุรี การเผาในที่โล่ง พื้นที่เกษตรกรรมและป่า
ต.หน้าพระลาน จ.สระบุรี กิจการโรงโม่บดย่อยหิน เหมืองหิน โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานปูนขาว โรงแต่งแร่ จราจร
ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ การเฝ้าระวัง PM 2.5 อย่างไรให้ปลอดภัย กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เด็กไทยป่วยซึมเศร้าทะลุ 2,200 คน ต่อประชากรแสนคน เสี่ยงทำร้ายตัวเอง 17.4% ซ้ำเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพจิต
ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน จัดกิจกรรม “ดูแลวัยเด็กด้วยศิลปะด้านใน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568” ภายใต้โครงการโมเดลวิทยากรต้นแบบศิลปะด้านในเชิงลึกเพื่อขยายชุมชนการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะเด็กก่อนวัยรุ่น เปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน พ่อแม่
กรมกิจการเด็กและเยาวชน จับมือ มูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว-สสส. จัดเสวนาสะท้อนปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 68 เสริมแกร่งความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิเด็ก
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 8 ม.ค. 2568 ที่โรงแรมแมนดาริน กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยมูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
อากาศเมืองกรุงยุคผู้ว่าฯ 1.3 ล้านเสียงอันตราย 'แดง-ส้ม' ทุกพื้นที่
กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
ชี้คนไทย"พร่อง"กิจกรรมทางกาย สสส.รณรงค์สร้างสุขกระฉับกระเฉง
โรคไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 เฉลี่ย 3 แสนคนต่อปี คิดเป็น 75% ของสาเหตุการตายทั้งหมด ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูง
อากาศเมืองกรุงอยู่ในเกณฑ์สีเหลือง-ส้ม
เพจกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร