“สถาบันกัญชาทางการแพทย์” โต้ กัญชามีประโยชน์ส่วนยาบ้า มีแต่โทษ

สถาบันกัญชาทางการแพทย์ชี้แจง ถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาลในการปลดกัญชาออกจากยาเสพติดให้โทษนั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ด้านการแพทย์และสุขภาพแตกต่างจากยาบ้าที่ไม่มีประโยชน์มีแต่โทษ

จากกระแสข่าวของการปลดกัญชาออกจากรายการยาเสพติดให้โทษ เท่ากับเป็นการซ้ำเติมสังคมให้มียาเสพติดออกมาในสังคมมากขึ้น และกล่าวถึงกัญชาเป็นยาเสพติดที่เทียบเท่ากับยาบ้า สถาบันกัญชาทางการแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาชี้แจง ถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาลในการปลดกัญชาออกจากยาเสพติดให้โทษนั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ด้านการแพทย์และสุขภาพ เพราะประโยชน์ของกัญชามีมากกว่าโทษ ปัจจุบันมีผู้ป่วยเข้าถึงและใช้ยากัญชาทางการแพทย์หลายแสนรายทั้งการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์แผนไทย แตกต่างจากยาบ้าที่ไม่มีประโยชน์มีแต่โทษ
.
นพ.กิตติ โล่สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันกัญชาทางการแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า "กัญชาเป็นสมุนไพรพื้นบ้านของประเทศไทยที่มีการใช้เพื่อดูแลสุขภาพของคนไทยมานาน ในอดีตไม่เพียงประเทศไทยเท่านั้นที่ใช้กัญชาเป็นพืชสมุนไพร แต่หลายประเทศในอาเซียน รวมถึงมีประสบการณ์นี้เช่นกัน และความรู้ก็แพร่ไปยังยุโรป จนเกิดการศึกษาวิจัยกว้างขวางในต่างประเทศ และนำมาใช้ในการรักษาโรคและความเจ็บป่วยในปัจจุบัน และเป็นหนึ่งในความหวังของวงการแพทย์ที่จะถูกนำมาใช้ในการรักษาโรค โดยเฉพาะโรคที่รักษาด้วยยามาตรฐานไม่ได้ผล การปลดพืชกัญชาจากยาเสพติดเป็นการทำงานที่ต่อเนื่องอย่างเป็นขั้นตอน เริ่มจากอนุญาต ให้ใช้ทางการแพทย์และขยายขอบเขตสู่เศรษฐกิจในที่สุด"
.
"ในด้านการออกฤทธิ์นั้น กัญชามีฤทธิ์ทำให้สงบระงับ ส่วนยาบ้ามีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ดังนั้นการเปรียบเทียบว่าเท่ากันคงไม่ได้ ความรุนแรงนั้นในหลายประเทศกัญชายังเป็นยาเสพติด ก็ยังจัดให้กัญชาเป็น Soft drugs คือ ยาเสพติดที่อันตรายต่ำ ตัวอย่าง เช่น เหล้า,บุหรี่,ยานอนหลับ และกัญชายังถูกนำมาใช้ในการลดอันตรายจากการใช้ยาและยาเสพติดที่รุนแรง (Harm Reduction) เช่น การใช้เพื่อลดอันตรายจากการใช้ยากลุ่มแก้ปวดโอปิออยด์ในขนาดสูง การรักษาภาวะติดเหล้า บุหรี่ ในต่างประเทศมีงานวิจัยในการนำสาร CBD (ซีบีดี) ในกัญชา มาใช้บำบัดการติดยาแอมเฟตามีน ในประเทศไทยก็มีผลงานวิจัยองค์ความรู้เรื่องนี้เช่นกัน เช่น ตำรับยาอดฝิ่นที่มีกัญชาเป็นส่วนผสม ต่างกับ ยาบ้า เป็น Hard drug คือ ยาเสพติดอันตรายสูง ตัวอย่าง เช่น เฮโรอีน,ฝิ่น,โคเคน ที่ทุกประเทศห้ามประชาชนตัวเองมีไว้ในครอบครอง การปลดพืชกัญชาจากยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุขมีระบบการเฝ้าระวังติดตามการนำไปใช้ในทางที่ผิด ตามที่ได้เคยชี้แจงให้สังคมได้ทราบแล้ว และขอให้เร่งรัดให้มีการออกพระราชบัญญัติกัญชากัญชง เพื่อให้เกิดการควบคุมอย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อประโยชน์ด้านการแพทย์และสุขภาพ" ผู้อำนวยการสถาบันกัญชาทางการแพทย์กล่าวทิ้งท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ภูมิธรรม' ยันยังไม่เลิก 'ไร่ละพัน' แจง 'ปุ๋ยคนละครึ่ง' หวังช่วยชาวนาอีกทาง

'ภูมิธรรม' แจงไม่ได้ยกเลิกไร่ละพัน พร้อมดึงกลับมาใช้ถ้าราคาข้าวตก ย้ำคนละส่วนกับปุ๋ยคนละครึ่ง ชี้ สส. รุมค้าน เหตุไม่เข้าใจถ่องแท้ไปฟังเกษตรกรมา

'พ.ร.บ.นิรโทษกรรม' เสี่ยงโมฆะ! ขืนรวมความผิด 'ม.112-110'

'คารม' เตือน 'พ.ร.บ.นิรโทษกรรม' เสี่ยงโมฆะ ขืนรวมความผิด 'ม.112-110' ส่อขัดรัฐธรรมนูญ ยิ่งเพิ่มขัดแย้ง แนะผู้ถูกกล่าวหาต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม พิสูจน์ความบริสุทธิ์ตัวเอง

‘อนุทิน’ ร้องโอ้โห! ‘ภูมิใจไทย’ โดนโยงเอี่ยวเลือก สว. ลั่นไม่ทำอะไรผิดกม.

’อนุทิน‘ ยินดี ’ลุงชาญ‘ คว้านายก อบจ.ปทุมธานี ยันไม่มีแนวคิดแข่งสนามท้องถิ่น ร้องโอ้โห พูดได้ไงภูมิใจไทยเอี่ยวเลือก สว.

ปูดดีลใหญ่พลิก! จับตาสอย 'เศรษฐา' ดัน 'อนุทิน' นายกฯ

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก

'สุริยะ' ปัด 'ทักษิณ' เสื่อม 'สว.สีน้ำเงิน' ยึดสภาสูง ไม่กระทบรัฐบาล

'สุริยะ' ปัด 'ทักษิณ' เสื่อมมนต์ขลัง ชี้ 'สมชาย' ร่วง สว. สะท้อน 'เพื่อไทย' ไม่ได้ยุ่งกระบวนการเลือก เชื่อไร้ผลกระทบอำนาจต่อรองในรัฐบาล