แรงบันดาลใจให้ชุมชนไร้ขยะ เป็นคุณสมบัติสำคัญที่ผู้นำชุมชนต้องสร้างพลังให้ชุมชนแข็งแรง พร้อมที่จะสร้างคนรุ่นใหม่ หาญกล้ากระจายอำนาจสร้างความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี แก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมบ้านเมืองสะอาด เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
"สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทยวิกฤตปี 2564 มีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นประมาณ 24.98 ล้านตัน ในจำนวนนี้ 6.23 ล้านตัน หรือ 25% กำจัดอย่างไม่ถูกต้อง ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย และสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน เช่น กลิ่นเหม็น น้ำเสียจากขยะปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำผิวดิน แหล่งน้ำใต้ดิน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค เกิดมลพิษทางอากาศ"
นายศรีสุวรรณ ควรขจร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจ อันเป็นที่มาและวัตถุประสงค์ที่ สสส.ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ด้วยการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางเมื่อวันที่ 16 ก.ย.2565 ที่เทศบาลนครขอนแก่น จ.ขอนแก่น
“ในขณะที่ขยะมูลฝอยวิกฤต ก็ยังมีความหวังว่าขยะอินทรีย์จากเศษอาหารมากกว่าครึ่งหนึ่ง 60% ของปริมาณขยะทั้งหมด ขจัดได้ตั้งแต่ต้นทาง หากทำความเข้าใจอย่างถูกต้อง มีความเป็นไปได้ที่ขอความร่วมมือจากชุมชน ช่วยบริหารจัดการด้วยการคัดแยกขยะอินทรีย์ออกมาใช้ในครัวเรือน แปรรูปเป็นน้ำหมักปุ๋ยชีวภาพ ใช้เพื่อการเกษตรกรรมในครัวเรือน เป็นการตอบโจทย์ได้อย่างดี และช่วยกันสร้างโมเดลขยายผล สสส.เป็นฟันเฟือง การสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะถือเป็นงานที่ท้าทาย ภูเขาขยะที่มีอยู่เป็นพันๆ แห่ง ส่วนหนึ่งบริหารจัดการนำไปสร้างเป็นพื้นที่โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด ต้นแบบของเทศบาล เพื่อช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม” นายศรีสุวรรณกล่าว
เพื่อบรรลุภารกิจข้างต้น สสส.ได้ร่วมกับมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ริเริ่มโครงการสานพลังเครือข่ายขับเคลื่อนการจัดการขยะชุมชนที่ต้นทางอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ปี 2562 โดยพบว่า จังหวัดขอนแก่นเป็นเมืองมีปริมาณขยะตกค้างอันดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอันดับ 8 ของประเทศ ทำให้เทศบาลนครขอนแก่น ร่วมกับภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชน พัฒนาศักยภาพในการจัดการขยะมูลฝอยด้วยการบูรณาการร่วมกัน เป็นพื้นที่นำร่อง 5 ชุมชน 1.ชุมชนการเคหะ 2.ชุมชนบะขาม 3.ชุมชนโนนหนองวัด 1 4.ชุมชนเหล่านาดี 12 5.ชุมชนโนนชัย 1 นำไปสู่ต้นแบบการจัดการขยะชุมชนที่ต้นทางอย่างยั่งยืน เกิดพลังขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการจัดการขยะเพื่อสุขภาวะและสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ ซึ่งชุมชนมีต้นทุนในการบริหารจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมสุขภาวะเชิงพื้นที่ด้วยตนเอง การลงพื้นที่ของ สสส.ในครั้งนี้ จะนำตัวอย่างบทเรียนการจัดการขยะระดับชุมชนไปขยายผลในพื้นที่เขตเมืองร่วมกับกรุงเทพมหานครต่อไป
นายมนตรี สิงหปุณณภัทร รองนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น กล่าวว่า ขอนแก่นเป็นจังหวัดใหญ่เป็นอันดับที่ 10 ของประเทศ มีจำนวนประชากรที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลเมืองนครขอนแก่นกว่า 400,000 คน คนจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจหมุนเวียน การเจริญเติบโตของเมืองได้ส่งผลต่อสถานการณ์การเกิดขยะในพื้นที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทศบาลเมืองนครขอนแก่นมีปริมาณขยะมูลฝอยที่ต้องนำไปกำจัดที่โรงงานไฟฟ้าขยะประมาณ 400 ตันต่อวัน เกิดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน 40 ล้านบาทต่อปี และเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การเข้าร่วมโครงการของ สสส.และภาคีเครือข่าย ทำให้เกิดความร่วมมือขับเคลื่อนแนวทางแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่ ทั้งการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะ ส่งเสริมการคัดแยกขยะตามหลัก 3Rs เปลี่ยนขยะเป็นบุญ ลดปริมาณขยะที่ต้องจัดการทำให้ในปี 2565 เทศบาลนครขอนแก่นได้รับการยกระดับเป็นเมืองท่องเที่ยวสะอาด ตามข้อกำหนดที่อาเซียน 7 ด้าน โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
“เทศบาลกระจายอำนาจสู่ชุมชน 95 ชุมชน โครงการยั่งยืนได้ต้องทำให้เทศบาลเล็กในเทศบาลใหญ่มีภารกิจทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะระบบจัดการขยะ ขยะชุมชนต้องได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชน เมื่อเลิกงานกลับบ้านห้าโมงเย็น การสร้างความตระหนักรู้ร่วมกันในการคัดแยกขยะ การช่วยกันกวาดถนนในชุมชนให้สะอาดน่ามอง ขอให้ทุกคนทำด้วยสำนึกว่าเป็นหน้าที่ของเรา หลังโควิดเศรษฐกิจฟื้นตัว ศูนย์ประชุมขอนแก่นมีกิจกรรม โรงแรมคึกคักมากขึ้น เป็นบรรยากาศที่ดีพร้อมๆ กับขอนแก่นสะอาดตา”
นางพรรณา อรรคฮาต ประธานชุมชนโนนชัย 1 กล่าวว่า ทำมาหากินด้วยการค้าขายส้มตำ ซักรีด และทำงานให้กับชุมชน เนื่องจากวสันต์ ศรีดรราช พี่ชาย เป็นผู้นำตั้งแต่ปี 2544 ได้ทำงานร่วมกับพี่ชายมาโดยตลอด ทำให้มีแรงบันดาลใจอยากให้ชุมชนไร้ขยะ ทำอะไรให้ชุมชนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ แรกๆ ก็ทำขยะอินทรีย์ในครัวเรือนก่อน เมื่อขยายต่อไปยังชุมชนด้วยการบอกบุญเป็นวิทยาทานแต่ละครัวเรือน
การดูแลรักษาความสะอาดตามถนน ตรอก ซอยในพื้นที่ชุมชนโนนชัย 1 ร่วมกับเทศบาลนครขอนแก่น ด้วยการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์ด้วยวิถีพอเพียง ในจัดการขยะ 4 เรื่อง 1.ขยะอินทรีย์ แกนนำชุมชนจะเก็บรวบรวมบางส่วนนำมาเลี้ยงปลา อีกส่วนทำน้ำหมักจุลินทรีย์-ปุ๋ยหมัก เพื่อนำไปใช้ปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือน ช่วยปรับปรุงภูมิทัศน์ด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน 2.ขยะรีไซเคิล จัดตั้งกลุ่มกองทุนฌาปนกิจขยะเป็นบุญ รับซื้อขยะจากสมาชิกเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ผลิตกระถางและกระเป๋า เพื่อสร้างรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตแก่คนพิการในชุมชน 3.ขยะทั่วไป แกนนำชุมชนจะแจกถุงดำให้ครัวเรือนใส่ขยะทั่วไป กำหนดเวลาทิ้ง-เวลาเก็บที่แน่นอน ตั้งเป้าเป็นชุมชนปลอดถังขยะ และ 4.ขยะพิษ/ขยะอันตราย ตั้งถังขยะรวบรวมขยะพิษ/ขยะอันตรายในพื้นที่กลางชุมชน ส่งผลให้เป็นชุมชนปลอดขยะ (Zero waste) นำไปสู่การเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ด้วยเหตุนี้ บรรยากาศที่เห็นในชุมชนสะอาดด้วยความร่วมมือร่วมใจ นับตั้งแต่เก็บขวดน้ำอัดลม กระป๋องน้ำอัดลมร้อยเชือกผูกกับใบพัดลมเก่าทำเป็นโมบาย หรือนำมาร้อยกับลวดทำเป็นแผงรั้วเพื่อกันดินทลาย ปลูกพืชสมุนไพรลงดินใส่ในวงล้อยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้ว นำกระป๋องก้นรั่วปิดฝาใส่เศษใบไม้ เศษผักผลไม้ที่หมักไว้เป็นปุ๋ยอย่างดี ทำให้พืชผักสวนครัวเจริญงอกงาม
***
การบริหารจัดการขยะในชุมชนโนนชัย 1 ขอนแก่น
ขยะมูลฝอยเกิดขึ้น 1148.03 กก./วัน, ขยะอันตราย 0.03 กก./วัน, ขยะทั่วไปเกิดขึ้น 320 กก./วัน กำจัดได้ 147 กก./วัน 1.ด้วยการปลูกผักในล้อยางรถยนต์เก่า 9.3 กก./วัน 2.ร่วมมือกับร้านอาหารดใช้โฟมบรรจุอาหาร ลดการใช้ถุงพลาสติก 21 ร้าน เป็นจำนวน 15.4 กก./วัน 3.สิ่งของเก่านำมาบริจาค เสื้อผ้า พัดลมเก่า จักรยาน 109 กก./วัน 4.ขยะวนและกล่องนม ขยะกำพร้า 13.3 กก./วัน เหลือขยะให้เทศบาลไปกำจัด 289.6 กก./วัน
ขยะอินทรีย์เกิดขึ้น 675 กก./วัน กำจัดได้ 578 กก./วัน เหลือให้เทศบาลไปกำจัด 97 กก./วัน ครัวเรือนคัดแยกขยะอินทรีย์ 96 ครัวเรือนเท่ากับครึ่งหนึ่ง 1.สมาชิกศูนย์เรียนรู้ 21 ครัวเรือน เท่ากับ 22.5 กก/วัน 2.ครัวเรือนทำน้ำหมักชีวภาพใช้เอง 12 ครัวเรือน เท่ากับ 159 กก./วัน 3.ครัวเรือนนำไปเลี้ยงสัตว์ 17 ครัวเรือน เท่ากับ 180 กก./วัน 4.ครอบครัวลดโลกร้อนทำบ่อหมักขยะอินทรีย์ 46 ครัวเรือน เท่ากับ 167 กก./วัน 5.งานบุญ งานวัด งานศพปลอดขยะ 49.5 กก./วัน
ขยะรีไซเคิลเกิดขึ้น 153 กก./วัน กำจัดได้ 109 กก./วัน เหลือให้เทศบาลไปกำจัด 90.6 กก./วัน ครัวเรือนคัดแยกขยะรีไซเคิลด้วยการทำเป็นกองทุนฌาปนกิจเปลี่ยนขยะบุญ หอพักคัดแยกขยะ โครงการของเก่าเอามาเล่าใหม่ ครอบครัวปลูกอยู่ปลูกกิน คัดแยกขยะบริจาค
Reuse การใช้ซ้ำ โครงการของเก่าเอามาแลกของใช้ Recycle นำกลับมาใช้ใหม่ โครงการกองทุนฌาปนกิจเปลี่ยนขยะเป็นบุญ โครงการหอพักคัดแยกขยะ โครงการปลูกอยู่ ปลูกกิน สวนผักชุมชน Reduce ลดการใช้ โครงการครอบครัวลดโลกร้อน (Low Carbon Family) โครงการงานวัด งานบุญปลอดขยะ โครงการร้านอาหารงดใช้โฟมบรรจุอาหาร ลดการใช้ถุงพลาสติก และตู้รับบริจาคบุญทวีด้วยรีไซเคิล
มีการมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบ นายพิชัย กระแสร์ ด.ช.คณิศร มิชสิน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ
"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ปธ.หอการค้าขอนแก่น เผยขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องไม่เกิน 10% ลดผลกระทบค่าครองชีพ
นายชาญณรงค์ บุริสตระกูล ประธานหอการค้า จ.ขอนแก่น เปิดเผยว่า การที่รัฐบาลมีแนวคิดที่จะจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น
ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค
การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง
พ่อไม่ติดใจตำรวจจับตาย มือยิงประธานสภา อบต. รับลูกก่อเหตุเพราะเสพยาบ้า
ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังบ้านเลขที่ 20 หมู่ 7 บ้านต้าย ต.โพนจาน อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม ซึ่งเป็นบ้านของนายยุทธพล หมอกต้ายซ้าย หรือไอ้ยุทธ อายุ 49 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดนครพนม ฐานความผิดพยายามฆ่า หลังก่อเหตุใช้อาวุธปืนอาก้าจ่อยิงนายวินัย มณีรัตน์ อายุ 55 ปี ส.อบต.บ้านต้าย 3 สมัย และยังมีตำแหน่งประธานสภา
โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด
เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน
วิสามัญ คนร้ายยิงประธานสภา อบต. ยิงใส่ตำรวจก่อน เลยถูกตอบโต้ดับคาไร่อ้อย
นายไกรสร กองฉลาด ผวจ.ขอนแก่น พร้อมด้วย พล.ต.ต.อนุวัตร สุวรรณภูมิ ผบก.ภ.จ.ขอนแก่น เข้าตรวจสอบการติดตามจับกุม นายยุทธพล หมอกต้ายซ้าย อายุ 49 ปี คนร้ายที่ก่อเหตุนายวินัย มณีรัตน์