สนง.ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์สนับสนุนชุมชนผู้มีรายได้น้อยพัฒนาที่อยู่อาศัย สร้าง ‘บ้านมั่นคง’ ใต้ร่มพระบารมีที่ชุมชนรุ่งมณีพัฒนา ระยะที่ 3 อีก100 หลัง

พลเอกอภิรัชต์  คงสมพงษ์  รองผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เป็นประธานในพิธียกเสาเอกบ้านมั่นคงบนที่ดินทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ใต้ร่มพระบารมี

เขตวังทองหลาง / วันนี้ (11 พฤศจิกายน)  ที่ชุมชนรุ่งมณีพัฒนา  ซอยรามคำแหง 39  เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ  พลเอกอภิรัชต์  คงสมพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เป็นประธานในพิธียกเสาเอกโครงการบ้านมั่นคงชุมชนรุ่งมณีพัฒนา ซึ่งเป็นชุมชนที่อาศัยอยู่ในที่ดินสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์  เพื่อก่อสร้างบ้านใหม่ระยะที่ 3 จำนวน 100 ครัวเรือน  โดยมี พล.อ.ท.ภักดี แสง-ชูโต กรรมการสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์  ผู้อำนวยการเขตวังทองหลาง  ผู้บริหารสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  และชาวชุมชนเข้าร่วมพิธีประมาณ 100 คน

นางนุชจรี  พันธ์โสม  ผู้นำชุมชนรุ่งมณีพัฒนา  กล่าวว่า  ชุมชนรุ่งมณีฯ อาศัยอยู่ในที่ดินสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์  เนื้อที่ประมาณ 70 ไร่มานานหลายสิบปี   และเริ่มก่อสร้างบ้านมั่นคงระยะที่ 1-2  รวม 117 หลังมาตั้งแต่ปี   2550  ส่วนการก่อสร้างบ้านระยะที่ 3 จำนวน 100 ครัวเรือน (หลัง) จะใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งหมดประมาณ 8 เดือนหรือจะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2565

 ส่วนรูปแบบที่จะก่อสร้างเป็นบ้านแฝด 2 ชั้น  ขนาด 4 X 8 ตารางเมตร  ก่อสร้างด้วยคอนกรีต  ค่าก่อสร้างและวัสดุต่อหลังประมาณ  500,000 บาท  โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. สนับสนุนเงินอุดหนุนสร้างบ้านหลังละ 20,000 บาท  งบก่อสร้างสาธารณูปโภคส่วนกลางหลังละ 25,000 บาท  และสินเชื่อหลังละ 360,000 บาท  ระยะเวลาชำระคืน 20 ปี  อัตราดอกเบี้ย 4 %  ขณะที่ชาวบ้านออมเงินสมทบสร้างบ้านเป็นรายเดือนตามฐานะครอบครัว  เฉลี่ยประมาณเดือนละ 1,000-2,500 บาท

“นอกจากการสร้างบ้านแล้ว  ชุมชนรุ่งมณียังมีแผนงานการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร  โดยใช้ที่ดินสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่  ปลูกพืชผักสวนครัวต่างๆ เพื่อนำมาแจกจ่ายกันทำอาหาร  ช่วยลดรายจ่าย  รวมทั้งเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์  เริ่มปลูกผักเลี้ยงปลาตั้งแต่สถานการณ์โควิดช่วงแรกในปี 2563  จนถึงปัจจุบัน  นอกจากนี้เรายังมีแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวชุมชน  รวมทั้งการช่วยเหลือดูแลป้องกันการแพร่ระบาดของโควิดด้วย”  ผู้นำชุมชนรุ่งมณีฯ กล่าว

นางนุชจรีบอกด้วยว่า  นอกจากการพัฒนาที่อยู่อาศัยในชุมชนรุ่งมณีฯ แล้ว  ก่อนหน้านี้มี  4 ชุมชนในเขตวังทองหลางที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ร่วมกับ พอช. พัฒนาที่อยู่อาศัยไปแล้ว   และภายในปี 2567 จะดำเนินการในอีก 3 ชุมชน คือ ชุมชนน้อมเกล้า  ชุมชนทรัพย์สินเก่า  และชุมชนเทพลีลา  รวมผู้อยู่อาศัยกว่า 700 ครัวเรือน  เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนอย่างเป็นระบบ  ทำให้คนจนได้รับโอกาสในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิต  ยกระดับชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งภายใต้ร่มพระบารมี

นอกจากการสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนผู้มีรายได้น้อยที่เขตวังทองหลางดังกล่าวแล้ว  ที่ผ่านมาสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ได้สนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยในชุมชนต่างๆ  ในพื้นที่กรุงเทพฯ อีกประมาณ 40 ชุมชน  เช่น  สนับสนุนการก่อสร้างบ้านใหม่  การพัฒนาระบบสาธารณูปโภค  สนับสนุนการเช่าที่ดินระยะยาวในอัตราผ่อนปรน  ฯลฯ โดยดำเนินการร่วมกับ พอช. ตามแนวทางโครงการบ้านมั่นคงตั้งแต่ปี 2547 และมีชุมชนที่พัฒนาไปแล้วกว่า 30 ชุมชน   ขณะที่ พอช.สนับสนุนสินเชื่อ และงบช่วยเหลือเพื่อปรับปรุงสาธารณูปโภค ฯลฯ  รวมเป็นเงินกว่า  500 ล้านบาท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน

UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’

รวมพลังคนจนแก้ปัญหาที่ดิน-ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2567

ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้คนทั่วโลก UN-Habitat หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’

‘21 ปีบ้านมั่นคง’ พอช. แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนทั่วประเทศ กว่า 3 แสนครัวเรือน

รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยแก่คนจนในเมืองที่ ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด

เสียงจากคลองเปรมประชากร…บ้านหลังใหม่ชีวิตใหม่ “คืนสายน้ำให้คนคลอง คืนสายคลองให้คนเมือง”

คลองเปรมประชากร มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คลองนี้ได้ประสบปัญหามากมาย

บอร์ด พอช. มีมติ พักชำระหนี้องค์กรผู้ใช้สินเชื่อในพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ

สถานการณ์การเกิดอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุยางิ ในระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2567 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 7 อำเภอ

รมว.พม. แจ้งตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 34 แห่ง ใน 13 จว. ช่วยกลุ่มเปราะบาง-ผู้ประสบภัยน้ำท่วมริมแม่น้ำโขง ด้าน พอช. พร้อมอนุมัติงบช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติภาคเหนือและอีสาน

จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ภาคเหนือ ส่งผลกระทบในพื้นที่ 8 จังหวัด 47 อำเภอ 207 ตำบล 22,817 ครัวเรือน โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา