ธนาคารกรุงไทย ในฐานะธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ มุ่งมั่นก้าวสู่การเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน ภายใต้แนวคิด กรุงไทย เคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน : Growing Together for Sustainability โดยดำเนินธุรกิจควบคู่การดูแลสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ตามหลักการ ESG (Environmental Social และ Governance) สอดคล้องกับกรอบการทำงานและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลก โดยนำเป้าหมายดังกล่าวมาเป็นกรอบการดำเนินงาน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ขจัดความยากจน เพื่อให้ชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ ธนาคารยังได้ปลูกฝังการสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับพนักงาน สละเวลาอุทิศตน เพื่อทำหน้าที่จิตอาสา ให้การช่วยเหลือ สร้างคุณูปการต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังเพื่อยกระดับให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ผลักดันกรุงไทยสู่การเป็น ธนาคารแห่งความยั่งยืน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของ “จิตอาสา VVE Vayu Volunteer” ที่พร้อมอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้คนในสังคม รักษาสิ่งแวดล้อม พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน
ภารกิจพลิกฟื้นพื้นที่ป่ารอยต่อภาคตะวันออก
ธนาคารกรุงไทย เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างสมดุลทางธรรมชาติกับการอยู่ร่วมกันของสัตว์ป่าและคนในชุมชน และเชื่อว่า “น้ำ” เป็นทรัพยากรสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต สอดคล้องกับการดำเนินงานของ มูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่มุ่งเน้นการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการวางแผนพัฒนา ฟื้นฟู และบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ นำไปสู่แนวทางพัฒนาการจัดการได้อย่างยั่งยืน โดยธนาคาร
สนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด การแก้ปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า รวมทั้งการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก ครอบคลุมจังหวัดฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ชลบุรี และสระแก้ว
พื้นที่ป่ารอยต่อภาคตะวันออก ที่หมู่บ้านคชานุรักษ์ บ้านหนองกระทิง และหมู่บ้านคชานุรักษ์บ้านคลองมะหาด จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นที่อยู่อาศัยของช้างป่ากว่า 400 ตัว ซึ่งกว่า 300 ตัวอยู่บริเวณอำเภอสนามชัยเขตและอำเภอท่าตะเกียบ กำลังประสบปัญหาแหล่งน้ำและอาหารในธรรมชาติของช้างลดน้อยลง ส่งผลให้ช้างออกจากพื้นที่ป่าเข้ามาในเขตพื้นที่เกษตรกรรมของชุมชน สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้านในพื้นที่ จึงมีการรวมพลังระหว่างอาสาสมัคร VVE Vayu Volunteer กว่า 100 คน กับชาวบ้านในชุมชน ภาคีเครือข่าย และนักเรียนกว่า 300 คน ร่วมทำกิจกรรมจิตอาสา ปลูกพืชที่ไม่ใช่อาหารของช้าง ได้แก่ ข่า ตะไคร้ สะเดา ชะอม รวมกว่า 3,000 ต้น ในพื้นที่ชุมชน โดยใช้กุศโลบายในการปลูกพืชที่ช้างไม่ชอบ เป็นแนวกันชนช้างให้กับแปลงเกษตรชุมชน และปลูกพืชแหล่งอาหารช้างบริเวณป่าธรรมชาติ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้ช้างป่าหากินอยู่ภายในบริเวณป่าธรรมชาติ สร้างสมดุลระหว่างคนในชุมชนกับช้างให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
ธนาคารและภาคีเครือข่ายได้ร่วมกันปลูกต้นรวงผึ้ง นนทรี ขี้เหล็ก สะเดา และเทพา เพื่อสร้างสมดุลทางระบบนิเวศ รวมทั้งพัฒนาแหล่งน้ำให้ชุมชนใช้ประโยชน์ได้ โดยเข้าไปช่วยเหลือแบบครบวงจร ตั้งแต่การพัฒนาแหล่งน้ำ การปลูกพืชเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมถึงการดูแลและเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนที่ได้รับผลกระทบ สนับสนุนให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ภารกิจในครั้งนี้ถือเป็นต้นแบบที่ดีในการสร้างรากฐานที่มั่นคง ต่อการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง โดยยึดหลักการพึ่งพาตนเอง ให้เกิดความเข้มแข็งจากภายใน เปิดโอกาสให้คนในชุมชนร่วมคิด กำหนดแนวทางพัฒนาชุมชน ผลักดันให้เกิด Creating Shared Value หรือการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจให้กับกิจการและสังคมไปพร้อมกัน
ก้าวต่อจากนี้ ธนาคารกรุงไทยมุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างรอยยิ้ม คืนความสุขให้สังคม สร้างคุณค่าร่วมระหว่างธนาคาร สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืนต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Virtual Bank ..ธนาคารในโลกดิจิทัล มุมมอง..ผ่านวิสัยทัศน์ 'ผยง ศรีวนิช'
ตั้งแต่กระทรวงการคลัง ประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจ Virtual Bank หรือ ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 ..จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคุณสมบัติ ศักยภาพ และความสามารถของผู้ขออนุญาต โดยคาดว่าจะสามารถประกาศรายชื่อได้ภายในช่วงกลางปี 2568 โดยผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถเปิดดำเนินธุรกิจได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
อดีตรองผู้ว่าฯ แฉยับ! ภัยธรรมชาติ เป็นอาหารอันโอชะของ ขรก.-นักการเมือง ทุจริต กินหัวคิว สร้างภาพ
อดีตรองผู้ว่าฯกระบี่ แฉยับ! ข้าราชการ-นักการเมือง เห็น ‘ภัยธรรมชาติ’ เป็นอาหารอันโอชะ ทำโครงการเบิกงบฯร่วมกันทุจริตเบียดบังจัดถุงยังชีพใช้ของไม่มีคุณภาพแจกชาวบ้าน กิน ‘หัวคิว’ ยักยอกไปแจกจ่ายพวกพ้อง หลังนำลดจะเห็น ‘ผีเปรต’ ออกมาหาแสง สร้างภาพ แย่งตั้งงบฯฟื้นฟู เบิกจ่ายย้อนหลังเท็จ
จิตอาสาร่วมใจ แพ็กของส่งต่อกิจกรรม “หนาวนี้ทำดีเพื่อพ่อ”
วันนี้ (18 พ.ย. 67) นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ ประธานมูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ ได้ร่วมกับพลโทนายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย และจิตอาสาอีกหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และเอกชน ร่วมกันแพ็กของอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ทั้ง ผ้าห่ม เสื้อกันหนาว ชุดวอร์ม น้ำดื่ม วอล์คเกอร์ และของใช้ในชีวิตประจำวัน
มูลนิธิดวงใจใหม่รวมพลังจิตอาสากว่า 200 ชีวิต จัดออเคสตร้าการกุศลยิ่งใหญ่!
กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลราชวิถี - มูลนิธิดวงใจใหม่ ร่วมกับ The Open Box Charity Orchestra จะจัดแถลงข่าวเพื่อเปิดตัวคอนเสิร์ตการกุศล “OPEN BOX for OPEN HEART” ครั้งยิ่งใหญ่ ในวันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ณ โรงละครอักษรา King Power ซอยรางน้ำ
ข่าวดี กรุงไทย ประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25%
ธนาคารกรุงไทย ขานรับมาตรการภาครัฐ ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MOR MLR และ MRR พร้อมต่ออายุมาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง
ทีมนักกีฬาเจ็ตสกี'จิตอาสา' ยังทำหน้าที่ต่อ ปักหลักช่วยชาวหนองคาย-อุดรฯ
น้ำใจนักกีฬาเจ็ตสกีทั่วประเทศ ยังคงหลั่งไหลสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์ล่าสุด ทีมเจ็ตสกีจิตอาสา ของสมาคมกีฬาเจ็ตสกีแห่งประเทศไทยฯ นำโดยทีม Liqui Moly Jetski Team by Nakorn และทีม PTT Lubricants Gold Dragon Let’s Go Group ยังคงปักหลักลงพื้นที่ สนับสนุนหน่วยงานราชการและเอกชนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดหนองคายและอุดรธานี อย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 2 สัปดาห์ ทางด้าน “บิ๊กเปี๊ยก” พล.ต.อ.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา นายกสมาคมกีฬาเจ็ตสกีแห่งประเทศไทยฯ เตรียมจัดตั้งทีม “อาสาสมัครกู้ภัยและช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมทางน้ำ” สังกัดสมาคมกีฬาเจ็ตสกีแห่งประเทศไทยฯ อย่างเป็นทางการ