สสส.แนะเคล็ดลับ “กินเจ” ได้สารอาหารครบสร้างสุขภาพดีและห่างไกลโรค NCDs

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงการกินเจอย่างไรให้มีสุขภาพดี ได้สารอาหารครบ 5 หมู่ ในช่วงเทศกาลอาหารเจที่กำลังจะมาถึงนี้ว่า การกินเจเป็นการปรับเปลี่ยนมิติการรับประทานอาหาร โดยงดบริโภคเนื้อสัตว์แล้วหันมากินอย่างอื่นแทน อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงการเลือกวัตถุดิบทดแทนด้วยเพื่อให้ได้ทั้งสุขภาพที่ดีและได้บุญตามความเชื่อที่ปฏิบัติกันมา ซึ่งส่วนใหญ่การกินเจหนีไม่พ้นใช้อาหารแปรรูปประเภทแป้ง ประเภทมีไขมันสูง ซึ่งมีส่วนผสมทั้งหวาน มัน เค็ม โดยเฉพาะโซเดียมหรือเกลือที่กำลังเป็นที่นิยม เพราะช่วยให้รสชาติดี อาหารเก็บได้นานขึ้น ซึ่งถ้ามีโซเดียมเยอะไปเกินความพอดีของร่างกาย ส่งผลให้เสี่ยงโรคอ้วนและมีโรคต่างๆตามมา เช่น โรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อ

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สสส.กำลังรณรงค์การลดการกินเค็มหรือลดปริมาณโซเดียม ถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะคนไทยบริโภคเค็มเป็น 2 เท่าในปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้บริโภคไม่เกิน 2000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยเฉพาะอาหารแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูปที่เก็บนานๆ มีเกลือเป็นส่วนผสมหลัก ไม่ว่าในน้ำซุป หรือเครื่องปรุงต่างๆ รวมทั้งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใน 1 ซองก็มีปริมาณโซเดียม 1000 มิลลิกรัม ซึ่งการควบคุมไม่ให้ทานโซเดียมมากเกินไปเราสามารถคุมได้ โดยควรเลือกอาหารที่ปรุงสด ปรุงเอง เพื่อให้รู้ปริมาณโซเดียมที่ใส่ลงไปในอาหาร เพราะร้านอาหารทั่วไปเราไม่สามารถรู้ได้ว่ามีปริมาณโซเดียมมากน้อยแค่ไหน ซึ่งแต่ละคนย่อมรู้ตัวว่าเราควรกินรสชาติแบบไหนถึงพอ หรือใช้เทคนิคการเลือกกินอย่างไรเพื่อไม่ให้กินเค็มมากเกินไป เช่น กินเฉพาะเนื้อไม่กินน้ำซุป หรือ การไม่ปรุงเพิ่ม

ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า สสส.ได้รณรงค์การรับประทานอาหารให้เหมาะสมมาต่อเนื่องภายใต้ข้อมูลทางวิชาการ โดยใช้สูตร 2:1:1 ในอาหาร 1 จานแบ่งเป็น 4 ส่วน โดย 2 ส่วนเป็นผัก 1 ส่วนเป็นอาหารประเภทโปรตีนหรือเนื้อสัตว์ในช่วงเทศกาลเจ อาจเปลี่ยนเป็นโปรตีนทดแทนจากธรรมชาติ และอีก 1 ส่วนเป็นแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต วิธีนี้จะช่วยให้ได้ปริมาณอาหารที่เพียงพอ อย่างไรก็ตามเราไม่จำเป็นต้องงด หวาน มัน เค็มทั้ง 3 มื้อ แต่บริหารการรับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อให้สมดุล และให้ได้สารอาหารครบ 5 หมู่ สำหรับการเลือกบริโภคโปรตีนแปรรูปทดแทนเนื้อสัตว์ในช่วงเทศกาลเจนี้ ขอให้เลือกจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน ถูกหลักอนามัย และควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เพราะส่วนใหญ่มีแป้งเป็นส่วนผสมซึ่งหากกินมากจะทำให้อ้วนได้ และควรเลือกกินผักหรือถั่วแทน เพราะผักสามารถกินได้ในปริมาณมาก

“โรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อ ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการทานอาหารไม่เหมาะสม ไม่ออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และมลภาวะทางอากาศ ถือเป็น 5 ปัจจัยเสี่ยงหลักที่ก่อให้เกิดโรค NCDs โดยมีประเด็นเรื่องอาหารสำคัญที่สุด มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่กำลังเผชิญกับโรค เบาหวาน ไขมัน ความดัน มะเร็ง โรคปอด โรคหัวใจ เป็นสาเหตุการตาย 3 ใน 4 ของคนไทยในปัจจุบัน ซึ่งคนไทยควรให้ความสำคัญและระมัดระวังพฤติกรรมความเสี่ยงของตัวเองด้วย” ผู้ช่วยผู้จัดการ สสส.กล่าวย้ำ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร

สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567

‘NCDs’ ไม่ใช่ปัญหาระดับบุคคล แต่เกี่ยวโยง ‘สภาพแวดล้อมทุกมิติ’ ปรับ Ecosystem สร้างสุขภาพดีคือทางออก

การขับเคลื่อนเพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ของประเทศไทยก่อนหน้านี้ โดยมีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นแม่งานหลัก ดูเหมือนว่

ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์

ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)