17 เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ ยื่นหนังสือถึง “ปธ.จริยธรรม-ปธ.กมธ.สาธารณสุข” สภาฯ ร้องสอบพฤติกรรม ส.ส.เอกภพ ส่อขัดจริยธรรม

วันที่ 16 ก.ย. 2565 ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุลประธานเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่พร้อมด้วยตัวแทน 17 เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ร่วม 10 คน ได้ยื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการจริยธรรม และประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎรร้องเรียน นพ.เอกภพ เพียรพิเศษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จ.เชียงราย พรรคก้าวไกล มีพฤติกรรมที่ขัดต่อจริยธรรมของสภาผู้แทนราษฎร ให้ข้อมูลสนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า โจมตีการทำงานของนักวิชาการและเครือข่ายควบคุมการบริโภคยาสูบ มีความผิดหลายข้อกฎหมาย 1.ผิดข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ พ.ศ. 2563 มาตรา 4, 12  2.ผิดมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 ข้อ 8, 15, 16 ซึ่งใช้บังคับส.ส. ด้วยตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 219 และประพฤติตนขัดต่อประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2564  ข้อ 10 (5) และ (9)  โดยมีนายธนสาร สุวรรณโชติ ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมาธิการการสาธารณสุขสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับหนังสือดังกล่าว

ศ.นพ.สมเกียรติกล่าวต่อว่า ส.ส.เอกภพ มีพฤติกรรมที่ขัดต่อจริยธรรมชัดเจนคือ 1.ให้ข้อมูลบิดเบือน เกินจริง เป็นเท็จ เช่น การให้สถิติคนใช้บุหรี่ไฟฟ้าของไทยโตขึ้น 4,500 % ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จ ทำให้เกิดการเข้าใจผิดและมีผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้คือธุรกิจบุหรี่ไฟฟ้า2.แสดงความคิดเห็นในเชิงกล่าวหา หมิ่นประมาท เสียดสี ไม่เคารพสิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น โดยกระทำต่อตัวแทนราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ ที่เข้าให้ข้อมูลการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าในอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพและติดตามการบังคับใช้กฎหมายด้านการสาธารณสุขที่ส.ส.เอกภพ เป็นรองประธานอนุกรรมาธิการฯว่านำเสนอข้อมูลแบบมีอคติ จับแพะชนแกะ และมีผลประโยชน์ทับซ้อน 3.รู้เห็นหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความไม่ซื่อสัตย์ สุจริต โดยส.ส.เอกภพ ให้กลุ่มลาขาดควันยาสูบ(ECST)เข้าร่วมฟังและซักถามผู้เข้าให้ข้อมูลในอนุกรรมาธิการฯ หลายครั้ง และโพสต์รูปภาพที่ตนเองและอนุกรรมาธิการฯ ถ่ายร่วมกับกลุ่มสนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งควรรู้หรือรู้อยู่แล้วว่ามีความสัมพันธ์กับกลุ่มอุตสาหกรรมยาสูบและถือเป็นการกระทำผิดต่ออนุสัญญาควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลกมาตรา 5.3 ที่ไทยได้ลงนามสัตยาบรรณไว้

“ขอให้ประธานคณะกรรมการจริยธรรม เร่งพิจารณาและสอบสวนความผิดของส.ส.เอกภพเพื่อไม่ให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติของสภาผู้แทนราษฎร ส.ส.เอกภาพ เป็นแพทย์ที่ควรมีความรู้ด้านระบาดวิทยาทางการแพทย์โทษอันตรายของบุหรี่ทุกชนิดพอสมควร จึงควรที่จะรู้หลักการทางสถิติพื้นฐาน และปกป้องสุขภาพของประชาชน แต่กลับจงใจบิดเบือนเพื่อให้ข้อมูลเท็จโดยใช้ช่องทางเฟซบุ๊กส่วนตัว ใส่ร้ายเสียดสี หน่วยงาน อาจารย์แพทย์ ราชวิทยาลัยฯที่ทำงานขับเคลื่อนเรื่องการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า เข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 มาตรา 14 นอกจากนี้ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่สุดของการเป็น ส.ส. คือการสนับสนุนผู้ทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า โดยโพสต์ยินดีให้คำปรึกษาแก่ผู้ถูกดำเนินคดีตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าและบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้าในราชอาณาจักร พ.ศ. 2557” ประธานเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่กล่าว

ด้าน นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส ผู้อำนวยการสำนักงานสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กล่าวว่า มีหลักฐานชัดเจนว่ากลุ่มลาขาดควันยาสูบ เป็นสมาชิกขององค์กรเครือข่ายผู้บริโภคนิโคตินนานาชาติ (International Network of Nicotine Consumer Organizations: INNCO) และแกนนำของกลุ่ม ECST เคยเป็นกรรมการบริหารของ INNCO ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก Foundation for a Smoke Free World (FSFW) ซึ่งเป็นมูลนิธิที่จัดตั้งและได้รับเงินทุนสนับสนุนจากบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ ฟิลลิปมอร์ริส ที่มีผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าที่กฎหมายประเทศไทยห้ามขายแต่คณะอนุกรรมาธิการฯ ที่มี ส.ส.เอกภพ เป็นรองประธานอนุกรรมาธิการฯ กลับให้คนกลุ่มนี้เข้าร่วมประชุม และซักถาม ถือว่าการดำเนินงานของคณะอนุกรรมาธิการฯ ไม่เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้มุ่งเน้นการศึกษาประเด็นบุหรี่ไฟฟ้าอย่างไม่เป็นธรรม ไม่คำนึงถึงผลกระทบสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่อาจตกเป็นเหยื่อธุรกิจบุหรี่ไฟฟ้า

“สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ รู้สึกเป็นกังวลในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่ต้องการเห็นสภาผู้แทนราษฎร โดยเฉพาะกรรมาธิการการสาธารณสุข ซึ่งเป็นเสาหลักด้านนิติบัญญัติ และมีบทบาทสำคัญในการกำหนดและติดตามนโยบายด้านการสาธารณสุขของประเทศไทย มีการดำเนินการที่ขัดต่อจรรยาปฏิบัติที่ผู้แทนราษฎร พึงกระทำ และดำเนินการที่ขัดต่อพันธกรณีในฐานะรัฐภาคี ภายใต้กรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก อันจะนำไปสู่ความเสื่อมเสียชื่อเสียงของสภาผู้แทนราษฎร เป็นที่ครหาของนานาประเทศ” นพ.วันชาติกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โรงเรียน นรต. สั่งปลด 'หนิง' คู่กรณีเมียบิ๊กโจ๊ก พ้นอาจารย์พิเศษ

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เผยแพร่เอกสาร แจ้งผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีอาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจประพฤติผิดจริยธรรม และการแต่งตั้งอาจารย์พิเศษ

ผู้นำฝ่ายค้านขึงขังเดินหน้าตรวจสอบจริยธรรม สส.

'ผู้นำฝ่ายค้าน' ยันเดินหน้าตรวจสอบจริยธรรม สส. ในสภา ไม่ละเว้นแม้เป็นสส.ด้วยกัน มองเสถียรภาพพรรคร่วมรัฐบาล เป็นเรื่องภายใน ไม่สามารถตัดสินได้

'สว.นันทนา' โดนแล้ว! กลุ่มธรรมาภิบาลร้อง 'ปธ.วุฒิ' สอบจริยธรรม

'กลุ่มธรรมาภิบาล' ร้อง 'ประธานวุฒิสภา' สอบจริยธรรม 'นันทนา' เหตุพูดดูหมิ่น 'สว.อาชีพขายหมู' ชี้พบผิดจริงให้ส่งหน่วยงานที่มีอำนาจจัดการ

โศกนาฏกรรม 23 ศพ ประจานระบบล้าหลัง นักการเมืองดันทุรังแก้ไขรธน. เพื่อตัวเอง

โศกนาฏกรรม 23 ศพ จากเหตุเพลิงไหม้รถบัสทัศนศึกษาของนักเรียนโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี บริเวณถนนวิภาวดีรังสิตขาเข้า