ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ร่วมงาน ‘ตลาดนัดความรู้ชุมชนเข้มแข็ง’ ที่ พอช.
พอช. / ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ร่วมงาน ‘ตลาดนัดความรู้ชุมชนเข้มแข็ง’ ที่ พอช. บรรยายพิเศษเรื่อง ‘ชุมชนต้องเข้มแข็งภายใต้สถานการณ์อนาคตที่ท้าทาย’ แนะชุมชนสร้างระบบเพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตัวเอง เช่น สร้างระบบการออม เตรียมอาชีพสำรอง รองรับสังคมสูงวัย ฯลฯ ขณะที่เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนทั้ง 5 ภูมิภาคเตรียมนำความรู้ ประสบการณ์ ข้อเสนอจากการจัดงานครั้งนี้ไปขับเคลื่อนให้เห็นผลเป็นรูปธรรมต่อไป
ระหว่างวันที่ 12-13 กันยายนนี้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ ร่วมกับขบวนองค์กรชุมชนและภาคีเครือข่าย จัดงาน ‘ตลาดนัดความรู้ชุมชนเข้มแข็ง’ ขึ้นที่สถาบันฯ ถนนนวมินทร์ เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ โดยมีผู้แทนชุมชนต่างๆ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประมาณ 300 คน
นายกฤษดา สมประสงค์ ผอ.พอช.
การจัดงาน ‘ตลาดนัดความรู้ชุมชนเข้มแข็ง’ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. นำเสนอรูปธรรมความสำเร็จของเครือข่าย องค์กรชุมชนที่นำไปสู่ตำบลเข้มแข็ง 2.เพื่อนำเสนอองค์ความรู้การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นภายใต้รูปธรรมตำบลนวัตกรรม เข้มแข็ง และ 3.เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการขับเคลื่อนงานพัฒนาโดยชุมชนเป็นแกนหลัก และนำข้อเสนอไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาชุมชน และเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมสนับสนุนและผลักดันเชิงนโยบายต่อไป
ส่วนรูปแบบการจัดงานมีการอภิปรายจากวิทยากรที่ทรงความรู้ การแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์งานพัฒนาพื้นที่ตำบลรูปธรรม การจัดนิทรรศการนำเสนอผลงาน การออกร้านจำหน่ายและแสดงสินค้าจากพื้นที่ตำบลรูปธรรม ฯลฯ โดยในวันนี้ (13 กันยายน) เป็นการจัดงานวันสุดท้าย มีการอภิปรายและนำเสนอผลการศึกษาพื้นที่รูปธรรมตำบลเข้มแข็งทั่วประเทศ
ผู้แทนชุมชนต่างๆ ทั่วภูมิภาค และผู้แทนหน่วยงาน นักวิชาการ ร่วมงานทั้งสองวันประมาณ 300 คน
ดร.เจิมศักดิ์แนะสร้างระบบชุมชนเข้มแข็ง
ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักเศรษฐศาสตร์ (ประธานคณะกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย : ไทยพีบีเอส) บรรยายพิเศษเรื่อง ‘ชุมชนต้องเข้มแข็งภายใต้สถานการณ์อนาคตที่ท้าทาย’ มีเนื้อหาสรุปว่า แนวทางการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งของประเทศไทยภายใต้การเผชิญปัญหาต่างๆ มากมายที่รุมล้อม ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ สังคมสูงวัยที่กำลังจะขาดแรงานงานในอนาคต
ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ดังนั้นจึงต้องจัดการชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งภายใต้สถานการณ์นี้ คือ ต้องมีการสร้างระบบชุมชน และการบริหารจัดการแนวคิด ต้องพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด โดยมีแนวทางการจัดการตนเองจากระดับครัวเรือนที่ทำได้ง่าย หลายประการสำคัญ ดังนี้
1.การจัดการระบบเศรษฐกิจให้ดีขึ้น โดยการสร้างอาชีพสำรอง เสริมสร้างรายได้จากการแสวงหาอาชีพสำรองที่ต้องการ รวมถึงการออมเงินตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อใช้จ่ายในอนาคต เช่น การออมเงิน การออมต้นไม้ สร้างระบบการออมหลากหลายวิธี เปลี่ยนวิธีคิดในการออม พร้อมกับการทำงานหารายได้
2.การปรับสภาพแวดล้อม ให้เหมาะกับทุกช่วงวัย โดยเฉพาะผู้สูงวัย 3.การรักษาสุขภาพ มีระบบรองรับเสริมสร้างสุขภาพของชุมชน ส่งเสริมสุขภาพ โดยอาศัยทางเลือกสุขภาพ การส่งเสริมกิจกรรมให้แก่ผู้สูงวัย 4.การสร้างระบบ เพื่อเป็นกลไกให้เกิดการรวมตัว และทำให้ชุมชนเข้มแข็ง
ผลการศึกษา ‘องค์ประกอบและรูปแบบตำบลนวัตกรรมเข้มแข็ง’ 5 ภาค
ในช่วงปี 2565 ที่ผ่านมา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ได้สนับสนุนการวิจัยพื้นที่ชุมชนตำบลเข้มแข็ง โดยการศึกษา ‘องค์ประกอบและรูปแบบตำบลนวัตกรรมเข้มแข็ง ในพื้นที่รูปธรรม 5 ภูมิภาค รวม 50 พื้นที่ โดยนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่างๆ และนำผลการศึกษามานำเสนอในเวทีการจัดตลาดนัดความรู้ในครั้งนี้ด้วย เช่น ภาค กทม. ปริมณฑล และตะวันออก โดย อาจารย์สกฤต อิสริยานนท์ มหาวิทยาลัยบูรพา ศึกษาพบว่า
สภาองค์กรชุมชนเขตธนบุรี กรุงเทพฯ : สร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชน มีตัวแทนของพื้นที่ต่างๆ เป็นกลไกการดำเนินงานในชุมชน ขับเคลื่อนงานโดยสภาองค์กรชุมชน สร้างชุมชนเข้มแข็ง สร้างอาชีพ มีผู้นำขับเคลื่อนงานที่เข้มแข็ง (มีทีมทำงานที่เข้มแข็ง) มีระบบกลไกการทำงาน
สภาองค์กรชุมชนตำบลสุนทรภู่ อ.แกลง จ.ระยอง : มีกลไกการประสานงานร่วมในตำบล สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายในระดับท้องถิ่น เพื่อเป็นกลไกการดำเนินงาน และขับเคลื่อนในพื้นที่
สภาองค์กรชุมชนตำบลทับพริก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว : ได้ประสานงานภาคีพัฒนาเครือข่าย เชื่อมกลไกสภาองค์กรชุมชน เสนอแผนงานต่างๆ สร้างเศรษฐกิจด้วยการใช้สุมนไพรนำมาแปรรูป และสามารถเชื่อมแผนร่วมกับหน่ยวงานต่างๆ ได้ ผลักดันโครงการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
ส่วนแนวทางการขับเคลื่อนชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง อาศัยปัจจัยกระบวนการต่าง ๆ ที่หนุนเสริมการทำงานในชุมชนให้เกิดผลดี ได้แก่
1.การสื่อสารงาน ร่วมกับคนในชุมชน เพื่อสร้างการรับรู้ สร้างกติการ่วมกัน ส่งเสริมกระบวนการทำงานทั้งภายในภายนอก เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนผลการทำงานที่เป็นรูปธรรม และขึ้นอยู่กับบริบท บทบาทการทำงานของชุมชนในแต่ละด้านของชุมชนที่เป็นเจ้าของเอง 2.การจัดการความรู้ การรวบรวมแลกปลี่ยนเรียนรู้ 3.การสำรวจข้อมูลชุมชน เพื่อนำไปสู่กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล จัดการข้อมูลที่ดี 4.มีระบบข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ
ตำบลนวัตกรรมเข้มแข็งภาคกลางและตะวันตก
ศึกษาโดย อ.อมต จันทรังษี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การศึกษาพบว่า เกิดจากการตอบสนองความต้องการของชุมชน เกิดประเด็นการขับเคลื่อน สร้างการมีส่วนร่วม สื่อสารกระบวนการ เพื่อสร้างกิจกรรมแก้ไขปัญหา หรือต่อยอดกิจกรรมแก้ไขปัญหา นำไปสู่การปฏิบัติโดยใช้ทรัพยากรของชุมชน รวมถึงการประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน หรือตำบลอื่นๆ ใกล้เคียง
ตำบลแจงงาม อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี : ปิดหมู่บ้านในช่วงสถานการณ์โควิดระบาด ใช้สมุนไพรที่ชุมชนปลูก รักษาและป้องกันโควิด ร่วมภาคี ประสานการทำงาน ส่งเสริมการปลูกผักของชุมชน ทำให้เกิดแหล่งอาหารของชุมชน คนในชุมชนอยู่ได้หากมีการปิดชุมชนในช่วงสถานการณ์โควิด
ตำบลเขาล้าน อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ : พัฒนาส่งเสริมการทำอาชีพเกษตรกร ปลูกมะพร้าวแปลงใหญ่ รวมพลังการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น โดยใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีเข้ามามีส่วน และบูรณาการร่วมกัน มีผู้นำในการทำงานที่มีความรู้ มีความเป็นอัตภาพเป็นหนึ่งเดียวกัน ใช้แนวทางเกษตรแปลงใหญ่แก้ปัญหาเกษตรซึ่งได้รับรางวัลด้านการเกษตรอีกด้วย รวมถึงการวางแผนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำและคนในชุมชน
ตำบลนวัตกรรมเข้มแข็งภาคใต้
โดย อ.อุดมศักดิ์ เดโชชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ศึกษาพบว่า การขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็ง โดยการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ เช่น การขับเคลื่อนโดยสภาองค์กรชุมชน มีแนวทางการทำงานที่สำคัญ เช่น รวมกลุ่มดำเนินกิจกรรม ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา และการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในพื้นที่
ตำบลเชี่ยวหลาน อ.บ้านตาขุน จ.สุราษฎร์ธานี : ส่งเสริมการรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม สร้างแหล่งท่องเที่ยว สร้างกิจกรรมชมรมประมง ประสานงานและจัดทำข้อตกลงร่วมกับหน่วยงาน
ตำบลนาเตย อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา : จัดทำแผนที่ชีวิต ประสานความร่วมมือ เป็นกลไกในระดับจังหวัด ออกแบบการขับเคลื่อนงานและสร้างเป็นพื้นที่พังงาแห่งความสุข ผลันให้เกิดหลักสูตรชุมชนต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
ตำบลนวัตกรรมเข้มแข็งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดย อ.พนา ใจตรง นักวิชาการอิสระ จากการศึกษาพบว่า ตำบลบ้านกลาง อ.เมือง จังหวัดนครพม : มีงานหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ สร้างอาชีพ รายได้ แก้ปัญหาความยากจน เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนเพิ่มขึ้น ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานหนุนเสริมองค์ความรู้ในการสร้างผลิตภัณฑ์จักสาน สร้างสินค้าให้มีคุณภาพ ส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุให้มีรายได้เลี้ยงตนเอง ขับเคลื่อนกิจกรรมในตำบล การปลูกไผ่อนุรักษ์ การสร้างผลิตภัณฑ์จากหวาย ซึ่งเป็นการสร้างรายได้หลักในชุมชน
ตำบลเขื่อน อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคราม : การรวมกลุ่มเพื่อขับเคลื่อนงานในชุมชน แก้ไขปัญหาเรื่องข้าว พัฒนาการจัดการแหล่งอาหารที่เป็นข้าวในชุมชน วางเป้าหมายแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน และใช้กลไกของสภาองค์กรชุมชน ยกระดับแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ รวมถึงส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดีของกลุ่มขับเคลื่อน
ตำบลนวัตกรรมเข้มแข็งภาคเหนือ
โดย อ.กิตติศัพท์ วันทา วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน การศึกษาพบว่า ชุมชนมีการส่งเสริมการพัฒนาคนรุ่นใหม่ นำมาพัฒนาเมืองแม่ฮ่องสอน โดยใช้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วม สร้างเป็นเมืองพิเศษทางธรรมชาติ คือพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าไม้ และมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย มีความหลากหลายด้านภูมินิเวศน์
ตำบลมะหินหลวง อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน : เกิดแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และการทำอาชีพเกษตรกรรมที่พึ่งพาสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งเสริมการจัดการป่าชุมชน หนุนเสริมให้พื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญของชุมชน ขับเคลื่อนกลไกวัฒนธรรมร่วมกับการทำไร่หมุนเวียน และให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมระหว่างคน ธรรมขาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เห็นควรยกระดับการพัฒนาคนรุ่นใหม่เข้ามาพัฒนาชุมชน และขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็ง
ตำบลแม่โถ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน : เกิดการจัดการและมีกติทางสังคม ร่วมดูแลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พันธุ์ปลา มีปัจจัยสนับสุนน และมีกลไกในการพูดคุยแก้ปัญหาร่วม และเห็นควรให้มีการเชื่อมโยงสายน้ำ
การสร้างเครือข่ายร่วมในการดูแลสายน้ำ และการจัดการน้ำทั้งระบบ ฯลฯ
การจัดงานครั้งนี้มีการนำสินค้าเกษตรอินทรีย์และผลิตภัณฑ์จากชุมชนต่างๆ มาจำหน่ายและแสดงด้วย
ระดมความเห็นแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต-เศรษฐกิจชุมชน
ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมงาน ‘ตลาดนัดความรู้ชุมชนเข้มแข็ง’ ได้ร่วมกันเสนอความเห็นต่อแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) โดยแผนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน 5 ปี ประกอบด้วยเป้าหมายที่สำคัญของการพัฒนา
คือ สมาชิกทุกคนมีชีวิตที่ดี เกิดการพัฒนาระดับกลุ่มองค์กรชุมชน สร้างรายได้แก่กลุ่ม สร้างความเข้มแข็ง มีกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากนำไปสู่ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง มีเครือข่ายเชื่อมโยงประสานการทำงานในทุกระดับ
ประกอบด้วยแผนการขับเคลื่อน 4 แผนงานสำคัญ ได้แก่ 1. การเพิ่มขีดความสามรถของชุมชน 2.การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและองค์ความรู้ของชุมชน 3. การสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน และ 4.การพัฒนาพื้นที่รูปธรรม
โดยผู้เข้าร่วมได้เสนอแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนดังนี้ 1. แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนนี้ จะนำไปสู่การออกแบบ เสนอแนวทางกลไกการขับเคลื่อนงาน รวมทั้งส่งเสริมการทำงาน และสร้างความร่วมมือร่วมกันทั้งในระดับท้องที่ ท้องถิ่น 2.ส่งเสริมการบริหารจัดการระบบที่ดี รวมถึงการบริหารทรัพยากรบุคคล ให้สอดคล้องกับวิธีการดำเนินงาน
3.ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ เสนอให้ใช้กลไกการขับเคลื่อนงานร่วมกับด้วยสภาองค์กรชุมชนตำบลในระดับพื้นที่ เพื่อหนุนเสริมประเด็นการทำงานร่วมกัน 4.การพัฒนาการทำงานในรูปแบบกลไกการหนุนเสริม ร่วมกับท้องถิ่น หน่วยงานในพื้นที่
และ 5.ให้มีการศึกษาองค์ประกอบของกลไกต่าง ๆ และผู้นำขบวนองค์กรชุมชนที่ทำงานร่วมในพื้นที่ โดยเสนอให้มีกระบวนการพัฒนาผู้นำให้มีศักยภาพ รวมถึงปลูกฝังกระบวนการทำงาน และการเชื่อมประสานงานต่าง ๆ ของผู้นำขบวนองค์กรชุมชน
ทั้งนี้ประสบการณ์การพัฒนาชุมชนตำบลเข้มแข็ง รวมทั้งข้อเสนอต่างๆ จากการจัดงาน ‘ตลาดนัดความรู้ชุมชนเข้มแข็ง’ ครั้งนี้ เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนทั้ง 5 ภูมิภาคจะนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตัวเองได้ต่อไป
เรื่องและภาพ : สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รวมพลังคนจนเมืองทั่วประเทศ เปลี่ยนสลัม สู่บ้านมั่นคง บ้านแห่งศักดิ์ศรีที่ทุกคนร่วมสร้าง!
เมื่อความฝันของคนจนไม่บ้านกลายเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ วันนี้พร้อมที่จะก้าวข้ามขีดจำกัด เปลี่ยนแปลงสลัมให้เป็น "บ้านมั่นคง" ที่เต็มไปด้วยศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นมนุษย์
ประกาศผล 8 กองทุน เข้ารับรางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนดีเด่น ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประจำปี พ.ศ. 2567
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหารชน) หรือ พอช. ร่วมกับ คณะทำงานพิจารณารางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนประจำปี 2567 จัดเวทีพิจารณา รางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชน
ชุมชนทั่วประเทศ ระดมข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้รัฐ ในการประชุม ‘ระดับชาติสภาองค์กรชุมชนตำบล’ ครั้งที่ 16 ปี 2567 เชื่อมั่น “พลังชุมชน พลังประชาชน สามารถเปลี่ยนแปลงประเทศได้”
การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลครั้งที่ 16’ ปี 2567 ผู้แทนสภาองค์กรชุมชน ทั่วประเทศ ระดมข้อเสนอเชิงนโยบายให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
“16 ปี สภาองค์กรชุมชนตำบล” “พัฒนาประชาธิปไตยฐานราก สร้างพลังชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง”
‘สภาองค์กรชุมชนตำบล’ จัดตั้งขึ้นมาตาม ‘พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551’ ปัจจุบันเป็นระยะเวลา 16 ปี มีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนในระดับตำบล เทศบาล และเขต
โค้งสุดท้าย 26 กองทุนฯทั่วไทย ลุ้นรางวัลกองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่น ‘ป๋วย อึ๊งภากรณ์’
กรุงทพฯ/(16 ธ.ค. 67) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหารชน) หรือ พอช. ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย คณะทำงานพิจารณารางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนประจำปี 2567
พอช. หนุน “ศูนย์กระจายสินค้าชุมชน” โมเดลสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ที่กาญจนบุรี
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ร่วมกับ เครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี จัดพิธีเปิดศูนย์กระจายสินค้าชุมชนตำบลหนองตากยา