มหิดลผนึก สสส.จับมือ 25 สถาบัน upskill..บุคลากรสาธารณสุข

ทุกวันนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลง มีการพัฒนาเทคโนโลยีก้าวไกล ความรู้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อเรียนจบจากมหาวิทยาลัยแล้วปฏิบัติหน้าที่ใช้ความรู้เดิมไม่เพียงพอแล้ว จำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือ upskill เพิ่มทักษะด้วยการเติมเต็มความรู้ใหม่ๆ โดยเฉพาะต้องมีการยืดหยุ่นในการทำงานร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน พัฒนาการต่อยอดท่ามกลางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเพิ่มประสบการณ์ด้วยโครงการจัดการเรียนการสอน Nondegree Program การเรียนการสอนผ่านทางออนไลน์ เลือกเรียน anywhere anyplace เติมเต็มความรู้ได้ตลอดเวลา การเรียนปริญญาตรีสั้นลง สามารถเลือกเรียนควบต่อปริญญาโทได้ เป็นความยืดหยุ่นของระบบการศึกษาสมัยใหม่

.นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เรื่องการพัฒนาหลักสูตร และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2565 ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ศ.นพ.บรรจงกล่าวว่า “การลงนามความร่วมมือในวันนี้จึงถือเป็นก้าวสำคัญ ในการร่วมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการ ด้านการสร้างเสริมศักยภาพของบุคคล โดยผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสาขาอื่นๆ ที่มีความถนัดและต้องการศึกษามากกว่า 1 สาขา ที่สำคัญมีโครงการระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank System) ที่ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในวิชาที่ตนเองสนใจเก็บเข้าในระบบดังกล่าว โดยมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีความรู้กว้างขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของประเทศและโลกในอนาคต ดังนั้น อาจารย์ที่เข้ามาสอนในหลักสูตรนี้สามารถเลือกจาก outsource ด้วยทักษะความรู้จากประสบการณ์วิชาชีพเป็นการ share resource”

สสส.มีคนหน้างานมีประสบการณ์ ผนึกกำลังร่วมกับมหิดล บางคนทำงานอยู่แล้วก็เข้ามา Upskill ได้ประกาศนียบัตรอบรม การเรียนแบบยืดหยุ่นได้ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีความสนใจด้านสาธารณสุขก็มาลงเรียนที่คณะสาธารณสุขของมหิดล และนับหน่วยกิตที่ ม.เกษตรศาสตร์ เป็นการเรียนฟรีใน 25 มหาวิทยาลัยของรัฐ หรือใครสนใจก็เข้ามานั่งเรียนแบบ sit in โดยไม่ต้องลงทะเบียนเรียน แต่ถ้ามีการออก field จะมีค่าใช้จ่ายหรือถ้าต้องการtranscriptก็แจ้งขอได้ด้วย ทั้งหมดนี้เป็นการตอบโจทย์ม.มหิดลช่วยประเทศชาติผลิตบัณฑิต เพราะบุคลากรของม.มหิดลก็รับเงินเดือนจากภาครัฐอยู่แล้ว

ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า มหิดลเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำ โดยเฉพาะทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข และยังเป็นภาคีสำคัญด้านวิชาการในการจัดการความรู้หลายด้าน ทั้งการวิจัยและการส่งเสริมป้องกันโรค อาทิ โครงการการจัดการด้านโภชนาการและสิ่งแวดล้อมของอาหารริมบาทวิถี โดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหิดล องค์ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายของคนไทยผ่านศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK) โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหิดล ศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ โดยสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหิดล ซึ่งความร่วมมือพัฒนาหลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาพ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการสร้างเสริมสุขภาพมืออาชีพ เพื่อร่วมกันเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรด้านการสร้างเสริมสุขภาพ นักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไป รวมทั้งร่วมกันพัฒนาหลักสูตร ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เพิ่มทักษะที่สำคัญของศตวรรษที่ 21

.ดร.พญ.พัชรีย์ เลิศฤทธิ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ได้ริเริ่มพัฒนารายวิชาแบบ Micro-Credentials และสนับสนุนให้ส่วนงานต่างๆ ของมหิดล จัดทำรายวิชา Microcredit ที่แบ่งย่อยหน่วยกิตให้เล็กลง เพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ และการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งบุคคลในวัยเรียน วัยทำงาน และผู้สูงวัย สามารถสะสมหน่วยกิตในระบบธนาคารหน่วยกิต แล้วนำมาเทียบโอน เพื่อร่นระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา และประหยัดค่าใช้จ่าย โดยยังคงคุณภาพขององค์ความรู้ที่คัดสรรจากคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของส่วนงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นที่ยอมรับทางวิชาการระดับโลก

รศ.ดร.นพ.นันทวัช สิทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy) สสส. กล่าวว่า สสส.ได้จัดตั้งสถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพขึ้น มีหน้าที่สนับสนุนและพัฒนาหลักสูตร ศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคลด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เผยแพร่และสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกันสนับสนุนและฝึกอบรม จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานของ สสส. หรือบุคคลที่มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพเป็นวิทยากรให้ความรู้ ให้บริการทางวิชาการ ให้คำปรึกษาแนะนำ และให้ความช่วยเหลือแก่ภาคีเครือข่าย รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ความร่วมมือครั้งนี้ มีการจัดทำ Microcredit ของหลักสูตรฝึกอบรมของ ThaiHealth Academy กับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาต่างๆ ของบัณฑิตวิทยาลัย มหิดล ดังนั้นจะเอื้อให้ภาคีเครือข่ายที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรของ ThaiHealth Academy สามารถเก็บสะสมหน่วยกิตของรายวิชาที่เทียบเคียงในระบบธนาคารหน่วยกิตได้

การพัฒนาหลักสูตรสุขภาวะในชุมชน Health Promotion นโยบายสาธารณสุข การสร้างภาคีเครือข่าย มหาวิทยาลัยเป็นคลังความรู้ เป็นการนำคนจากสองโลกมาพบกัน งานวิจัย พนักงาน การบริการ จากเดิมที่ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ แต่มาช่วยกันคิดและลงมือทำเป็นการตอบโจทย์หลักสูตร ขณะนี้ระดับบัณฑิตศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์เริ่มสอนในระดับปริญญาโท ปริญญาเอกแล้ว มาตรฐานมหิดล เพื่อจะเป็นนักสุขภาวะสร้างสังคมสุขภาวะ นัก Influencer สร้างคนในชุมชนออกมาทำงานเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร เชื่อมต่อเครือข่าย การเข้าถึงระบบบริการสาธารณะให้ประโยชน์กับชุมชน

ต้องยอมรับว่า ความรู้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากสังเกตได้ว่าเครื่องมือแพทย์มีการพัฒนาใหม่ๆ ที่แพทย์เองก็ต้องเรียนรู้ให้เกิดความเชี่ยวชาญ รวมทั้งตัวยาใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้ก็ต้องเข้ามาเรียนรู้เพิ่มเติมไม่หยุดนิ่ง โครงการความร่วมมือระหว่างมหิดลและ สสส. จึงเป็นการตอบโจทย์กระแสอภิวัฒน์และนวัตกรรมใหม่พร้อมไปกับการหมุนไปของโลกนั่นเอง.

***

หลักสูตรเรียนรู้จากประสบการณ์จริง

รศ.ดร.สราวุธ เทพานนท์ คณบดีสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หลังสถานการณ์โควิด คณะสาธารณสุขทุกมหาวิทยาลัยทั่วโลกมีบทบาทเปลี่ยนเป็น Health Promotion เป็นจุดเด่นในการอบรม Wellness คณะสาธารณสุขในเมืองไทยพัฒนาตัวเองอยู่ในลำดับต้นๆ เกรด A ด้วยจุดสนใจในมิติใหม่ในการจัดการด้านสาธารณสุข ในการดึง Health Promotion เข้ามามีบทบาท

"จุดอ่อนของงานสาธารณสุข คือการสื่อสารให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจมีข้อจำกัด ดังนั้นจำเป็นต้องดึงผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารมาร่วมมือกัน สังเกตได้ว่าถ้า สสส.ทำสื่อจะสร้างความเข้าใจได้อย่างง่ายๆ ไม่เป็นงานวิชาการหรือวิจัยจนเกินไป งานสาธารณสุขเป็นงานส่งเสริมด้านสุขภาพในมิติหนึ่ง เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนจากความเป็นจริงของสังคม นำทฤษฎีและปฏิบัตินำมาใช้ให้สอดคล้องกับการส่งเสริมสุขภาพ"

หลักสูตรความร่วมมือนี้ ผู้เรียนจะได้มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ นำมาถ่ายทอด ถือเป็นการปรับหลักสูตรที่ออกไปหาประสบการณ์จริง มากกว่าเพียงการเรียนในห้องเรียนแล้วนั่งดูสไลด์เท่านั้น หลักสูตรใหม่นี้เป็นการออกแบบร่วมกันระหว่างอาจารย์มหาวิทยาลัย ผลิตบุคลากรที่ได้รับโอกาสและความร่วมมือในการใช้ประสบการณ์จริง

โดยเริ่มจากหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ เป็นสาขาแรก สำหรับระยะต่อไปจะจัดทำ Training course รายวิชาอื่นๆ ในรูปแบบ Microcredit และความร่วมมือด้านการฝึกภาคสนาม (Field internship หรือ Field study) ด้านส่งเสริมสุขภาพ สำหรับนักศึกษาของหลักสูตร และระยะต่อไป จะมีการพัฒนาหลักสูตรร่วมกันที่ตอบโจทย์ความต้องการ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งคณะสาธารณสุขศาสตร์มีหลายภาควิชา/หลักสูตร ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาร่วมกันได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ

"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ

เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน

สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้

เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต