การโหวตปิดสวิตช์ ส.ว.ที่เพิ่งผ่านไป แม้ฝ่าย ส.ว.จะเป็นฝ่ายชนะ ได้สิทธิ์เลือกนายกฯ หลังการเลือกตั้งรอบหน้า แต่คะแนนโหวตกฎหมายปิดสวิตช์ ที่ออกมานั้น คือทิศทางการเมือง ที่น่าจับตามอง เพราะอย่าลืมว่า การเมืองไทย ขยับเข้าใกล้ศึกเลือกตั้งทุกวินาที
ผลการลงคะแนน ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ และ ส.ส.พรรคเล็กลงมติไม่รับหลักการทั้ง 4 ร่าง ขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลอื่นอย่างพรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคฝ่ายค้านทุกพรรคลงมติรับหลักการทั้ง 4 ร่าง
ในส่วนของ ส.ว.ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะ ส.ว.ที่เป็นตำรวจ ทหารลงมติไม่รับหลักการทั้ง 4 ร่าง มีเพียง ส.ว.บางส่วนเท่านั้น ที่ลงมติรับหลักการในร่างที่ 4 เรื่องการตัดอำนาจ ส.ว.โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี อาทิ นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ นายคำนูณ สิทธิสมาน นายปานเทพ เทพกาญจนา พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ นายพิศาล มาณวพัฒน์ นายวันชัย สอนศิริ นายมณเฑียร บุญตัน พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช และ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
จะเห็นว่าในส่วนของผู้แทนปวงชน อย่าง ส.ส.นั้น มีเพียงพรรคพลังประชารัฐ และกลุ่มพรรคเล็ก ที่ลงมติค้านการปิดสวิตช์ ส.ว. สวนทางกับพรรคอื่น ที่ไปหนุนกฎหมายนี้
นัยยะแห่งคะแนนดังกล่าวนั้น ให้ย้อนไปถึงการเปิดเผยเหตุผลของนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ในการพาพรรคร่วมรัฐบาลกับ พปชร. ปี 2562 ว่า
“วันนั้น เอาทุกพรรคไปรวม โดยไม่มีพรรคพลังประชารัฐ และบางพรรคที่มีเจตนามาแล้วว่า จะชูพล.อ.ประยุทธ์ คำตอบคือ มันไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ต่อให้รวมพรรคภูมิใจไทย ก็ยังตั้งรัฐบาลไม่ได้ จากนั้นให้ไปดูกฎหมายที่เขียนไว้ชัด ถ้าตั้งรัฐบาลไม่ได้ คสช. อยู่ชั่วฟ้าดินสลาย เป็นรัฐบาลต่อยาวๆ จนรัฐบาลใหม่เข้ามา การที่ผมเซย์เยสวันนั้น เท่ากับวงจร คสช.จบ เท่ากับมีรัฐบาลในระบบรัฐสภา อย่างน้อย ทำให้มีสภามาตรวจสอบรัฐบาล ผู้มีอำนาจต้องกลับมาฟังเสียงพี่น้องประชาชนแล้ว พรรคภูมิใจไทยมองมุมนี้”
ไม่ผิดไปจากที่นายอนุทินว่าไว้
เมื่อพลิกไปดู มาตรา 272 ในรัฐธรรมนูญปี 2560 นั้น ให้อำนาจ ส.ว.แต่งตั้ง 250 คน ร่วมโหวตนายกฯ ร่วมกับ ส.ส. เป็นเวลา 5 ปี
เท่ากับใครก็ตามที่ จะมาเป็นนายกฯ ต้องได้เสียงในรัฐสภา 376 เสียงขึ้นไป ซึ่งเป็นเสียงเกินครึ่งของเสียงในสภา 750 เสียง มาจาก 500 เสียง ส.ส. และ 250 เสียง ส.ว.
ในการเลือกตั้งล่าสุด ปี 2562 ทันทีที่พรรคพลังประชารัฐรวมเสียง ส.ส.ได้เกิน 125 เสียง เท่ากับสวิตช์ สว.เปิดแล้ว อย่างไรก็ตาม ด้วยกฎหมายกำหนดให้รัฐบาลหลังปฏิญาณตน จะทำงานโดยไร้อำนาจ คสช. และ มาตรา 44 หนุนหลัง
พรรคพลังประชารัฐ จึงจำเป็นต้องได้สียงจากภูมิใจไทย เข้าไปเป็นกองหนุน เพื่อให้ได้เสียงในสภา ส.ส.สูงกว่าครึ่งหนึ่ง
และกว่าจะรวมรัฐบาลกันได้ ก็ต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน ซึ่งตราบที่ภูมิใจไทย ยังไม่เข้าร่วม มาตรา 44 ก็ยังทำงานต่อไป เช่นเดียวกับความมีอยู่อย่างเข้มแข็งของ คสช.
โดยไม่มีประโยชน์ที่พรรคภูมิใจไทย จะเข้าร่วมกับเพื่อไทย เพราะนับเสียงดูแล้ว ต่อให้ได้ภูมิใจไทย และประชาธิปัตย์เข้าร่วม เสียงก็ยังไม่ถึง 375 เสียง
ที่สุดแล้ว พรรคภูมิใจไทย จึงตั้งรัฐบาลกับพลังประชารัฐ ตามแรงบีบของสถานการณ์ ณ ขณะนั้น
นี่คือคำการแปลความหมายจากสื่อสารของนายอนุทิน ที่สะท้อนพลังอันแห่งการคัดสรรอันเกิดจาก 250 สว.
ชัดเจนว่า ถ้าใครได้ครองอำนาจแห่ง สว. ก็เหมือนได้หย่อนก้นนั่งเก้าอี้นายกฯ ไปแล้ว และอำนาจนี้เอง ที่ทำให้การเมืองไทย มีความฝืนธรรมชาติแห่งเจตนารมณ์ประชาชนอยู่มากพอสมควร เพราะพรรคการเมืองหนึ่ง ต่อให้ได้ ส.ส.เกินครึ่ง แต่หากรวมเสียงได้ไม่ถึง 376 เสียง ก็ยากต่อกรกับพรรค สว. ที่มีเสียงอยู่แล้วถึง 250 ที่นั่ง รอแค่พรรคแนวร่วมหาเสียงมาเติมอีก 126 เสียงเท่านั้น
ว่ากันว่า ฝ่ายหนึ่งนั้นได้โจทย์ง่ายเหมือนปลอกกล้วยเข้าปาก ในขณะที่อีกฝ่ายต้องดิ้นรนชนะแบบถล่มทลาย ไหนจะต้องรวมเสียงเพื่อนอีกมหาศาล เหมือนวิ่งสนาม 750 เมตร แต่ต่อให้คู่แข่งวิ่งไปก่อน 250 เมตร จึงเริ่มออกตัววิ่ง
นี่เองคือเงื่อนไขแห่งมาตรา 272 ในรัฐธรรมนูญปี 2560 ซึ่งทำให้การเมือง มีความผิดปกติเกิดขึ้น และทำให้พรรคการเมืองต่างๆ รู้สึกกระอักกระอ่วนใจ นำมาซึ่งผลการลงคะแนนตัดอำนาจ สว.ที่ทุกพรรค ยกเว้น พปชร.เห็นตรงกันว่า ต้องปิดสวิตช์
“หลังการเลือกตั้งปี 2562 มา การเมืองไทยก็ยังอยู่ในภาวะ ประชาธิปไตยที่ถูกควบคุม ซึ่งมีกลไกลทางรัฐธรรมนูญกำกับเอาไว้ โดยการควบคุมข้างต้น ปฏิบัติการผ่านบทบาทของ ส.ว. 250 คน ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของ คสช. ทำให้ ส.ว. เป็นสภาถ่วงดุลกับสภาผู้แทนราษฎร ทั้งที่เป็นตัวแทนประชาชน แต่กลับต้องมาคอยพะวงกับ ส.ว.
ทำให้เสียงของประชาชนไม่สามารถเป็นเสียงที่มีน้ำหนัก ในการสะท้อนความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง”
รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช อธิบายเนื้อในปัญหาของมาตรา 272
ขณะที่ ดร.สติธีร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า ให้ความเห็นว่า
“ที่พรรคพลังประชารัฐ ต้องเลือกแบบนั้น เพราะเขาจะไปต่อ โดย มี ส.ว.หนุนหลังเพื่อให้ได้จัดตั้งรัฐบาล ครั้งที่แล้ว เขาก็ประสบความสำเร็จจากวิธีการนี้ ตอนนั้น เขามีเสียงในมือแล้ว 250 เสียง เป็น ส.ว. แค่ต้องการ ส.ส.มาเติมอีก 126 คน ไม่ใช่จำนวนที่เหลือบ่ากว่าแรงเลย พอพลังประชารัฐได้ ส.ส.มา 100 กว่า บวกกับพรรคแนวร่วมอย่างพรรคคุณสุเทพ(สุเทพ เทือกสุบรรณ) บวกพรรคเล็ก เสียงเกิน 126 เขามั่นใจได้แล้วว่า เขาตั้งรัฐบาลได้แน่นอน ถึงมันจะไม่ชอบธรรมในบางมิติ แต่มันก็เป็นไปตามกฎหมาย เขายึดถือตรงนี้ แล้วเขาก็ยังมีแต้มต่อว่า ถ้าจัดตั้งรัฐบาลไมได้ คสช. ก็อยู่ต่อไปอีก เป็นแรงบีบให้พรรคอื่น มาร่วมกับเขาได้
การเลือกตั้งคราวนี้ก็เหมือนกัน การโหวตกฎหมายปิดสวิตช์ สว.ถึงจะทำไม่สำเร็จ แต่มันทำให้เห็นแล้วว่า ในบรรดา ส.ส.มันมีอยู่ 2 กลุ่ม คือกลุ่ม ที่ไม่ใช่ทีม ส.ว. ก็คือทุกพรรคการเมือง กับอีกกลุ่ม คือ กลุ่ม ส.ว. ที่มีพลังประชารัฐ กับทีม ส.ว. เมื่อปิดสวิตช์ ส.ว.ในสภาไม่สำเร็จแล้ว แล้วมันยังจะมีทางอื่นอีกไหม
คำตอบคือมี
ในการเลือกตั้ง พรรคการเมืองทั่วๆ ไป ที่อยู่คนละข้าง กับ ส.ว.ต้องมีเสียงให้ได้เกินกว่า 375 เสียง ยากมาก แต่ด้วยตัวเลขตรงนี้ ต่อให้อีกฟากจะมี 250 ส.ว.หนุน ทว่าด้วยเพราะเขาเหลือ ส.ส.ไม่ถึง 126 เสียง บวกกันให้ตาย ฝ่าย ส.ว.ก็แพ้ ดังนั้น เพราะข้อเรียกร้องทางการเมืองที่ต้องได้ ส.ส. ถึง 376 เสียง เราอาจจะเห็น เพื่อไทย ก้าวไกล ภูมิใจไทย ประชาธิปัตย์ จับมือกัน และอย่าคิดว่าเป็นความฝัน เพราะการโหวตไม่เอา ส.ว.มาเลือกนายกฯ มันก็เหมือนลงเรือลำเดียวกันแล้ว”
นี่คือยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจ หรือการเลือกพรรคการเมือง เพื่อปิดสวิตช์ ส.ว. เพื่อคืนการเมืองกลับสู่ความเป็นธรรมชาติ สนองเจตนาประชาชน
โดยทีมปิดสวิตช์ ส.ว.จะประกอบไปด้วย เพื่อไทย ภูมิใจไทย ก้าวไกล ประชาธิปัตย์ และพรรคอื่นๆ
ในขณะที่ทีม สว. นำโดยพลังประชารัฐ
การแพ้ชนะมีเงื่อนไขเดียวคือ ทีมปิดสวิตช์ สว. ต้องได้เสียง 376 เสียงขึ้นไป
เหมือนจะยาก แต่มีความเป็นไปได้แน่นอน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"ไชยชนก" นำ รมต. - รมช. - กก.บห. - สส. พรรคภูมิใจไทย วางพวงมาลาถวายสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปิยมหาราช 23 ต.ค.
23 ตุลาคม 2567 ณ พระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระลานพระราชวังดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ นายไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วย พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน, นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล
'อนุทิน' แกะบ่วงทิ้ง ใครก็ 'ครอบงำ' ภูมิใจไทยไม่ได้
“อนุทิน” ยัน ใครครอบงำ “ภท.” ไม่ได้ ย้ำทุกอย่างมาจากมติที่ประชุม หลัง กกต.รับคำร้องยุบ พท.- พรรคร่วม เผยดินเนอร์เย็นนี้ขึ้นอยู่กับ นายกฯ พิจารณา มั่นใจ ปม แก้รัฐธรรมนูญ-นิรโทษกรรม ไม่ใช่ชนวนความขัดแย้ง
'ภูมิใจไทย' คว่ำรายงานนิรโทษกรรมปูทางล้างผิด 112
“ภูมิใจไทย” ไม่เอาด้วย ยันโหวตคว่ำรายงานนิรโทษกรรม ไม่ร่วมสังฆกรรม ชงล้างผิด 112 ย้ำเนื้อหามีปัญหา กำกวม
ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ! “ไชยชนก” นำคณะล่องเรือแม่น้ำน้อยช่วยเหลือชาวบ้านกลุ่มผู้เปราะบาง ให้กำลังใจ ชาวผักไห่ จ.อยุธยา
12 ตุลาคม 2567 เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา นายไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารพรรค อาทิ นายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภา คนที่
จับตา 'ภท.' รุกคืบ! สัญญาณแข็งข้อกับ 'พท.' ชัดขึ้นเรื่อยๆ
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ภูมิใจไทยงดออกเสียง พ.ร.บ.ประชามติ สัญญาณการแข็งข้อกับเพื่อไทย
"โสภณ" นำชาวบุรีรัมย์ นำร่องปราบยาเสพติดปิดประตูตีแมวล็อคทั้งหมู่บ้าน คืนศรัทธาให้เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด
7 ตุลาคม 2567 นายโสภณ ซารัมย์ สส.บุรีรัมย์ เขต 4 พรรคภูมิใจไทย และประธานที่ปรึกษามูลนิธิอาณัติพณ ซารัมย์(ลูกเติ้ง) พร้อมด้วยประชาชนชาวอำเภอคูเมือง