พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถพิตร เกี่ยวกับโครงการพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อความกินดีอยู่ดี หรือพออยู่พอกินให้แก่ประชาชนในชนบทที่อยู่ห่างไกลและยากจน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีส่วนสำคัญที่เข้าไปเสริมแผนงานต่างๆ ของรัฐบาลก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ทั้งด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงเป็นส่วนรวม
ในการปฏิบัตินั้น หากจะปล่อยให้การดำเนินงานสนองพระราชดำริของหน่วยงานต่างๆ เป็นไปอย่างในอดีตที่ผ่านมา ที่แต่ละหน่วยงานจะดำเนินการอย่างเอกเทศต่างฝ่ายต่างทำไม่มีการประสานงานกับหน่วยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลจึงได้กำหนดให้มีองค์กรระดับชาติรับผิดชอบเรียกว่า "คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ" หรือเรียกโดยย่อว่า "กปร."
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2524 นายลลิต ถนอมสิงห์ เลขาธิการ กปร. เปิดเผยว่าปัจจุบันโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีทั้งหมด 5,151 โครงการ ตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 9 จนถึงรัชกาลที่ 10 พระองค์ทรงให้ความสำคัญในการพัฒนาแหล่งน้ำซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพของราษฎร ตลอดถึงพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 6 แห่ง ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อศึกษาทดลองจนประสบความสำเร็จแล้วขยายผลสู่การนำไปปฏิบัติใช้ของราษฎร โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงนับเป็นโอกาสของประชาชนที่จะเข้าไปเรียนรู้และนำสิ่งเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต และประกอบอาชีพ
อย่างเช่น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จ.สกลนคร ที่นอกจากการศึกษาทดลองด้านพันธุ์พืชแล้วยังมีด้านสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อม นำมาเป็นอาหารในครัวเรือน และขายได้ เช่น 4 ดำภูพานแล้ว ประกอบด้วย ไก่ดำภูพาน สุกรภูพาน โคทาจิมะ (โคเนื้อ) และกระต่ายดำ ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงความสำเร็จด้านการพัฒนาพันธุ์สัตว์ และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างชัดเจน
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวทาง และวางรากฐานไว้ว่าการพัฒนานั้นต้องเป็นการพัฒนาแบบพึ่งพาตนเองเพื่อให้ตนเองเกิดความเข้มแข็ง และผู้อื่นก็สามารถที่จะดำเนินการได้ด้วยการเพิ่มทักษะ องค์ความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนสร้างจิตสำนึกที่ดีมีคุณธรรมต่อตนเองและผู้อื่น เหล่านี้เป็นพื้นฐานความคิดที่ดีที่ถูกต้อง สามารถนำไปเป็นแนวทางพัฒนาและปรับใช้ในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติในทุกๆ ด้าน เป็นสัมฤทธิ์ผลได้” นายลลิต ถนอมสิงห์ เลขาธิการ กปร. กล่าว
“41 ปีที่ผ่านมาทุกภาคส่วนต่างให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างต่อเนื่อง เพราะเป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักคือประโยชน์สุขของประชาชน และต่อจากนี้จะมีการสืบสานรักษาต่อยอดตามพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการขัยเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในทุกด้านให้บรรลุผลตามพระราชประสงค์ต่อไป” เลขาธิการ กปร. กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร นครนายก น้อมรำลึก ร.9
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นายกกิตติมศักดิ์และประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา พระราชทานพระราชานุญาตให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดงาน “ชัยพัฒนาแฟร์” ขึ้น เพื่อแสดงแนวคิดด้านการพัฒนา
เตรียมพบกับคอนเสิร์ตเพลงพระราชนิพนธ์ครั้งยิ่งใหญ่ 'H.M. Blues'
ปรากฏการณ์ดนตรีแจ๊สครั้งสำคัญที่คนไทยจะได้ร่วมรำลึกถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีแจ๊สของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงแจ๊สที่มีคุณค่าเป็นจำนวนมาก
เอกลักษณ์ คน กปร. ตัวคูณ ร่วมสืบสาน รักษา และต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สำนักงาน กปร. เดินหน้า 10 ปี ต่อเนื่อง โครงการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ (นบร.) ก้าวสู่รุ่นที่ 12 และหลักสูตรนักพัฒนาตามแนวพระราชดำริ (พพร.) รุ่นที่ 11 ภายใต้โครงการ RDPB Talk ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
43 ปี "อันเนื่องมาจากพระราชดำริ" สร้างสุข สู่รอยยิ้ม และความยั่งยืน
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศนั้น มีส่วนสำคัญต่อการเสริมแผนงานต่าง ๆ ของรัฐบาลและเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง อันเป็นผลจากพระราชกรณียกิจ
กปร. นำสื่อมวลชน เยี่ยมชมศูนย์ฯ ภูพาน “บ้านของพ่อ แหล่งศึกษาเรียนรู้เพื่อการทำกินอย่างยั่งยืนของผู้คนถิ่นอีสาน”
วันที่ 6-7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ณ อาคารสัมมนา 1 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านนานกเค้า ต.ห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร สำนักงาน กปร.นำคณะสื่อมวลในโครงการสื่อมวลชนสัญจร สืบสานพระราชดำริ ประจำปี 2567 เยี่ยมชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาพัฒนาภูพานฯ โดยมี นางสาวจิราภรณ์
“ดิน น้ำ ลม ป่า” สมบูรณ์พูนสุข ด้วยการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
การพัฒนาประเทศหลากหลายโครงการที่เกี่ยวกับดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ ประมง และปศุสัตว์ ปัจจัยพื้นฐานในการประกอบอาชีพของประชาชนชาวไทย ได้รับการขยายผลก่อเกิดความอุดมสมบูรณ์เอื้อต่อการดำรงชีพสร้างมิติอยู่ดีมีสุขอย่างกว้างขวาง