สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA เปิดตัวโครงการ “HERB TO GO สมุนไพรไทยพร้อมไปต่อ” โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่จะช่วยพัฒนายกระดับวิสาหกิจชุมชน ด้วยการใช้แพลตฟอร์มความร่วมมือเเละความคิดสร้างสรรค์ต่อยอดสินค้าและบริการ ดัน 3 จังหวัดต้นเเบบ ได้แก่ กระบี่ สกลนคร สมุทรปราการ มุ่งใช้สมุนไพรท้องถิ่น ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สร้างจุดขาย เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ตั้งเป้าต่อยอดโมเดลสู่จังหวัดอื่นๆ ต่อไป
ภายในงาน เมื่อเร็วๆ นี้ (9 ก.ย. 65) ณ ห้อง Auditorium ชั้น M สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ประธานกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นประธานเปิดงานโดยมี ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน รองประธานคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากเเละประเทศ นางสาวสกุณา สาระนันท์ สมาชิกผู้เเทนราษฏร เขต 5 จังหวัดสกลนคร และนางสาวพิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล สมาชิกผู้เเทนราษฏร จังหวัดกระบี่ ให้เกียรติร่วมเสวนา พร้อมแชร์ประสบการณ์ในการพัฒนาชุมชน โดยมี ดร.ชาคริต พิชยางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นำคณะผู้จัดงานให้การต้อนรับ ท่ามกลางผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนร่วมงานจำนวนมาก
ดร.ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA เปิดเผยว่า CEA มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้นำเสนอโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยใช้กระบวนการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ (Value Creation) ให้แก่สมุนไพรไทย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจชีวภาพและเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศไทยของเรานั้นตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ทำให้มีความหลากหลายของพันธุ์พืชสูง ตลาดสมุนไพรไทยจึงเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องในเอเชียและยุโรป ซึ่งสินทรัพย์ล้ำค่าเหล่านี้มีอยู่ในท้องถิ่นทั่วประเทศ “CEA จึงเล็งเห็นช่องทางการนำมาพัฒนาต่อยอดด้วยความคิดสร้างสรรค์ผนวกกับองค์ความรู้ด้านการพัฒนาธุรกิจ นวัตกรรม สร้างเป็นแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทย ที่สามารถยกระดับวิสาหกิจชุมชน สู่การเพิ่มมูลค่าธุรกิจ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชนให้ดียิ่งขึ้นเเละการต่อยอดเชิงพาณิชย์ในตลาดท้องถิ่นเเละตลาดสากลต่อไป”
ดร.ชาคริต กล่าวต่อไปว่า CEA เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญในการเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ ไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ผ่านโครงการเเละกิจกรรมในรูปเเบบต่างๆ “HERB TO GO สมุนไพรไทยพร้อมไปต่อ” นับเป็นโครงการสร้างมูลค่าสินค้าไทยจากเศรษฐกิจท้องถิ่น (Value Creation) โดยมุ่งสร้างโมเดลต้นแบบธุรกิจสมุนไพรที่ส่งเสริมและสร้างรายได้ ขยายโอกาส รวมทั้งความยั่งยืนให้แก่วิสาหกิจ ด้วยกระบวนการ Space Compass Creation:Service Journey นั่นคือ ร้อยเรียงเส้นทางสร้างมูลค่าเพิ่มในการพัฒนาสมุนไพรไทย โดยดึงจุดเเข็งและจุดขายของแต่ละท้องถิ่น พร้อมโจทย์ของตลาดนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ และมาตรฐาน แล้วเพิ่มคุณค่าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ตลอดจนสร้างความพิเศษให้โดดเด่นด้วยการบอกเล่าเรื่องราวเฉพาะของท้องถิ่น ภายใต้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เเล้วลงมือทำจริงแบบครบวงจร เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนสามารถดำเนินการต่อไปเองได้
ผู้อำนวยการ CEA เผยด้วยว่า โครงการนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจชุมชน เเละสร้างโอกาสทางธุรกิจ จึงวางแนวทางการตลาดสร้างสรรค์ร่วมกันกับท้องถิ่นและภาคส่วนอื่นๆ เช่น การให้วิสาหกิจชุมชนทดลองออกตลาดในท้องถิ่น จนไปถึงกิจกรรม Business Matching เเละสร้างเครือข่ายช่องทางตลาดกับกลุ่มธุรกิจท้องถิ่น อาทิ สมาคมโรงแรมจังหวัดกระบี่ ร้าน Mother marche ของจังหวัดกระบี่ ร้านน้องนิดศูนย์ของฝากที่ใหญ่ที่สุดในสกลนคร ร้านออแกนิกฟาร์ม เอ้าท์เล็ทที่ครอบคลุมทั่วทั้งภาคอีสาน และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ อีกทั้งยังมีร้านค้าในท้องถิ่นจำนวนมากที่ให้การสนับสนุน ตลอดจนตลาดโมเดิร์นเทรด อาทิ บริษัท เซ็นทรัล จำกัด, บริษัท สุขสยาม จำกัด และรวมถึงการออกบูธ CEA ใน COSMOPROF CBE ASEAN BANGKOK งานจัดแสดงสินค้าเพื่อธุรกิจความงามระดับโลก ระหว่างวันที่ 15-17 กันยายนศกนี้ ซึ่งคาดว่าผลสำเร็จของโครงการนี้ จะสามารถต่อยอดขยายผล และประยุกต์ใช้ได้ในวิสาหกิจชุมชนอื่นทั่วประเทศ นำไปสู่การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอื่นๆ ได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน รองประธานคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า “เราจะต้องเข้าใจ Pain Point หลักของเกษตรกร เรื่องการควบคุมคุณภาพการผลิตให้สม่ำเสมอที่นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ สามารถให้การช่วยเหลือได้ และการสนับสนุนด้านการตลาด ซึ่งภาครัฐก็สามารถให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีกับตลาดค้าปลีกได้ ซึ่งโครงการดังกล่าวนับเป็นต้นแบบที่ดี ที่ทำให้เราได้เห็นถึงหลักแนวทางปฏิบัติติดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เห็นการต่อยอดของโครงการในปีต่อๆ ไป”
ขณะที่ นางสาวสกุณา สาระนันท์ สมาชิกผู้เเทนราษฏร เขต 5 จังหวัดสกลนคร ในฐานะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม กล่าวเสริมภายในงานว่า “ปัจจุบันการปลูกสมุนไพรใช้เพียงภูมิปัญญาชาวบ้านเท่านั้น ยังไม่ได้เพิ่มองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเลย แต่ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้แล้ว 10,000 บาท ต่อครัวเรือน อย่างยั่งยืน”
ทั้งนี้ โครงการ “HERB TO GO สมุนไพรไทยพร้อมไปต่อ” ได้มีการจัดทำต้นแบบในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จากกระบี่ สกลนคร และสมุทรปราการ โดยมี 9 แบรนด์ต้นแบบ ภายใต้แนวคิด “A New Shade of Thai Herb: มิติความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของสมุนไพรไทย” ที่ CEA ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชน ที่ปรึกษาการตลาด ที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี นักสร้างสรรค์ท้องถิ่น และภาคธุรกิจในท้องถิ่น นำสินค้าและบริการมาประยุกต์ใช้ด้วยการออกแบบ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ค้นหาจุดขายที่พิเศษไม่เหมือนใครของท้องถิ่น สร้างเรื่องราวของแบรนด์ เชื่อมต่อโอกาสทางธุรกิจกับหมุดหมายของท้องถิ่น นับเป็นโมเดลพัฒนาธุรกิจนี้ที่โดดเด่นแตกต่างจากโมเดลพัฒนาธุรกิจอื่น ๆ
สำหรับผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการ “HERB TO GO สมุนไพรไทยพร้อมไปต่อ” จาก 3 จังหวัดต้นแบบประกอบด้วย
จังหวัดกระบี่ “KRABI GOES GREEN” นำเสนอแบรนด์
1.SUNPALM โดย วิสาหกิจกระบี่น้ำมันปาล์มแดงธรรมชาติ
พืชเศรษฐกิจของจังหวัดกระบี่ คือปาล์มแดง ทางชุมชนจึงนำผลปาล์มแดง มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นครีมกันแดดผิวกาย UV Protector SPF50+ PA++++ ที่ไม่ทำร้ายปะการังเป็นมิตรต่อสิ่งเเวด ล้อมเเละเเหล่งน้ำ
2.Pethology+ โดย วิสาหกิจชุมชนเจริญทองร่วมใจ
ผลิตภัณฑ์สเปรย์สมุนไพรป้องกันโรคผิวหนังในสัตว์เลี้ยง ที่นำใบถอบแถบน้ำ เเละพืชท้องถิ่นนำมาเป็นส่วนผสมหลัก
3.Mika Klare โดย วิสาหกิจชุมชนสาหร่ายขนนกกระบี่
ผลงานจากผู้ประกอบการกลุ่มเพาะพันธุ์สาหร่ายขนนกที่ได้นำวัตถุดิบที่ได้มาตรฐานสู่การเพิ่มมูลค่าและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เจลดูแลสภาพผิวหลังออกแดด
จังหวัดสกลนคร “SUPERFOOD SUPERFRUIT” นำเสนอแบรนด์
1.Harng Grains โดย วิสาหกิจชุมชนข้าวฮางวาริชภูมิ
นำข้าวฮางที่ขึ้นชื่อของชาวอีสานมาพลิกโฉมใหม่ และเพิ่มทางเลือกในการรับประทานให้ผู้บริโภคด้วยการพัฒนาเป็นสแน็กบาร์ผสมธัญพืชพร้อมรับประทาน ที่เปี่ยมด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่มากกว่าเดิมเช่นสาร Gaba จากข้าวฮางเเละประโยชน์จากธัญพืชเเละผลไม้
2.CannaBy โดย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรผสมผสานภูมิบ้านเเป้น
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มพร้อมชงที่เกิดจากการรวมคำว่า Cannabis และ Honey เข้าด้วยกัน มีส่วนผสมของกัญชาพันธุ์หางกระรอกภูพานและน้ำผึ้ง มีคุณสมบัติที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย เมื่อทุกคนได้ดื่มจะยิ้มและนึกถึงเอกลักษณ์ของบ้านแป้น
3.Warino โดย วิสาหกิจชุมชนปลูกพืชสมุนไพรและพฤกษเวชบ้านดงเชียงเครือ
ผลผลิตการจากพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงปรุงรสธรรมชาติผสมกัญชาบรรจุซอง สำหรับทำอาหารให้มีรสอูมามิกลมกล่อม จากบ้านดงเชียงเครือ จังหวัดสกลนคร ที่มีชื่อเสียงในฐานะแหล่งเพาะปลูกกัญชาพันธุ์หางกระรอกภูพาน
จังหวัดสมุทรปราการ “HEALTH TO GO” นำเสนแบรนด์
1.Maingo โดย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปากชนิดเม็ดยาสีฟันในรูปแบบอัดเม็ดที่มีส่วนผสมจากสารสกัด Mangiferin จากใบมะม่วงน้ำดอกไม้ ซึ่งมีคุณสมบัติในการยับยั้งเเบคทีเรีย บรรจุในกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย พกพาสะดวก ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้านักเดินทาง
2.Zenplura โดย วิสาหกิจชุมชนน้ำเพื่อสุขภาพบางปลา THC
ใบขลู่ คือพืชที่พบได้มากตามแถบป่าชายเลนของจังหวัด ผู้ประกอบการนำมาสกัดสารสำคัญผสมกับสารสกัดใบบัวบกและใบว่านหางจระเข้ ยกระดับสินค้าเป็นสเปรย์บำรุงผิวหน้าประจำวัน ที่มีส่วนผสมของสารสกัดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ
3.Im Sook – Im Jai (อิ่มสุขอิ่มใจ) โดย วิสาหกิจชุมชนสหกรณ์การเกษตรบางบ่อ
นำสุดยอดวัตถุดิบ 3 ชนิดของสมุทรปราการ ได้แก่ จมูกข้าวกล้องหอมนิล ปลาสลิดบางบ่อ และ ผำ (ไข่น้ำ) มาแปรรูปเป็นโจ๊กจมูกข้าวหอมนิลเพื่อสุขภาพ ที่อุดมด้วยโปรตีน สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ เปี่ยมด้วยคุณค่าทางสารอาหาร
ทั้ง 9 แบรนด์ที่กล่าวมานี้ นับเป็นต้นแบบจากการร้อยเรียงระหว่าง สมุนไพรไทย-ภูมิปัญญา-เรื่องราว-ชุมชน และพลังสร้างสรรค์ของท้องถิ่น จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจฐานรากสู่ระดับชุมชนไปจนถึงระดับจังหวัด ทั้งในมิติของการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในภาคการบริการและการท่องเที่ยวให้ยั่งยืนต่อไป
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดตามรายละเอียด ความเคลื่อนไหว และความก้าวหน้าของโครงการฯ ช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ และร่วมเป็นกำลังใจให้กับ 9 วิสาหกิจชุมชน ได้ทางเว็บไซต์ และ Facebook ของ CEA
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ถอดรหัสความสำเร็จ กับ 1 ทศวรรษของเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2567
ปิดฉากลงอย่างสวยงามกับเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2567 หรือ Chiang Mai Design Week 2024 โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA
Creative Excellence Awards 2024 (CE Awards 2024) เวทีประกาศรางวัลความเป็นเลิศทางความคิดสร้างสรรค์ ประจำปี 2567
กลับมาเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ สำหรับ Creative Excellence Awards 2024 (CE Awards 2024) เวทีประกาศรางวัลความเป็นเลิศทางความคิดสร้างสรรค์ ประจำปี 2567 ที่จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA
CEA ร่วมเปิดงานเทศกาลเชียงรายเมืองออกแบบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 3 ชูศักยภาพเชียงราย 'เมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ' ของยูเนสโก
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ในฐานะหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ เชียงราย ภายใต้เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network: UCCN)
เดินเที่ยว Bangkok Design Week 2024
กลับมาแล้ว “Bangkok Design Week 2024” (BKKDW 2024) เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ปีนี้ปีที่ 7 มาในธีม ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ วันที่ 27 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2567 การจัดงานทั้ง 9 วัน ปลุกชีวิตและเติมสีสันแต่ละย่านผ่านกิจกรรมกว่า 500 โปรแกรม
CEA ปลื้ม “CHANGEX2 : LOCAL COLLAB แท็กทีมปั้นธุรกิจใหม่ โชว์ Soft Power ไทย สร้างรายได้แพ็กคู่” ได้ 30 คู่ธุรกิจ
เพราะเล็งเห็นว่า ธุรกิจในทุกภูมิภาคของไทยยังมีโอกาสเติบโตไปได้อีก ในยุคที่การ Collab เป็นอีกหนึ่งแนวทางสำคัญในการต่อยอดธุรกิจ สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
CEA แถลงสรุปโครงการ “CHANGEx2 Local Collab” โชว์ผลงานปั้นธุรกิจใหม่ ร่วมกับ ครีเอเตอร์ 30 คู่ ส่งเสริมรายได้อย่างยั่งยืน
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA แถลงสรุปโครงการ “CHANGEx2 Local Collab แท็กทีมปั้นธุรกิจใหม่ หนุน Soft Power ไทย สร้างรายได้แพ็กคู่