กรมโยธาธิการและผังเมืองชี้แจงข่าว ฝนตกน้ำท่วม

นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ชี้แจงข่าว ฝนตกน้ำท่วม ผู้ว่าฯกทม.เป็นแพะ โดนด่าตลอด แนะแก้ที่ต้นเหตุ ปฏิรูปกรมโยธาธิการและผังเมือง

ตามที่ เว็บไซต์ข่าวไทยโพสต์ เสนอข่าวเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 ประเด็น สาเหตุน้ำท่วมหนักในกรุงเทพมหานครที่ผ่านมา เกิดจากกรมโยธาธิการและผังเมือง ดำเนินการวางผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร โดยมีการขีดเส้นขยายเมืองด้วยแถบสี และมีการอนุมัติให้สร้างหมู่บ้านทับร่องระบายน้ำจนพังทั้งเมือง รวมทั้งมีการปล่อยให้มีการถมคู คลอง ที่เป็นเส้นทางระบายน้ำนั้น

กรมโยธาธิการและผังเมือง ขอชี้แจงรายละเอียด ดังนี้

  1. ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ได้ประกาศใช้บังคับมาแล้ว 4 ฉบับ โดยฉบับแรกดำเนินการโดยสำนักผังเมือง (กรมการผังเมือง) และบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2535 ต่อมากรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ขออนุมัติจากคณะกรรมการผังเมืองเพื่อเป็นผู้วางผัง ตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 โดยดำเนินการตั้งแต่ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 2 (พ.ศ.​ 2542) โดยกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้มีการปรับปรุงผังและใช้บังคับต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อีกจำนวน 2 ฉบับ คือ ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 (ฉบับที่​ 3) และผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 (ฉบับที่​4) ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
  2. กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ดำเนินการวางและจัดทำผังนโยบายระดับภาค ภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการทบทวนศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์และทิศทางการพัฒนาพื้นที่ภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในรายสาขาต่าง ๆ ตามมาตรา 15 และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 เพื่อจัดทำร่างผังนโยบายระดับภาคในประเด็นปัญหาด้านภัยพิบัติ เช่น พื้นที่เสี่ยงจากแผ่นดินทรุดและน้ำทะเลสูง การกัดเซาะชายฝั่ง อุทกภัย ภัยแล้ง และภัยพิบัติอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการตั้งถิ่นฐาน การใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยศึกษาวิเคราะห์สภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ระดับความสูงต่ำของพื้นที่ โครงข่ายลำน้ำ ระบบคลอง ในการระบายน้ำของลำน้ำหลัก และลำน้ำสาขาที่สำคัญ เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายและมาตรการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีการจัดทำผังนโยบายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

2.1 ผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน

2.2 ผังการตั้งถิ่นฐานและระบบชุมชน

2.3 ผังแสดงผังน้ำ

2.4 ผังนโยบายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ

2.5 ผังนโยบายป้องกันภัยพิบัติ

  1. สำหรับประเด็นการดูแลรักษาคลองสาธารณะนั้น ผู้อำนวยการเขตในฐานะเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาพื้นที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน โดยอาศัยอำนาจพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ในการนี้ การดูแลแม่น้ำ คู คลอง ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นไปตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 ในมาตรา 4 วรรค 4 ทางน้ำ หมายความว่า ทะเล ทะเลสาบ หาดทราย ชายทะเล อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ ห้วยหนอง คลอง คันคลอง บึง คู ลําราง และหมายความรวมถึงท่อระบายน้ำ ด้วย

กรมโยธาธิการและผังเมือง ขอขอบคุณสำนักข่าวและสื่อมวลชนที่ได้เสนอข่าวดังกล่าว ทำให้กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้มีโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริงที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนได้ทราบทันสถานการณ์ตามนโยบายของผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยและพร้อมที่จะสนับสนุนและประสานความร่วมมือในภารกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวกรุงเทพมหานครจากปัญหาน้ำท่วมขัง ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แก่พี่น้องประชาชน 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

น้ำท่วมภูเก็ตเริ่มคลี่คลาย 2 อำเภอประสบภัยเสียหายหนัก เร่งฟื้นฟูพื้นที่

นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่าสถานการณ์น้ำท่วมขังในจังหวัดภูเก็ต ขณะนี้ได้คลี่คลายเข้าสู่สภาวะปกติสามารถเดินทางสัญจรได้ทุกพื้นที่

อุตุฯ พยากรณ์มรสุมกำลังอ่อนลง ทั่วไทยฝนลด ยังตก 35 จังหวัด

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง

ผู้เชี่ยวชาญ เตือนสถานการณ์เลวร้ายที่สุด อาจเกิดขึ้นเสมอจากสภาพอากาศรุนแรง

ารเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้สภาพอากาศแปรปรวนมากขึ้น โดยที่องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีขีดจำกัดในการคาดการณ์