ฟื้นฟูโกดังเก่าริมน้ำเป็นต้นแบบเรียนรู้ “สวนสานธารณะ” ลดความเหลื่อมล้ำคนกรุงเทพฯ

The Great Outdoor พื้นที่ตาบอดริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามเยาวราช สสส.-UddC-กลุ่ม WE! PARK-กทม.-ภาคีเครือข่ายเปิดเวทีสาธารณะ ถกแนวทางพัฒนาเมืองบนฐานความรู้สุขภาวะ ดึงภาครัฐ-การศึกษา-ประชาสังคม ฟื้นฟูพื้นที่รกร้างย่านกะดีจีน-คลองสาน สู่ “สวน สาน ธารณะ” ด้าน “รองผู้ว่าฯ กทม.” ยกเป็นต้นแบบพื้นที่การเรียนรู้ ลดความเหลื่อมล้ำคนกรุงเทพฯ

            ที่ดินแห่งนี้เป็นสนามมวยเก่า โกดังเก่า เป็นที่เก็บโรงเกลือ โรงสีข้าวสาร ถั่วเขียว เจ้าของเลิกกิจการแล้ว ตั้งอยู่บนที่ดินตาบอด 2 ไร่ 1 งาน ไม่มีทางเข้า-ออก ต้องอาศัยเดินผ่านที่ดินรายอื่นเข้ามา อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีเรือท่องเที่ยว River Star Princess จอดเทียบท่า มีจุดสังเกตคือ ต้นไทรย้อยขนาดใหญ่ ต้นจามจุรีแผ่กิ่งก้านสาขา รายรอบด้วยต้นไม้ใหญ่ ต้นโพธิ์มีป้ายข้อความ "สวนสานธารณะ” ฯลฯ ซึ่งกลุ่ม Big Tree สมาคมรุกขชาติ เข้ามาดูแลตัดแต่งกิ่งก้านอยู่เสมอ ที่ดินอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงข้ามกับโครงการคอนโดมิเนียมบางกอก ริเวอร์พาร์ค เยาวราช เจ้าของที่ดินนำไปขายต่อให้ตระกูลวศินสังวร แต่ยังทำอะไรไม่ได้ กลายเป็นที่ทิ้งขยะ เกิดเพลิงไหม้หลายครั้ง สังเกตได้ว่าบริเวณใกล้เคียงนั้นยังมีบ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 2 ตั้งอยู่ มีช่างทำนากเก่าแก่  ต่อมาเจ้าของที่ดินตระกูลวศินสังวรติดต่อ กทม. เพื่อยกที่ดินให้เป็นที่สาธารณะ กทม.จะได้เข้ามาจัดการให้เป็นประโยชน์สาธารณะในระยะเวลา 12 ปี

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยกิจกรรมสาธารณประโยชน์ มีการสร้างแปลงพืชผักสวนครัวรายรอบพื้นที่ ต้นกะเพราแดง ต้นโหระพา สะระแหน่ พริก ฯลฯ พืชสมุนไพร พลับพลึงตีนเป็ด พร้อมเขียนบรรยายสรรพคุณ นำมาย่างกับไฟแก้ฟกช้ำบวม เคล็ดขัดยอกได้ ต้อยติ่งฝรั่ง (ดอกขาว) แก้อาการปวดเมื่อย ตรีชวา (หางกระรอก) กิจกรรม Workshop ระบายสีกระต่ายทำจากเปเปอร์มาเช่ โดยมีป้าน้อย ธนธรณ์ ธงน้อย จากบ้านหมูกระดาษหลังวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารเป็นครูสอน

นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงนโยบายของ กทม.ว่า กรุงเทพมหานครเร่งผลักดันนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา ได้ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กลุ่ม WE! PARK ปั้นเมือง หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จัดงาน “TALK IN SOI เสวนาสาธารณะกระบวนการพัฒนาเมืองบนฐานความรู้ ย่านกะดีจีน-คลองสาน” หนึ่งในกิจกรรมของงานศิลป์ในซอย : แสง-สี-ศิลป์ เวทีแบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาบนฐานความรู้จากบทบาทที่แตกต่างกัน ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษาและวิชาชีพ ภาคประชาสังคม ภาคชุมชน มุ่งเชื่อมการเรียนรู้สู่การขับเคลื่อนงานระดับนโยบาย เพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำในสังคม เมื่อวันที่ 21 ส.ค.2565

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวถึงแนวทางการทำงานของ สสส. ว่า อยากให้คนมีสุขภาพดีท่ามกลางสิ่งแวดล้อม สังคมกายภาพที่ดี เน้นการสร้างพื้นที่สาธารณะให้คนมาพบกัน ด้วยความร่วมมือจากเจ้าของพื้นที่สนับสนุนการใช้พื้นที่อย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน สสส.ได้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้ประชาชนทุกคนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและเหมาะสมในวิถีชีวิตประจำวัน ผ่านการส่งเสริมให้ผู้คนมีความรอบรู้ทางสุขภาพ ส่งเสริมค่านิยมและการสร้างบรรยากาศของความกระฉับกระเฉงให้สังคม รวมไปถึงสนับสนุนการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้คนมีกิจกรรมทางกายอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ทั้งนี้พื้นที่สวนสานสาธารณะจึงเป็นหนึ่งในการเข้าไปจัดสภาพแวดล้อมให้คนในชุมชนสามารถเข้าถึงการมีกิจกรรมทางกายได้เพิ่มมากขึ้น

“พื้นที่แต่ละแห่งพัฒนาเป็นโมเดลที่แตกต่างกัน กระจายทั่ว กทม. ให้เจ้าของพื้นที่เข้าร่วมโครงการกับนักวิชาการ พัฒนา ดึงผู้นำชุมชนเข้ามาร่วมมือกันทำงานในสิ่งที่ชุมชนอยากได้ นำมาใช้ประโยชน์เพื่อสาธารณะ ปรับพื้นที่เพื่อปลูกต้นไม้ที่มีผลผลิตบริโภคได้ จากพื้นที่ตาบอดให้คนเข้าถึง กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว การสร้างพื้นที่สุขภาวะ ใช้ทุนทางวัฒนธรรมเป็นจุดขาย เจ้าของที่ดินแปลงนี้เป็นกรณีตัวอย่างแทนที่จะปลูกกล้วยบนที่ดิน กลับยกให้ กทม.เข้ามาพัฒนาเป็นเวลา 12 ปี จากเดิมพื้นที่นี้รกร้างว่างเปล่า กลายเป็นที่ทิ้งขยะ กทม.พร้อมด้วยเครือข่ายช่วยกันปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินสูงสุด ดึงคนออกมาจากหน้าจอเพื่อจะเข้ามาพักผ่อน ใช้ชีวิตในการเรียนรู้ร่วมกัน รำลึกเรื่องราวในอดีต เกิดการเรียนรู้เพื่อร่วมกันพัฒนา”

การพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สาธารณะกับทุกฝ่าย แทบจะไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน เพราะทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ขณะนี้เจ้าของที่ดินย่านบึงพระราม 9 โฉนดที่ดินทั้งๆ ที่เป็นผืนน้ำต้องเสียภาษีเท่ากับโฉนดที่ดิน ขณะนี้เจ้าของที่ดินใน กทม.หลายแปลงให้ความสนใจที่จะยกที่ดินตาบอดเข้ามาพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้เป็นพื้นที่สาธารณะร่วมกัน  

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) กล่าวถึงสวนสาน ธารณะว่า ย่านกะดีจีน-คลองสาน ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เป็นผลมาจากโครงการจัดทำผังแม่บทการฟื้นฟูเมืองในวาระครบรอบ 250 ปีของกรุงเทพฯ ตลอดจนการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะบนฐานความรู้ การสนับสนุนให้เมืองเดินได้-เดินดี การสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน จนผลักดันให้เกิดโครงการพัฒนาเชื่อมพื้นที่ภายในย่าน ทั้งสวนลอยฟ้าเจ้าพระยาที่ถือเป็นสวนลอยฟ้าแห่งแรกของไทย ตลอดจนการปรับปรุงทางเดินริมน้ำกะดีจีนเพื่อเพิ่มการเข้าถึงพื้นที่และการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

“การผลักดัน กทม. 250 ให้มีสวน สาน ธารณะ มาแล้วถึง 7 ปี ตอนนั้นหลายคนมีอายุยังไม่ถึง 40 ปี การจัดทำหลักสูตรผู้จัดการมรดกวัฒนธรรม ความรู้ด้วยข้อมูลทางวัฒนธรรม เปลี่ยนแปลงการทำมาหากิน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ไอคอนสยาม จัดทำผังเมืองการเรียนรู้พัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ เป็นโจทย์ของทั่วโลกในการสร้างเมืองที่ต้องการความรู้ เมืองต้องสนับสนุนให้คนแสวงหาความรู้ได้ในหลากหลายพื้นที่ กทม.เป็นเมืองใหญ่มาก แต่ละย่านเป็นเมืองย่อยๆ มีระบบสังคม การเมือง วัฒนธรรมไม่เหมือนกัน สสส.สนับสนุนทุนวิจัย ทำให้เราเชื่อมกับกลุ่มองค์กร ขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ สนับสนุนการศึกษา กทม.มีความพร้อมที่จะสนับสนุนการศึกษามากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีพื้นที่เรียนรู้เป็นห้องสมุด มีมรดกทางวัฒนธรรม 232 แห่ง ฯลฯ อยู่ที่ไหนก็เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ในระยะ 500-800 เมตร

นายยศพล บุญสม ผู้ก่อตั้งกลุ่ม We! Park กล่าวถึงสวนสานธารณะว่า นับเป็นต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะบนที่ดินของเอกชน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการพัฒนาพื้นที่รกร้างให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนโดยรอบ ทั้งในมิติของการเกิดพื้นที่ทำกิจกรรมทางสังคม การสนับสนุนเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น และการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยพื้นที่ดังกล่าวได้ถูกส่งมอบให้กับกรุงเทพมหานครเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นเวลา 10 ปี และได้กลายเป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วมที่ชุมชนจะได้ใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ผ่านกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนให้ทุกคนมีสุขภาวะที่ดีต่อไป

“We! Park ได้ทุนสนับสนุนจาก สสส. ทำงานร่วมกับ กทม. สร้างพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วม เป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง การสร้างกลไกกระตุ้นความรู้สร้างการเปลี่ยนแปลงการสร้างอาชีพใหม่ด้วยเครื่องมือ การใช้ทุนมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลง เราได้รับการติดต่อจากเจ้าของที่ดิน ยกที่ดินแปลงนี้ให้ กทม.เข้ามาพัฒนา 12 ปี จึงพัฒนาให้เป็นพื้นที่สีเขียว ใช้ศักยภาพชุมชนโดยรวมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม จัดกิจกรรม workshop ริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งปลอดมลพิษจากควันพิษ ไรฝุ่น ทำให้จิตใจเยือกเย็น.

**

กะดีจีน-คลองสาน

โครงการกรุงเทพฯ 250 เป็นโครงการของสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กทม. ในการดำเนินงานของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง เพื่อฟื้นฟูย่านเมืองเก่าให้น่าอยู่ มีประสิทธิภาพในวาระครบ 250 ปี พ.ศ.2525 เพื่อพัฒนาวิสัยทัศน์ กรอบแนวทางการฟื้นฟูย่านเมืองเก่า กทม.ที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาระดับเมืองและระดับประเทศในอนาคต เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อ เติมเต็มกับผังเมืองรวม กทม. สู่เมืองน่าอยู่หลากหลายและเต็มไปด้วยโอกาสสำหรับทุกคน

โครงการกรุงเทพฯ 250 ระยะที่ 1 คัดเลือกพื้นที่ย่านกะดีจีน-คลองสานเป็นพื้นที่นำร่อง หนึ่งในย่านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของ กทม. ที่ยังคงเหลือมรดกทางวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ที่ทรงคุณค่าจำนวนมาก ตั้งอยู่บนทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับกรุงรัตนโกสินทร์ ผนวกกับเป็นพื้นที่ที่มีระดับของต้นทุนทางสังคมสูง สถาบันทางสังคมภายในย่านบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) แต่ปัจจุบันย่านนี้กำลังเผชิญกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนทั้งการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง การเร่งพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนพื้นที่ริมน้ำตลอดจนการเจริญเติบโตของธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการ จึงทำให้เห็นปัจจัยของความไม่ยั่งยืนและความเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้

ศูนย์ยังได้เสนอผังแม่บทเพื่อการส่งเสริมภูมิทัศน์ เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่จะเกิดขึ้นให้มีความสอดคล้องกลมกลืนกับบริบทของพื้นที่และรักษาคุณค่าและความสำคัญของมรดกวัฒนธรรม โดยแบ่งการพิจารณาเป็น 3 กลุ่มพื้นที่ ภูมิทัศน์พื้นที่รับน้ำ ภูมิทัศน์รอบศาสนสถานและโบราณสถาน และภูมิทัศน์ทางสัญจรที่สำคัญ

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมืองดำเนินโครงการศูนย์ชุมชนย่านภาคีรอบคลองสานระยะที่ 1 ภายใต้การสนับสนุนของ บ.ไอคอนสยาม จำกัด โดยเล็งเห็นความสำคัญและศักยภาพย่านกะดีจีน-คลองสาน ที่เป็นย่านประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญยิ่งของ กทม. อุดมด้วยมรดกวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานมาจาก 3 ศาสนา พื้นที่ 2 ตาราง กม. ของย่าน พบว่ามีมรดกทางวัฒนธรรม 121 รายการ อีกทั้งสถาบันหลักทางสังคมภายในย่านวัด ชุมชน โรงเรียน ยังมีความสัมพันธ์อันดี มีความร่วมมือสร้างสรรค์กิจกรรมการอนุรักษ์ฟื้นฟูกว่า 40 โครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เจียระไนเพชร 3 องค์กรต้นแบบ สร้างเสริมสุขภาวะในที่ทำงาน

"ในอดีตเรารบกับเชื้อโรค มีการโจมตีด้วยเทคโนโลยี แต่วันนี้เรากำลังสู้กับกิเลสของมนุษย์ โรค NCDs เกิดขึ้นจากเราสร้างสุขเทียมเพื่อแก้ไขปัญหาให้ตัวเอง เติมรสหวาน มัน เค็ม สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า

อึ้ง ! ความเหงา-โดดเดี่ยว ภัยเงียบที่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพเทียบเท่าการสูบบุหรี่วันละ 15 มวน หรือดื่มเหล้าวันละ 6 แก้ว

เวลา 09.00 น. วันที่ 1 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับธนาคารจิตอาสา ภาคีภาครัฐ และภาคเอกชน จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ “เดือนการฟังแห่งชาติ” หรือ “National Month of Listening” เพื่อกระตุ้นให้สังคมเห็นความสำคัญของการดูแลความสัมพันธ์ด้วย

“รองนายกฯประเสริฐ” มอบนโยบาย สสส.สั่งด่วนยกระดับสร้างความปลอดภัยทางถนนในเด็กและเยาวชน 3 ด้าน “รถบัสปลอดภัย-สวมหมวกนิรภัย-ส่งเสริมวินัยจราจร”

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ สสส.

“อย่าเพิ่งเชื่อ-อย่าเพิ่งแชร์-อย่าเพิ่งโอน” คาถาป้องกันแก๊ง Call Center

คนไทย 36 ล้านคน ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ ถูกหลอกให้ร่วมลงทุน พนันออนไลน์ ด้วยการเปิดบัญชีม้า ซื้อสินค้า-โอนเงิน-กู้เงิน ไตรมาสแรกปี 67

รพ.ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ สานพลัง สสส. ประกาศความร่วมมือเข้มแข็ง ผสานองค์ความรู้-สร้างนวัตกรรมฐานข้อมูล เตรียมพัฒนาหลักสูตรสร้างเสริมสุขภาพ บรรจุในการเรียนการสอน ม.วลัยลักษณ์

ที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือวิชาการ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ขับเคลื่อน"กระเป๋านักรบ"สร้างสุขภาวะ Life Long Learning...รู้ป้องกันโรค

นับเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจอีกคำรบหนึ่ง ในการขยายเครือข่ายส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของเยาวชน ด้วยการแบ่งปันความรู้ด้านสุขภาวะสร้างวัฒนธรรมการอ่าน