เกษตรกร ต.สามพระยา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ประสบความสำเร็จทำเกษตรผสมผสาน

นายอุดร หมันมณี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 ต.สามพระยา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เกษตรกรตัวอย่างด้านเกษตรผสมผสาน
ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบุรี เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ปลูกพืชเชิงเดี่ยวต้องใส่ปุ๋ยเคมีบำรุงและใช้ยาฉีดฆ่าหญ้า ไม่นานดินเสื่อมโทรมเป็นกรดเป็นด่าง ร่างกายก็เริ่มเจ็บป่วย “พอได้เข้าร่วมเป็นเกษตรกรทำเกษตรแบบผสมผสานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จ.เพชรบุรี ซึ่งศูนย์ฯ ได้ให้ความรู้พร้อมแนะนำให้ปลูกพืชล้มลุกที่เหมาะสมกับพื้นที่ เป็นแคนตาลูป แตงโม ปลูกง่ายขายได้ไว และช่วยปรับปรุงบำรุงดิน ต่อมาจึงปลูกกล้วยน้ำว้าฝรั่งไส้แดง อ้อยคั้นน้ำ ขุดสระปล่อยปลา ริมสระปลูกผักมีกินมีขายตลอดทั้งปี และดินก็สมบูรณ์ไม่ต้องใส่ปุ๋ย” นายอุดร หมันมณี กล่าว ในระหว่างรอต้อนรับนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี พร้อมด้วย นายปวัตร์ นวะมะรัตน รองเลขาธิการ กปร.ที่ได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมความสำเร็จในการน้อมนำแนวพระราชดำริมาปฏิบัติใช้ในการดำรงชีพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา

การนี้องคมนตรีและคณะฯ ได้เยี่ยมชมแปลงเกษตรของนายอุดร หมันมณี ซึ่งเป็นเกษตรกรตัวอย่างด้านเกษตรผสมผสานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ย้ายมาจากจังหวัดสมุทรสงครามในปี 2526 เข้าร่วมเป็นเกษตรกรขยายผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ได้รับจัดสรรที่ดินทํากินจากศูนย์ฯ 11 ไร่ โดยศูนย์ฯ ส่งเสริมให้ทําเกษตรแบบผสมผสานควบคู่ไปกับการเลี้ยงสัตว์ มีรายได้ประมาณ 15,000 บาทต่อเดือน ผลผลิตส่งขายที่อาคารจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของศูนย์ฯ นำปลานิลที่เลี้ยงในสระมาแปรรูปเป็นปลานิลแดดเดียว และเพาะชำไม้ดอกไม้ประดับ โดยได้นําความรู้ที่ได้จากศูนย์ ฯ มาดำเนินการ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

“ผมเป็นผู้ใหญ่บ้านมีเงินเดือน 9,000 บาทต่อเดือน มาบวกกับขายกล้วยน้ำว้าขายหน่อกล้วยขายหัวปลีขายใบตอง และเลี้ยงแพะนำมาแปรรูปทำข้าวหมกเนื้อแพะแกงแพะแพะย่างสมุนไพร มีคนมารับซื้อถึงที่ ปัจจุบันรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน นำผลผลิตไปจำหน่ายที่ร้านของศูนย์ฯ ขายดีมาก ทุกคนในกลุ่มฯ จะได้รับเงินปันผลจากทางศูนย์ฯ มาโดยตลอด เป็นรายได้ที่ดีและได้รับกันอย่างทั่วถึง” นายอุดร หมันมณี กล่าว

เกษตรกรตัวอย่างด้านเกษตรผสมผสาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ เผยเพิ่มเติมด้วยว่าเพื่อเป็นการขยายผลในการทำเกษตรผสมผสานในพื้นที่ ต่อจากนี้จะรวมกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ปลูกพืชประเภทผักปลอดสารพิษ ควบคู่กับการผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้บำรุงดิน สู่เกษตรกรรายอื่น ๆ โดยจะดำเนินการครั้งละ 10 ราย จนทั่วทั้งหมู่บ้านต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี! กรมชลฯ เปิดรับแรงงานเกษตรกร 8.4 หมื่นราย

กรมชลฯเปิดรับแรงงานเกษตรกร หารายได้เสริมกว่า 8.4 หมื่นคน ช่วยงานโครงการพระราชดำริและงานขุดลอกคูคลองต่างๆ ทั่วประเทศสนใจสมัครด่วนวันนี้

รัฐบาลขีดเส้น 30 วัน เร่งเยียวยาเกษตรกรใต้ 9.4 หมื่นราย

'อนุกูล' เผยรัฐบาลเร่งเยียวยาเกษตรกรชาวใต้หลังน้ำท่วม ตีกรอบสำรวจความเสียหาย 30 วัน รับเงินช่วยเหลือภายใน 10 วัน หลัง ธกส. อนุมัติ

'มิสเตอร์เกษตร' วอนรัฐบาลเร่งแก้ปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำ

‘มิสเตอร์เกษตร’ วอน รัฐบาลแก้ปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำ เร่งคลอดมาตรการช่วยเหลือ แนะกรมการค้าภายใน ประสานรง.อาหารสัตว์รับซื้อมันเส้น

ดีเดย์ กระทรวงเกษตรฯ ส่งรายชื่อผู้ที่ได้รับสิทธิเงินไร่ละ 1,000 บาท ให้ธนาคารแล้ววันนี้

นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวย้ำคุณสมบัติของเกษตรผู้มีสิทธิได้รับเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ไร่ละ 1,000