รมว.คลัง เป็นประธานเปิดหลักสูตร “สุดยอดผู้นำวิทยาการประกันภัยระดับสูง (Super วปส.) รุ่นที่ 2” สำนักงาน คปภ.

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้รับเกียรติจากนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกล่าวปาฐกถาพิเศษและเปิดการศึกษาอบรมหลักสูตรสุดยอดผู้นำวิทยาการประกันภัยระดับสูง (Super วปส.) (Thailand Insurance Super Leadership Program) รุ่นที่ 2 ณ ห้องเลอ คองคอร์ด บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา โดยหลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาวิธีการ สร้างสรรค์แนวคิด องค์ความรู้และแนวคิดใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรและการดำเนินธุรกิจทั้งการบริหารความเสี่ยง นวัตกรรมประกันภัยแบบใหม่ การบริหารจัดการองค์กร ผ่านการอภิปราย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ และเสนอข้อคิดเห็น ในเชิงสร้างสรรค์ระหว่างผู้เข้ารับการศึกษาอบรม รวมทั้งให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมสามารถรวบรวมแนวคิด ทั้งในด้านการบริหารธุรกิจ การบริหารรัฐกิจ เทคโนโลยี การบริหารความเสี่ยง และการประกันภัย ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองทั้งของไทยและของโลก สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในเชิงนโยบายและการปฏิบัติ    

ในโอกาสนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “นโยบายการขับเคลื่อนระบบประกันสุขภาพเพื่อสังคมผู้สูงอายุและความยั่งยืนของเศรษฐกิจและสังคมไทย” โดยมีใจความตอนหนึ่งว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาประเทศต้องเจอกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้ภาครัฐ ภาคเอกชนต้องปรับตัวเรื่องการทำงานที่บ้าน Work From Home การใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น และต้องเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศและภัยพิบัติต่าง ๆ ซึ่งจะต้องนำการประกันภัยมาช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงให้กับประชาชน โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินการโครงการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรสำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ได้แก่ การประกันภัยข้าวนาปี และการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นหลักประกันให้เกษตรกรผ่านระบบประกันภัยเข้ามาบริหารจัดการความเสี่ยง และได้ดำเนินการในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบว่าประสบความสำเร็จด้วยดีมาโดยตลอด ซึ่งแน่นอนว่าความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติที่คาดการณ์ไม่ได้ อาจจะทำให้ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามคาด แต่จะช่วยลดภาระภาครัฐในการช่วยเหลือเกษตรกร ช่วงที่ผ่านมาระบบสาธารณสุขและการแพทย์ของเรามีความเข้มแข็ง และระบบประกันภัยได้มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือประชาชนบริหารจัดการความเสี่ยงภายใต้สถานการณ์โควิด

นอกจากนี้ได้มอบนโยบายที่ควรให้ความสำคัญ 3 เรื่อง ดังนี้ 1. การประกันภัยโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เขื่อนชลประทาน ถนน สนามบิน ท่าเรือ และการประกันภัยทรัพย์สินของทางราชการ การประกันภัยรถยนต์ของราชการ 2. การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ Climate Change ควรนำระบบประกันภัยเกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมาช่วยอุตสาหกรรมในการบริหารความเสี่ยงและการใช้ระบบประกันภัยมาช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงโรคระบาดซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทั่วโลกที่จะต้องเตรียมพร้อมรับมือ และ 3. การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการประกอบธุรกิจ ดิจิทัลเทคโนโลยีจะมีอิทธิพลต่อการทำธุรกิจ การบริหารราชการแผ่นดิน การนำเทคโนโลยีมาใช้ดำเนินการธุรกิจ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน

ในช่วงสองปีที่ผ่านมาจากสถานการณ์โควิดนั้น ทำให้การทำธุรกิจและการดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ โครงการของรัฐบาลก็มีส่วนที่ใช้ Mobile Application โดยเฉพาะโครงการเยียวยาประชาชน ช่วงสถานการณ์โควิดมีหลายโครงการ เช่น โครงการเราไม่ทิ้งกัน โครงการเราชนะนั้นเป็นการใช้การทำธุรกรรมทางมือถือ ระบบการลงทะเบียน การยืนยันตัวตน การโอนเงินจากรัฐบาลไปสู่กระเป๋าเงินประชาชน โรงแรมต่าง ๆ ก็ทำผ่าน Mobile Application เช่นเดียวกับโครงการคนละครึ่งที่อยู่ในช่วงเฟส 5 เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนทั้งหมดจากการลดค่าครองชีพและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะประชาชนในระดับฐานราก ระบบประกันภัยก็จะต้องเร่งสนับสนุนให้ประชาชนผู้ใช้บริการทำธุรกรรมผ่าน Mobile Application เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อลดต้นทุนของธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้วย จะทำให้ลดต้นทุนการเดินทางการมาติดต่อราชการ และอีกเรื่องที่เกี่ยวเนื่องในสถานการณ์โควิด คือการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ Aging Society ประชาชนก็จะตระหนักเรื่องดูแลสุขภาพจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลคือการนำเทคโนโลยีเครื่องมือ Automation ต่าง ๆ เข้ามาใช้ไม่ว่าจะเป็น Technology Digital , Artificial Intelligence (AI) , Internet of Things (IoT) มาใช้ในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)

ธุรกิจประกันภัยเป็นแหล่งเงินออมที่สำคัญอย่างหนึ่ง เรื่องของจำนวนประชากรที่ปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น ระบบประกันชีวิตจะมีการเติบโต ส่งผลให้ประชาชนให้ความสนใจมากขึ้น ซึ่งเชื่อมั่นว่าธุรกิจประกันภัยจะเป็นแหล่งเงินออมที่สำคัญในตลาดทุน การใช้มาตรการในการกำกับและส่งเสริมสิทธิประโยชน์กับประชาชน การสร้างแรงจูงใจ การสร้างธุรกิจ การดำเนินนโยบายรัฐบาล ให้สอดคล้องแนวโน้มของโลก ซึ่งรัฐบาลพร้อมที่จะสนับสนุนและผลักดันให้ประกันภัยมีการเติบโตผ่านกลไกที่มีความหลากหลาย  

ทางด้าน ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. ได้กล่าวถึงความเป็นมาของหลักสูตร Super วปส. ว่าหลักสูตรสุดยอดผู้นำวิทยาการประกันภัยระดับสูง (Super วปส.) (Thailand Insurance Super Leadership Program) รุ่นที่ 2 เป็นหลักสูตรที่มีการต่อยอดจากหลักสูตร วปส. และหลักสูตร Super วปส. รุ่นที่ 1 เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงระดับผู้นำองค์กรจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดสร้างสรรค์เชิงวิเคราะห์ การบริหารความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการประกันชีวิต การประกันวินาศภัย เทคโนโลยี การเงิน การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ตลอดจนการนำเสนอแนวทางและการประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเสริมสร้างการเป็นผู้นำที่มีคุณธรรมจริยธรรม และการบริหารจัดการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ โดยสอดคล้องกับสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของโลก ตลอดจนการเพิ่มบทบาทของระบบประกันภัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน

สำหรับหลักสูตร Super วปส. รุ่นที่ 2 ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาให้มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริหารที่เข้ารับการศึกษาอบรมได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยมีการคัดเลือกศิษย์เก่าหลักสูตร วปส. ตั้งแต่รุ่นที่ 1 ถึงรุ่นที่ 10 ที่มีประวัติการเรียนดีเด่น เข้าร่วมกิจกรรมของหลักสูตร วปส. อย่างสม่ำเสมอ หรือทำประโยชน์ต่อสำนักงาน คปภ. หรือต่อระบบประกันภัย และผู้บริหารระดับสูงของสำนักงาน คปภ. รวมทั้งสิ้น 50 คน เพื่อเข้ารับการอบรมในหลักสูตรนี้ ซึ่งประกอบด้วย ภาคเอกชน จำนวน 22 คน ภาครัฐ จำนวน 6 คน ภาคการเงิน จำนวน 6 คน และภาคธุรกิจประกันภัย จำนวน 16 คน โดยจัดอบรมตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม 2565 เรียน 1 วันต่อสัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 13 ครั้ง ซึ่งในหลักสูตรจะมีกิจกรรม ดังนี้ 1. บรรยายสัมมนา อภิปราย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิเคราะห์เชิงวิพากษ์ และเสนอความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์ โดยเน้นให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมอภิปราย Debate กันเพื่อแสวงหาวิธีการ แนวคิดในรูปแบบใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาตามที่วิทยากรได้หยิบยก 2. การประมวลผลความรู้ สรุปแนวความคิดเห็นในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ และนำเสนอโดยคณะผู้เข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษาอบรมคาบสุดท้าย 3. การศึกษาดูงานภายในประเทศและต่างประเทศ และ 4. กิจกรรมเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม

“หลักสูตร Super วปส. รุ่นที่ 2 จะทำให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมสามารถสร้างสรรค์แนวคิด องค์ความรู้และแนวคิดใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรและการดำเนินธุรกิจทั้งด้านการบริหารธุรกิจ การบริหารรัฐกิจ เทคโนโลยี การบริหารความเสี่ยง นวัตกรรมประกันภัยแบบใหม่ การบริหารจัดการองค์กร ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองทั้งของไทยและของโลกได้ทันท่วงที สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

ทั้งในเชิงนโยบายและการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสำนักงาน คปภ. จะน้อมนำนโยบายของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาปฏิบัติในการขับเคลื่อนการกำกับดูแลด้านประกันภัยเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คปภ. เดินหน้าเคียงข้างเพื่อประชาชนเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการออกคำสั่งทางปกครอง ภายใต้บทบาท คปภ.

นางสาววิไลพร เจียรกิตติวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวางแผนและพัฒนากฎหมาย สำนักงาน คปภ. เป็นประธานเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการออกคำสั่งทางปกครอง ภายใต้บทบาท คปภ. โดยมี นายประสงค์ หล้าอ่อน นายดำรงศักดิ์ ยอดทองดี

'เศรษฐา' เผยยักษ์ใหญ่ประกันภัยอยากขยายธุรกิจเพิ่มในไทย

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ได้คุยกับคุณ Jaime Anchustegui, CEO บริษัท Generali International บริษัทประกันภัยชั้นนำครบวงจรระดับโลก เสนอให้พิจารณาเพิ่มการลงทุนขยายธุรกิจในไทย

คปภ. เห็นชอบสั่ง ‘บมจ. สินมั่นคงประกันภัย’  หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว

คณะกรรมการ คปภ. เห็นชอบให้นายทะเบียนสั่ง “บมจ. สินมั่นคงประกันภัย” หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวคุมเข้มให้บริษัทหยุดรับประกันภัย ภายหลังศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 เลขาธิการ คปภ. สั่งมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคมิให้เดือดร้อน

ประกันภัยไทยวิวัฒน์ กางแผนปีมังกร ปักธงเบี้ยรับรวมโตทะลุ 8 พันล้านบาท ชูยุทธศาสตร์ “องค์กรประกันภัยแห่งนวัตกรรม” สู่ความยั่งยืน

ประกันภัยไทยวิวัฒน์ กางแผนธุรกิจปีมังกร 2567 ปักธงเบี้ยรับรวมโตทะลุ 8,000 ล้านบาท ภายใต้ยุทธศาสตร์ “องค์กรประกันภัยแห่งนวัตกรรม”

'ชูฉัตร' นั่งเลขาฯคปภ. คนใหม่

คลังแต่งตั้ง นายชูฉัตร ประมูลผล เป็นเลขาธิการ คปภ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี นับตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป