บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล หรือ PRINC ผู้ประกอบธุรกิจบริหารโรงพยาบาลเอกชนและธุรกิจสุขภาพในนามโรงพยาบาลเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ เปิดตัวแคมเปญ “พาคนกลับบ้าน” ตอกย้ำการเป็นเครือข่ายโรงพยาบาลที่เติบโตเร็วที่สุด ตั้งเป้าในปี 2566 ขยายจำนวนโรงพยาบาลให้ครบ 20 แห่ง จากปัจจุบันมี 13 แห่งใน 11 จังหวัดทั่วประเทศ เน้นการขยายบริการรักษาพยาบาลในรูปแบบโรงพยาบาลเอกชนไปยังพื้นที่เมืองรองที่ยังมีความต้องการของบริการสาธารณสุข ทำให้เกิดการจ้างงานบุคลากรทางการแพทย์และส่วนงานสนับสนุนในพื้นที่นั้นๆจำนวนมาก โดยแคมเปญ “พาคนกลับบ้าน” ถูกถ่ายทอดผ่านภาพยนตร์สั้น ความยาว 6 นาที ที่มีนักแสดงจากบริษัท ไทบ้าน สตูดิโอ จำกัด รับบทเป็น นางพยาบาล ที่ต้องจากบ้านเกิดเพื่อมาหางานทำในเมืองใหญ่ ต่อมาเจอจุดเปลี่ยนของชีวิต จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิด พร้อมเส้นทางการค้นพบความสุข และพร้อมส่งต่อความสุขให้กับคนรอบข้าง โดยเริ่มออนแอร์ผ่านทาง Facebook & Youtube: PRINCIPAL HEALTHCARE วันที่ 2 กันยายน 2565
ด้าน นายธานี มณีนุตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฎิบัติการ บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล หรือ PRINC กล่าวถึงแคมเปญ “พาคนกลับบ้าน” มีจุดเริ่มต้นจากปณิธานองค์กรของเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ ที่มุ่งสร้างคนให้มีจิตใจของความเป็นผู้ให้ บุคลากรในทุกระดับถือเป็นหัวใจสำคัญที่ร่วมขับเคลื่อนการเติบโตด้วยความสุข ทั้งความสุขจากการเป็นผู้ให้ ขณะเดียวกันยังเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกระจายการเข้าถึงบริการสาธารณสุขไปยังจังหวัดเมืองรอง ที่ไม่มีโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ตั้งอยู่ หรือบริการทางสาธารณสุขยังขาดแคลน เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาพยาบาลของคนในทุกระดับ สอดคล้องกับเป้าหมายการขับเคลื่อนสู่โรงพยาบาลยั่งยืน (Sustainable Hospital) ภายในปี 2566
ขณะที่ นางสาว อติยา อาวัชนาการ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืน บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล หรือ PRINC กล่าวถึงแคมเปญนี้ว่า ภาพยนตร์สั้นชุดดังกล่าวสะท้อนการดำเนินงานของเครือโรงพยาบาลที่มิได้มุ่งการขยายโรงพยาบาลเพียงเท่านั้นแต่ยังเห็นว่าบุคลากรทุกวิชาชีพเป็นหัวใจสำคัญ โดยเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ สามารถ “พาคนกลับบ้าน” ไปทำงานยังบ้านเกิดได้มากขึ้นตามการขยายโรงพยาบาลไปยังจังหวัดเมืองรอง ตั้งแต่เริ่มดำเนินการธุรกิจโรงพยาบาล ระยะเวลาประมาณ 5 ปี จนถึงปัจจุบัน สร้างงานไม่ต่ำกว่า 1,300 อัตรา ในจังหวัดส่วนใหญ่ที่รพ.ตั้งอยู่ อัตราส่วนบุคลากรการแพทย์และพนักงานที่มีภูมิลำเนาบ้านเกิดอยู่ในท้องถิ่นที่โรงพยาบาลตั้งอยู่คิดเป็นกว่า 67% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด มีชุมชนที่เข้าถึงมาตรฐานทางสาธารณสุขมากกว่า 150 แห่ง และยังร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเข้ามาจำหน่าย หรือจัดซื้อไปยังโรงพยาบาลในเครือ อีกไม่ต่ำกว่า 100 ชนิดสินค้าท้องถิ่น
สำหรับท่านผู้สนใจการดำเนินโครงการพริ้นซ์ผสาน ผสานงานสู่ชุมชน ผสานคนสู่บ้านเกิดสามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.princhealth.com/psarn รวมทั้งติดตามช่องทางการรับสมัครงานได้ผ่านทาง Facebook: PRINCIPAL HEALTHCARE
ปัจจุบัน เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ ตั้งเป้าขยายโรงพยาบาลเป็น 20 แห่งในปี 2567 โดยปัจจุบันมีโรงพยาบาลในเครือทั้งหมด 13 แห่ง เปิดดำเนินการแล้วทั้งหมด 12 แห่งใน 10 จังหวัด ประกอบด้วย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ โรงพยาบาลพริ้นซ์ ลำพูน โรงพยาบาลศิริเวช ลำพูน โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ 1 โรงพยาบาล พริ้นซ์ปากน้ำโพ 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุทัยธานี โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุบลราชธานี โรงพยาบาลวิรัชศิลป์ ชุมพร โรงพยาบาลพิษณุเวช พิจิตร โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ โรงพยาบาลพิษณุเวช พิษณุโลก และโรงพยาบาลพิษณุเวช อุตรดิตถ์ และล่าสุดโรงพยาบาลที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างได้แก่ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สกลนคร จ.สกลนคร คาดว่าพร้อมเปิดดำเนินการต้นปี 2566
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
PRINC เปิดตัว "รพ.พริ้นซ์ มุกดาหาร" รักษาโรคตา - เด็ก24ชม. รองรับคนมุกดาหารและใกล้เคียง ตั้งเป้าเพิ่มยอดผู้ป่วยลาวเท่าตัว
บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล หรือ PRINC ผู้ดำเนินธุรกิจบริหารจัดการโรงพยาบาลเอกชนและธุรกิจสุขภาพในนามเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จัดพิธีเปิดโรงพยาบาลพริ้นซ์ มุกดาหารอย่างเป็นทางการ
PRINC แจ้งยุติแผนซื้อรพ. เครือมาย ฮอสพิทอลย้ำไม่กระทบเป้ารายได้ แย้มพลิกมีกำไรปีนี้ พร้อมเดินหน้าขยายการลงทุนเพิ่มเตียง-ศูนย์รักษาโรคยากซับซ้อน
วันนี้ (2 ธ.ค.) - บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล (PRINC) ผู้ดำเนินธุรกิจบริหารจัดการโรงพยาบาลเอกชนและธุรกิจสุขภาพในนามเครือ “พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์” รายงานข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์
PRINC ปักหมุดอีสานล่าง เตรียมเปิด “ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา” แห่งแรกของศรีสะเกษ ธ.ค. นี้ มุ่งครอบคลุมทุกสิทธิการรักษาโรคมะเร็งและให้บริการครบวงจร
โรคมะเร็งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ กระทบชีวิตของประชาชนเป็นอันดับที่ 1 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 ซึ่งครอบคลุมจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ตอนล่าง จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร (ที่มา: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข, มี.ค. 66)