งาน“พันธุ์บุรีรัมย์” กลับมาทวงบัลลังก์ความยิ่งใหญ่อีกครั้ง หลังจากห่างหายไป 2 ปี ด้วยภาวะการณ์โควิด19 โดยจัดงานภายใต้คอนเซ็ปต์ มหกรรมกัญชา-กัญชง เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมใหญ่ที่สุดในไทย เนรมิตพื้นที่ 1,200 ไร่ รวมทุกเรื่องราว “พืชเปลี่ยนเศรษฐกิจ” ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ พบกับนิทรรศการให้ความรู้ นวัตกรรมการปลูก การสกัด การแปรรูป ฟาร์มทัวร์ การประกวดต้นกัญชา กัญชง ฯลฯ พร้อมต่อยอดเชิงธุรกิจ และกิจกรรมภาคความบันเทิงจัดเต็ม 2 เวที ตลอด 3 วัน กับศิลปินดังไทย-เทศ ตลกดังแห่งยุค ครบเครื่องที่สุดที่เดียวในประเทศไทย
จากความสำเร็จในการจัด มหกรรมกัญชาทางการแพทย์ ภายใต้ชื่องาน “พันธุ์บุรีรัมย์” ครั้งแรก ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 19-21 เมษายน 2562 ผู้ร่วมงานมากกว่า 150,079 คน มีผู้มายื่นขอจดครอบครองกัญชา 12,753 ราย ผ่านเกณฑ์การขอจดครอบครองกัญชา จำนวน 4,397 ราย ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนทั้งในและสำนักข่าวต่างประเทศมากกว่า 200 คน ผู้ร่วมออกร้านในงาน 3,290 ราย จัดเต็ม ภาคความบันเทิงศิลปินไทยและต่างประเทศ มากกว่า 70 วง
นางสาวชิดชนก ชิดชอบ ประธานวิสาหกิจชุมชนพันธุ์บุรีรัมย์และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีอาร์ เพาเวอร์ จำกัด ผู้ริเริ่มและเป็นหัวเรือหลักสำคัญของงาน “พันธุ์บุรีรัมย์” เปิดเผยที่มาของการจัดงานว่า กัญชา-กัญชงเป็นพืชที่มีคุณประโยชน์ให้หลายด้าน เป็นที่ยอมรับนานาชาติ รวมทั้งเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย ให้มีรายได้ที่ดี พึ่งพาตนเองได้ สามารถปลูกทดแทนพืชเศรษฐกิจดั้งเดิมได้ แต่ต้องยอมรับว่าในบ้านเรา ยังไม่มีองค์ความรู้ หรือการศึกษาพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ทั้งสองชนิดนี้ อย่างกว้างขวางนัก ทั้งแง่การปลูกเพื่อการค้าหรืออุตสาหกรรม จึงเป็นที่มาของการจัดงานในครั้งนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน
“การจัดงาน “พันธุ์บุรีรัมย์” ครั้งนี้จึงเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนว่า กัญชา-กัญชง เป็นพืชเปลี่ยนเศรษฐกิจ ที่สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจได้ สามารถนำมาต่อยอดเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมในการทำเป็นธุรกิจได้อย่างไร, การเพาะและขยายพันธุ์ต้นกล้าทั้งสายพันธุ์ไทยและสายพันธุ์นอก, การเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ, การศึกษาวิจัยหาสูตรในการปลูก ดูแลและเก็บเกี่ยวที่จะได้ผลดีที่สุด จนสามารถเป็นสินค้าอุตสาหกรรมได้ ซึ่งในต่างประเทศมีการนำมาผสมเป็นอาหาร เครื่องดื่ม อุตสาหกรรมก่อสร้าง, ยานยนต์ ฯลฯ สร้างรายได้มหาศาลต่อปี หากสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจในวงกว้างในประเทศไทย จะสร้างรายได้นับแสนล้านบาท แก้ปัญหาเรื่องปากท้องของประชาชน ให้มีรายได้ที่มั่นคงตลอดไป เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน ซึ่งโจทย์ที่ยากในตอนนี้คือ การสร้างความเข้าใจให้คนไทยได้เข้าถึงการใช้ประโยชน์จากกัญชา-กัญชงอย่างแท้จริง”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บูมเศรษฐกิจ 2 ชาติ ! “อนุทิน” เร่งสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน จับมือกัมพูชา กระตุ้นค้าขายชายแดน-ท่องเที่ยว
วันที่ 21 พย. บริเวณสะพานข้ามคลองตะเคียน ด่านผักกาด จุดก่อสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะผู้บริหาร อาทิ นายอรรษิษฐ์ สัมพัน์รัตน์
'อนุทิน' ยันภูมิใจไทยโหวตเสียงข้างมาก 2 ชั้นในการทำประชามติ
'อนุทิน' ยืนยัน ภท.โหวตเสียงข้างมาก 2 ชั้น หากนำมติ กมธ.ร่วมประชามติเข้าโหวตในสภา ย้ำเพื่อให้ ปชช.ตัดสินใจเรื่องสำคัญอย่างแท้จริง ชี้ทุกอย่างมีเงื่อนเวลาถ้าแก้ไม่ทันก็รอสภาชุดหน้า
“ผู้ประกอบการ ราชบุรี” ชม “อนุทิน” ฟื้นกีฬาวัวลาน ให้แข่งตอนกลางคืน มั่นใจ เป็นงานเฟสติวัลระดับโลก
จากกรณีที่กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวง ให้การแข่งขันวัวลานจัดขึ้นในเวลากลางคืน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 โดยล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางไปเปิดการแข่งขันวัวลานที่
'เสี่ยหนู' ลั่น 'เพื่อไทย-ภูมิใจไทย' ไม่เคยขัดแย้งปมที่ดินเขากระโดง!
'เสี่ยหนู' ยัน พท.-ภท. ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง ขอคนไม่อยู่ในวงอย่าคาดคะเน ชี้ไม่มีเหตุผลต้องปกป้องผลประโยชน์ใคร โอดกว่าจะนั่งคุม มท.แทบตาย ไม่ให้ใครมาด่าสาดเสียเทเสีย
3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยื่นหนังสือ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย แก้ไขปัญหาในส่วนของท้องถิ่น 4 เรื่อง
วันที่ 12 พ.ย.2567 ที่พรรคภูมิใจไทย คณะกรรมการบริหารพรรค นำโดยนายไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรค, นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ รองหัวหน้าพรรค, นายเจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์ รองเลขาธิการพรรค, นางสาวพิมพฤดา ตันจรารักษ์ รองเลขาธิการพรรค, นายกรวีร์
'สุริยะ' ลั่น รฟท.ไม่ยอมเสียที่ดินให้ใคร ขอให้จบในชั้นเจ้าหน้าที่ อย่าขยายประเด็นการเมือง
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์กรณีกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)และกรมที่ดิน